"PM 2.5" กลับมาช่วง "สงกรานต์ ปี 65" ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร ?
ทบทวนผลกระทบของ "PM 2.5" และ "ฝุ่นละอองขนาดเล็ก" ต่อสุขภาพที่ต้องระวัง หลังคุณภาพอากาศกลับมาแย่อีกครั้งในหลายพื้นที่ในช่วง "สงกรานต์" ปี 2565
ช่วงเดือน "เม.ย. 65" นี้ ไม่ใช่แค่ "โควิด-19" ที่กำลังระบาดหนักในไทย แต่ "PM 2.5" และ "ฝุ่นละอองขนาดเล็ก" ต่างๆ กำลังกลับมาแน่นขนัดในอากาศหลายพื้นที่ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้ที่สูดอากาศพิษเหล่านี้เข้าไป ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" พาไปทบทวนความอันตรายและของ "ฝุ่นจิ๋ว" เหล่านี้อีกครั้ง เพื่อหาวิธีป้องกันตัวที่เหมาะสมก่อนออกเดินทางท่องเที่ยวช่วง "สงกรานต์" หรือทำกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงนี้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับฝุ่นละอองเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายได้ง่ายๆ
- PM 2.5 และฝุ่นละอองขนาดเล็ก ทำร้ายสุขภาพได้อย่างไร ?
"ฝุ่นขนาดเล็ก" ณ ที่นี้หมายถึง ฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) (เทียบเท่าได้กับหนึ่งในหกของ เส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผม) เพราะเล็กพอที่สามารถเข้าไปได้ลึกถึงถุงลม ดังนั้นอันตรายต่อสุขภาพจึงขึ้นกับขนาด และองค์ประกอบของฝุ่น
ฝุ่นขนาดเล็กอาจเกิดได้จากกระบวนการทางเคมี เช่น ในกระบวนการเผาไหม้เชื้อเพลิง ไม่ว่าจะเป็นน้ํามัน ถ่านหิน ในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า ยานพาหนะ หรือการเผาป่า เผาพื้นที่ทําการเกษตร และกระบวนการทางกลศาสตร์ เช่น การระเบิด บดย่อยหินในโรงโม่หิน หรือการก่อสร้าง ไม่ว่ากรณีใดย่อมก่อให้ เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กจํานวนมาก
เมื่อได้รับสัมผัสสามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพได้หลายระบบ นอกจากนี้ ฝุ่นขนาดเล็กยังเพิ่มความเสี่ยง ของอัตราตายจากภาวะเส้นเลือดอุดตันในสมอง และทําให้น้ําหนักของทารกในครรภ์ลดลงอีกด้วย ทําให้อัตราป่วย และอัตราตายด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ และระบบหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้น และอัตราดังกล่าวจะเพิ่มขึ้น ตามปริมาณความเข้มข้นของฝุ่นในอากาศ
- ฝุ่นละอองขนาดเล็ก นำไปสู่โรคอะไรได้บ้าง ?
เมื่อฝุ่นละอองขนาดเล็กเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ไม่ว่าจะเป็น PM 2.5, PM 10 จะเข้าไปสู่อวัยวะต่างๆ ที่ระบบทางเดินหายใจ และอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังหัวใจได้ด้วย โดยข้อมูลจาก กรมอนามัย และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าฝุ่นละอองพิษขนาดจิ๋ว สามารถส่งผลต่อส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ ดังนี้
1. ปอดและระบบทางเดินหายใจ
ฝุ่นพิษขนาดเล็กอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บหรืออักเสบ ไวต่อการติดเชื้อ ระบบทางเดินหายใจเพิ่มขึ้น และทําให้ อาการหอบหืดมากขึ้น หากได้รับฝุ่น หินทรายหรือซิลิกาสะสมเป็นระยะเวลา นานจะทําให้เกิดโรคซิลิโคสิส
2. ระบบอื่นเนื่องจากการบาดเจ็บของปอดและระบบทางเดินหายใจ
เมื่อได้รับฝุ่นละอองขนาดเล็ก หัวใจได้รับผลกระทบจากการเพิ่มอัตราการหายใจ เนื่องจากสมรรถภาพการแลก เปลี่ยนออกซิเจนลดลง เพิ่มความเสี่ยง ต่ออาการหัวใจวาย และมีผลต่อปริมาณ เซลล์ในโลหิต
3. หัวใจ
ฝุ่นละอองที่หายใจเข้าไปหรือบางส่วน ของฝุ่นละอองที่ละลายได้นั้น ถูกดูดซึม และเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิต และมีผล ต่อระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุม การทํางานของหัวใจและระบบไหลเวียน โลหิต
4. ระบบตา
5. ระบบผิวหนัง
- คุณภาพอากาศแย่ ส่งผลต่อสุขภาพของคนทั่วโลกแค่ไหน ?
จากผลการศึกษาทั่วโลกพบว่า หากฝุ่นละอองขนาดเล็กสูงกว่าค่ามาตรฐาน จะส่งผลให้การตายด้วย ระบบทางเดินหายใจเพิ่มขึ้น 7– 20% การป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจเพิ่มขึ้น 5.5% การตายด้วยโรคระบบ หัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้น 29- 5% การป่วยด้วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้น 5.3%
ผู้สูงอายุป่วย ด้วยระบบทางเดินหายใจเพิ่ม 17% ผู้สูงอายุป่วยด้วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดเพิ่ม 7.69% และยังทําให้สภาพ ปอดในเด็กแย่ลงได้ด้วย
เพราะฉะนั้น สำหรับคนที่ต้องเดินทางในช่วงที่ฝุ่นละอองขนาดเล็กหนาแน่นเสี่ยงส่งผลกระทบต่อสุขภาพ อย่าลืมหาวิธีป้องกันตัวเองและคนที่คุณรักจากฝุ่นเหล่านี้ให้ดี เพราะฝุ่นเล็กๆ เหล่านี้อาจเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพในระยะยาว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- เช็ค “ฝุ่นPM 2.5” รวมแอปฯ เช็คอากาศ รับมือฝุ่นช่วง “สงกรานต์”
- "ฝุ่นPM 2.5" กลับมาแล้ว รวม "ความรู้สู้ฝุ่น" ฉบับอยู่บ้านทำได้เอง
------------------------------------------