เช็คลิสต์โควิด 5 ข้อ ไม่ผ่าน! งดเดินทางสงกรานต์2565
ก่อนเดินทางสงกรานต์2565 ต้องเช็คตัวเองว่ามีความเสี่ยงต่อโควิด19มากน้อยแค่ไหน เพื่อลดโอกาสนำเชื้อไปแพร่ให้ผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มที้ยังมีอัตราป่วยหนัก เสียชีวิตสูง
กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) แนะนำให้มีการ Self Clean Upตัวเอง หรือ ทำตัวเองให้ปลอดเชื้อ ก่อนกลับภูมิลำเนาอย่างน้อย 7 วัน โดย
1.รับวัคซีนครบตามกำหนดแล้วหรือไม่ จะต้องได้รับเข็มกระตุ้นเข็ม3 หากรับเข็ม2มา3เดือน และรับเข็ม4 หากรับเข็ม3มา4เดือน ทั้งผู้ที่จะเดินทางไปและผู้ที่รออยู่ที่ปลายทาง
2.ป้องกันตนเองขั้นสูงสุดด้วยหลัก Universal Prevention( UP) ด้วยหลัก 10 ข้อ
-ออกจากบ้านเมื่อจำเป็น
-เว้นระยะห่าง1-2เมตร
-สวมหน้ากากอนามัยทับด้วยหน้ากากผ้า
-ล้างมือบ่อยๆด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์
-อย่าใช้มือสัมผัสหน้ากากอนามัย รวมทั้งใบหน้า ตา จมูก ปาก
-ผู้เป็นกลุ่มเสี่ยง 608 หลีกเลี่ยงการออกนอกบ้าน
-ทำความสะอาดฆ่าเชื้อพื้นผิวที่ถูกสัมผัสบ่อยๆ
-แยกของใช้ส่วนตัวทุกชนิด ไม่ควรใช้ของร่วมกับผู้อื่น
-ทานอาหารปรุงสุกใหม่ แยกสำรับ ใช้ช้อนกลางส่วนตัว
-หากสงสัยว่าตนเองมีความเสี่ยง ควรตรวจด้วยATK
3.งดการไปรับประทานอาหารหรือปาร์ตี้กับคนนอกครอบครัว
4.ตรวจคัดกรองด้วยATKก่อนเดินทาง 72 ชั่วโมง
5.เช็คตัวเองแล้ว หากพบว่ามีความเสี่ยงให้งดเดินทาง
6ข้อปฏิบัติสงกรานต์2565
สิ่งสำคัญไม่เพียงเช็คตัวเองก่อนเดินทางเท่านั้น เมื่อกลับถึงปลายทางหรือร่วมกิจกรรมสงกรานต์2565 ให้ยึดหลักปฏิบัติ 6 ข้อ
1.ผู้สูงวัย เด็ก 5 ปีขึ้นไปที่มีโรคประจำตัว รีบไปฉีดวัคซีน
2.ก่อนพบกลุ่ม 608 ให้สวมหน้ากากและมีATKเป็นลบ
3.เลี่ยงพาผู้สูงวัย เด็กเล็ก ไปสถานที่พลุกพล่าน แออัด
4.เลี่ยงทานข้าว ดื่มสุรา ร่วมกันเป็นเวลานาน
5.เตรียมตัวให้พร้อมก่อนเดินทาง สังเกตมาตรการที่จัดงาน
6.สถานประกอบการ พิจารณาให้พนักงาน WFH 5-7 วัน ก่อนกลับทำงานและมีATKเป็นลบ
เลี่ยง3กิจกรรม/สถานที่เสี่ยง
สถานที่เสี่ยงและกิจกรรมเสี่ยง
1.ดื่มเหล้า รับประทานอาหารร่วมกัน เนื่องจากไม่ได้สวมหน้ากาก ในสถานที่ปิดที่การระบายอากาศไม่ดี รวมถึงในบ้าน
2.การร่วมงานหรือกิจกรรมที่มีผู้คนแออัด ไม่มีมาตรการควบคุมโรคไม่ดีหรือรัดกุมไม่เพียงพอ
3.ขนส่งสาธารณะ รถโดยสารที่แออัด อาจทำให้ติดเชื้อได้ แม้วัยทำงานและวัยเรียนที่ฉีดวัคซีนแล้วไม่มีอาการ แต่อาจนำเชื้อกลับไปแพร่คนอื่นต่อได้ การปฏิบัติตัวสำคัญคือมาตรการทำความสะอาดในขนส่งสาธารณะ
3กลุ่มเสี่ยงป่วยหนัก
นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กล่าวว่า กลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยหนัก มี 3 กลุ่ม คือ
1.ผู้สูงวัย ที่ไม่ค่อยออกนอกบ้าน กลุ่มติดเตียง อาจรับเชื้อจากผู้ดูแล ญาติในบ้าน ผู้ที่มาเยี่ยม
2.กลุ่ม 608 ที่ยังทำงานได้ เสี่ยงต่อการติดเชื้อจากผู้อื่น ทั้งเพื่อน คนรู้จัก ญาติ รวมทั้งไปในสถานที่แออัด /พลุกพล่าน เช่น ตลาด ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร ขนส่งสาธารณะ เป็นต้น
และ 3.เด็กเล็กอายุน้อยกว่า 5 ปี จากข้อมูลเสียชีวิต 60% มีปัจจัยเสี่ยงจากการสัมผัสใกล้ชิดคนในครอบครัวและญาติ อีก 40% ไม่สามารถระบุได้ อาจจะมีการพาออกไปข้างนอกแล้วติดเชื้อ ลูกหลานแรงงานต่างด้าวหลายรายติดเชื้อป่วยและรับการรักษาไม่ทัน
นอกจากนี้ ในส่วนเด็กวัยเรียนมีการติดเชื้อสูงแต่ลดลงจากปิดเทอม และวัยทำงานที่ติดเชื้อสูงมาก ซึ่ง 2 กลุ่มนี้เมื่อติดเชื้อแล้วอาจแพร่ต่อไปยัง 3 กลุ่มเสี่ยงได้
"กิจกรรมในครอบครัว เช่น รดน้ำดำหัว การรับประทานอาหารร่วมกัน ให้สวมหน้ากากมากที่สุดเท่าที่ทำได้ ระหว่างทานข้าวก็เว้นระยะห่างมากขึ้น รวมถึงใช้เวลาให้สั้นลง เพื่อลดความเสี่ยงแพร่ต่อบุคคลอื่น"นพ.จักรรัฐกล่าว