โอมิครอนสายพันธุ์ใหม่ BA2.2 เจอที่ฮ่องกง อาจเป็นภัยร้ายในอนาคต

โอมิครอนสายพันธุ์ใหม่ BA2.2 เจอที่ฮ่องกง อาจเป็นภัยร้ายในอนาคต

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รามาฯ ระบุ โอมิครอนสายพันธุ์ใหม่ BA2.2 เจอที่ฮ่องกง อาจเป็นภัยร้ายในอนาคต ในไทยยังไม่เจอ สายพันธุ์หลักเป็นโอมิครอนBA.2

เมื่อวันที่ 10 มี.ค.2565 เฟซบุ๊คเพจ “Center for Medical Genomics”ซึ่งเป็นของศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า โอมิครอนสายพันธุ์ใหม่ “BA.2.2” เจอที่ฮ่องกง  (B.1.1.529.2.2) จาก "ฮ่องกง"ที่อาจเป็นภัยร้ายในอนาคต

การระบาดใหญ่ระลอกล่าสุดของ โอมิครอนบนเกาะฮ่องกง ได้ก่อให้เกิดสายพันธุ์ใหม่ "BA.2.2" หรือ B.1.1.529.2.2 ที่มีการกลายพันธุ์เด่นตรงหนามแหลมซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงกรดอะมิโนตำแหน่งที่ 1221 จาก I (Isoleucine) เป็น T (Threonine) หรือ "S:I1221T" และการกลายพันธุ์ตรงยีน "ORf1a: T4087I" (ภาพ 1-4) โดยพบมีแพร่ระบาดไปยังอังกฤษแล้วเช่นกัน (ภาพ2)

        การระบาดระลอกใหม่นี้ทำให้มีอัตราผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ในฮ่องกงพุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดในโลก โดยมีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยในรอบ 7 วันอยู่ที่ 30 คนต่อประชากร 1 ล้านคน ในขณะที่ประเทศไทยอยู่ที่ 0.85 คนต่อประชากร 1 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและผู้ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน (ภาพ 5) ดังนั้นท่านที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนควรรีบไปฉีด

ที่น่ากังวลคือจากการที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่จากโอมิครอนในฮ่องกงเพิ่มขึ้นอย่างมากเฉลี่ยในรอบ 7 วันอยู่ที่ 5,425 คนต่อประชากร 1 ล้านคน เมื่อเที่ยบกับอันดับสองประเทศลัตเวียจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ใกล้เคยงกันคือ 5,278 ต่อประชากร 1 ล้านคน ประเทศไทยอยู่ที่ 315 คนต่อประชากร 1 ล้านคน แต่ปรากฏว่าอัตราผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 บนเกาะฮ่องกงสูงมากคือโดยมีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยในรอบ 7 วันอยู่ที่ 30 คนต่อประชากร 1 ล้านคน
     ในขณะที่ทั้งลัตเวียและไทย อยู่ที่ 10.7 และ 0.7 ตามลำดับ (ภาพ 6) กล่าวคือที่ฮ่องกงมีอัตราผู้เสียชีวิตสูงกว่าลัตเวียถึง 2 เท่า โดยทั้งลัตเวียและไทยมีการะบาดของสายพันธุ์ BA.1 และ BA.2 ไม่พบ ฺBA.2.2 ทำให้มีแนวโนมว่าโควิดกลายพันธุ์สายพันธุ์ย่อย BA.2.2 อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อัตราผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ในฮ่องกงพุ่งขึ้นจนทำสถิติสูงที่สุดในโลก

  ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ฮ่องกงและทั่วโลกกำลังประมวลผลรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของ BA.2.2 กับข้อมูลทางคลินิกเพื่อตอบปัญหาสำคัญ 6 ประการ

1. BA.2.2 กลายพันธุ์ไปมากกว่า BA.2 หรือไม่ และตำแหน่งใดบ้างโดยเฉพาะในส่วนยีนที่ควบคุมโครงสร้างของหนาม (spike) ที่เปลือกของอนุภาคไวรัส

ในเบื้องต้นทราบแล้ว BA.2.2 มีการกลายพันธุ์ไป 2 ตำแหน่งที่ไม่พบในสายพันธุ์หลักและสายพันธุ์ย่อยอื่นๆ คือ "S:I1221T" และ "ORf1a: T4087I" (ภาพ 1)

2. BA.2.2 แพร่ระบาด (transmissibility) รวดเร็วกว่า BA.2 หรือไม่

3. BA.2.2 ก่อให้เกิดอาการของโรคโควิดได้รุนแรง (severity) กว่า BA.2 หรือสายพันธุ์ที่น่ากังวลใจ (variants of concern) อื่นๆ เช่น อัลฟา เบตา แกมมา เดลตา หรือไม่

4. BA.2.2 สามารถด้อยประสิทธิภาพของวัคซีนลงมากกว่า BA.2 หรือไม่

5. ยารักษาโมโนโคลนอลแอนติบอดีตัวล่าสุด “โซโทรวิแมบ” (Sotrovimab) ที่ใช้ต่อต้านโอมิครอน ยังสามารถจับกับ BA.2.2 ได้อยู่หรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ของระบบทางเดินหายใจ

6. ใช่หรือไม่ ที่ BA.2.2 เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มีอัตราผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ในฮ่องกงสูงที่สุดในโลก (ภาพที่ 7)

        ปัจจุบันยังไม่พบ BA.2.2 ในประเทศไทย แต่เพื่อไม่ประมาททางศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯได้เริ่มพัฒนาชุดตรวจ BA.2.2 แล้ว คาดว่าจะแล้วเสร็จนำออกใช้ตรวจกรอง BA.2.2 ได้ภายในอีก 2 สัปดาห์ด้วยเทคโนโลยี “MassArray Genotyping” ซึ่งใช้เวลาในการตรวจรู้ผลบรรดาสายพันธุ์ที่น่ากังวล (variants of concern: VOC) รวมทั้ง BA.2.2 ในการตรวจเพียงครั้งเดียว (single reaction) ใช้เวลาประมาณ 24-48 ชั่วโมงในการออกผล

สายพันธุ์หลักในไทยโอมิครอนBA.2
       เมื่อวันที่ 7 มี.ค.2565  นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  กล่าวว่า การเฝ้าระวังสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด 19 ของไทย ล่าสุดในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา(26 ก.พ.-4มี.ค.2565) มีการเก็บตัวอย่าง 1,900 ตัวอย่างทั่วประเทศ พบว่า ไม่มีสายพันธุ์อัลฟา เบตา แกรมมา ส่วนสายพันธุ์เดลตาพบเพียง 7 ตัวอย่าง ที่เหลือเป็นสายพันธุ์โอมิครอน คิดเป็น 99.6% โดบพบในทุจังหวัดมากน้อยแตกต่างกันไป
     เมื่อจำแนกสายพันธุ์ย่อยของสายพันธุ์โอมิครอน พบว่าเป็นสายพันธุ์ย่อย BA.2 มากที่สุด 51.8% ที่เหลือเป็น BA.1 คิดเป็น 48.2 % แสดงว่าBA.2 มีอิทธิฤทธิ์แพร่เร็วกกว่าBA.1 จึงเบียดแซงได้ และจะพบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนแทนBA.1ทั้งหมดในที่สุด เว้นแต่จะมีตัวกลายพันธุ์อื่นที่แพร่ได้เร็วกว่า ซึ่งต้องมีการเฝ้าระวังต่อไป  เมื่อพิจารณาจากสัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างที่สุ่มตรวจสายพันธุ์แล้วพบเป็นBA.2  คือ ผู้ติดเชื้อรายใหม่เพื่อสำรวจภาพรวมประเทศ 49.08 % คลัสเตอร์ใหม่ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อมากกว่า 50 คนในคลัสเตอร์ 50 % กลุ่มที่มีอาการรุนแรง และ/หรือเสียชีวิตทุกราย 30.99  % ลักษณะอื่นๆที่สงสัยในไวรัสสายพันธุ์ใหม่  44.07 %  กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ 52.94 % และกลุ่มผู้ที่เคยติดเชื้อมาก่อน(ติดเชื้อซ้ำ) 28.57 % 

           สำหรับโอมิครอนBA.2 องค์การอนามัยโลกหรือฮู(WHO)ระบุเรื่องความรุนแรงไม่มีความแตกต่างจาก BA.1 เบื้องต้นจากข้อมูลพบว่า BA.2 จะแพร่เร็วกว่า BA.1 ถึง 1.4 เท่า ถอดหน้ากากเมื่อไหร่ ก็มาเมื่อนั้น  รวมทั้ง หากมี 1 คนในครอบครัวติดเชื้อ BA.2 จะสามารถแพร่ต่อให้คนในครอบครัว 39% มากกว่า BA.1 ที่แพร่ให้คนในครอบครัว 29% ส่วนการหลบภูมิคุ้มกันวัคซีน พบว่า BA.2 มีการดื้อวัคซีนขึ้นเล็กน้อย ยังไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ด้วยภูมิฯจากสายพันธุ์เดลตาก็จัดการโอมิครอนได้ลดลง แต่สิ่งที่เป็นเรื่องสำคัญคือ ยาโมโนโคนอลแอนติบอดี้ ซึ่งเป็นยารักษาโควิดที่มีราคาแพงมากนั้น พบว่าสามารถรักษาโควิดสายพันธุ์อื่นได้ รวมถึงสายพันธุ์โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.1 ได้ แต่ไม่สามารถจัดการเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2