ลดวันกักตัวผู้สัมผัสเสี่ยงสูง เตรียมตัวอยู่ร่วมกับ “โควิด”

ลดวันกักตัวผู้สัมผัสเสี่ยงสูง  เตรียมตัวอยู่ร่วมกับ “โควิด”

การฉีดวัคซีนมากขึ้นและมียารักษาเตรียมไว้ แม้ว่าจะมียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น แต่ระบบสาธารณสุข (สธ.) ยังรองรับได้ก็ลดความวิตกกังวลของประชาชนลงไปได้

ขณะนี้การระบาดของโรคโควิด 19 ในประเทศไทยเป็นสายพันธุ์โอมิครอน สายพันธุ์ย่อย BA.2 ถึง 95.9% คาดว่าอีก 1-2 สัปดาห์จะมาแทนที่การระบาดของสายพันธุ์ BA.1 เป็น 100% เนื่องจาก BA.2 ความสามารถในการแพร่รวดเร็วกว่า และพบผู้ติดเชื้อโควิด 19 กระจายในทุกจังหวัด แต่ส่วนใหญ่ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย สามารถรักษาตัวที่บ้านได้ ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะมีการฉีดวัคซีนโควิดไปแล้วกว่า 130 ล้านโดส ครอบคลุมเข็มแรกกว่า 80% เข็มที่สอง 73% และเข็มที่สาม 35% ทำให้สามารถลดอัตราการป่วยหนักและแพร่เชื้อลงไปได้

ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการมากในกลุ่มสีเหลืองและสีแดงต้องเข้ารักษาตัวใน รพ.ซึ่งขณะนี้อัตราครองเตียงอยู่ที่ประมาณ 30% ซึ่งในช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้เตรียมพร้อมยาต้านไวรัสที่จะใช้รักษาผู้ป่วยโควิด 19 ทั้งยาฟาวิพิราเวียร์ ยาโมลนูพิราเวียร์ และยาแพ็กซ์โลวิด รวมถึงจัดหาเวชภัณฑ์ซึ่งเป็นสารภูมิคุ้มกันชนิดออกฤทธิ์ยาว หรือ Long acting antibodies สำหรับฉีดในผู้ที่มีความเสี่ยงและมีภูมิคุ้มกันต่ำ เพื่อป้องกันไม่ให้ติดเชื้อจนมีอาการหนัก เมื่อมีการฉีดวัคซีนมากขึ้นและมียารักษาเตรียมไว้ แม้ว่าจะมียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น แต่ระบบสาธารณสุข (สธ.) ยังรองรับได้ก็ลดความวิตกกังวลของประชาชนลงไปได้

การที่คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติเห็นชอบให้ลดวันกักตัวในกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 5+5 คือผู้ที่สัมผัสผู้เสี่ยงสูงให้กักตัว 5 วันและสังเกตอาการอีก 5 วัน โดยคาดว่าแนวทางดังกล่าวจะนำมาใช้หลังเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ ซึ่งหลายฝ่ายมีความเป็นห่วงว่าตัวเลขผู้ติดเชื้ออาจจะพุ่งสูงทะลุแสน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) คาดการณ์ว่าหากคงมาตรการต่างๆ ในระดับปัจจุบันผู้ติดเชื้อจะสูงสุดราว 50,000 รายต่อวัน ในช่วงราว 19 เม.ย.2565 ผู้ป่วยปอดอักเสบสูงสุดราว 3,000 รายช่วงต้นเดือนพ.ค.2565 ผู้ป่วยปอดอักเสบใส่ท่อช่วยหายใจสูงสุดจะอยู่ที่ราว 900 ราย และผู้เสียชีวิตกว่า 100 รายต่อวัน

ส่วนกรณีที่ผ่อนคลายมาตรการป้องกันโรค ลดแยกกัก-กักตัว ประชาชนส่วนใหญ่ย่อหย่อนต่อมาตรการป้องกันตนเองแบบครอบจักรวาล (UP) จะมีผู้ติดเชื้อสูงสุดราว 1 แสนรายต่อวัน ช่วงหลังสงกรานต์ ผู้ป่วยปอดอักเสบสูงสุดราว 6,000 รายช่วงต้นเดือนพ.ค.2565 ผู้ป่วยปอดอักเสบใส่ท่อช่วยหายใจสูงสุดจะอยู่ที่ราว 1,700 ราย และผู้เสียชีวิตราว 250 รายต่อวัน ขณะที่สถานการณ์ วันที่ 11 เม.ย.มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 22,387 รายผู้เสียชีวิต 105 คนอาการหนัก 2,065 ราย และใส่เครื่องช่วยหายใจ 856 ราย

ซึ่งสถานการณ์ วันที่ 11 เม.ย.มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 22,387 รายผู้เสียชีวิต 105 คนอาการหนัก 2,065 ราย และใส่เครื่องช่วยหายใจ 856 ราย จึงจำเป็นที่ประชาชนคนไทยทุกคนจำเป็นต้องเข้มมาตรการVUCA ได้แก่ V ควรฉีดวัคซีนและจำเป็นต้องได้เข็มกระตุ้น เพื่อลดอาการหนักและเสียชีวิต ,U เข้มมาตรการใส่หน้ากาก อยู่ห่าง ล้างมือ ไม่ไปสถานที่แออัด ไม่กินอาหาร ดื่มสุราร่วมคนมาก ,C มาตรการความปลอดภัยองค์กร (COVID Free setting) สุ่มตรวจATKเป็นระยะ เมื่อพบว่ามีความเป็นกลุ่ม งดเดินทาง เฝ้าระวังตัวเอง 7-10 วัน เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดไปยังกลุ่มเสี่ยงเพื่อเตรียมตัวอยู่ร่วมกับ “โควิด” ในระยะยาวนั่นเอง