โควิด-19 ”ลดเสี่ยง โรคอุบัติใหม่”ใช้เทคโนโลยี ให้บริการถึงบ้าน
แม้ว่าอาการผู้ป่วยที่ติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนจะไม่รุนแรง แต่ในประชากรบางกลุ่มจำเป็นต้องเฝ้าระวังและติดตาม มีการตั้ง Hospitel เฉพาะกิจกลางเมืองขึ้นมารองรับผู้ป่วยสีเขียว พร้อมนำระบบบริการระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ผ่านแอปพลิเคชั่นสุขภาพ
การใช้เทคโนโลยีการแพทย์มาใช้ในการรักษาโรคทั่วไปจนถึงโรคที่ซับซ้อน รวมทั้งโรคอุบัติใหม่ และเน้นการป้องกันโรคเพื่อสุขภาพที่ดี
ล่าสุดสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ขยายความร่วมมือกับ บริษัท คลิกนิก เฮลท์ จำกัด ผู้ให้บริการระบบการแพทย์ทางไกล ผ่านแอปพลิเคชั่น คลิกนิก (Clicknic) ในการเข้ามาร่วมดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยโควิด-19 เข้าถึงบริการได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึง โดยเฉพาะการรองรับในช่วงการแพร่ระบาดที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้มี แอปพลิเคชั่น คลิกนิก (Clicknic) มีหมอในระบบมากกว่า 40 คน ที่คอยหมุนเวียนให้บริการดูแลผู้ป่วยทุกวัน ระบบเริ่มให้บริการแล้วตั้งแต่วันที่ 27 ก.ค. ซึ่งผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) เข้าสู่ระบบได้ตั้งแต่เวลา 07.00 ถึง 19:30 น.
สอบถาม Line ID : @clicknic , Line ID: @GDTTและ Line ID : @mordeeappรับเฉพาะผู้ป่วยพื้นที่ กทม.-ปริมณฑล 5 จังหวัด นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร เท่านั้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : ชีวิตหลังวิกฤติ "โควิด-19" ปรับตัวอย่างไร ให้อยู่ร่วมได้และไม่ประมาท
สธ. ลดกักตัวเหลือ 7 วัน จริงหรือ? เผย 4 จว.โควิด-19 น่าห่วงหลังผู้ติดเชื้อพุ่ง
สปสช. ขยายบริการ "แพทย์ทางไกล" ดึง แอป คลิกนิก ดูแลผู้ป่วยโควิดเพิ่ม
4 กรณีผิดกฎหมาย "กัญชา"เป็น "สมุนไพรควบคุม" กำชับตำรวจจับกุม
กรอบเบื้องต้น แนวทางรักษา “ฝีดาษวานร” ป่วยสงสัยรับไว้ในรพ.ทุกราย
- เปิดคลินิก“โรคอุบัติใหม่”
ขณะเดียวกันหลังจากนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยว ทำให้มีการเดินทางมากขึ้นทั้งในประเทศและจากต่างประเทศ หรือจากนักท่องเที่ยวที่มีความจำเป็นต้องเข้ารับการรักษา (Medical Tourism)
“โรงพยาบาลเมดพาร์ค” เปิดคลินิกโรคอุบัติใหม่และโรคทางเดินหายใจเฉียบพลัน รองรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่ยังพบการแพร่ระบาดและกลายพันธุ์อยู่ในปัจจุบันเท่านั้น แต่เพื่อรองรับโรคอุบัติใหม่อื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคตอีกด้วยมาตรการคัดกรองผู้เข้ามาใช้บริการตามอาการเบื้องต้นที่คลินิก EIDARIC จะช่วยเพิ่มระดับความปลอดภัยให้กับผู้ป่วย ญาติ รวมถึงเป็นประโยชน์ต่อบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลและสังคมโดยรวม
“ผศ.นพ. มนต์เดช สุขปราณี” แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ โรงพยาบาลเมดพาร์ค กล่าวว่า ช่วงเปิดคลินิก EIDARIC 51 วัน (5 พ.ค. – 25 มิ.ย. 65) มีผู้ป่วยทั้งหมด 1,013 ราย เป็นคนที่มีอาการที่เข้าข่าย ไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก อาการคล้ายโควิด-19 ในจำนวนนี้ 735 ราย อนุญาตให้ตรวจ RT-PCR พบว่า 387 ราย มีผล RT-PCR เป็นบวก หรือราว 52%
ดังนั้น คลินิก EIDARIC เป็นการแยกกลุ่มคนที่ไม่เป็นโควิด-19 สามารถเข้าสู่ รพ. ด้วยความปลอดภัย คนที่เป็นโควิด-19 ได้รับการรักษาแบบครบวงจร One-stop Service ได้รับการรักษาจากตรงนี้โดยไม่ต้องเข้าสู่ตัวอาคาร หรือหากใครที่พบเชื้อและต้องนอน รพ. จะมีรถเข็นที่เป็นความดันลบพาเข้าไปยังห้องตรวจอย่างปลอดภัย
"เพราะไม่มีทางรู้เลยว่าโรคอุบัติใหม่จะติดต่อกันแบบไหน ต้องตั้งรับไว้ก่อน พร้อมสร้างความร่วมมือกับโรงเรียนแพทย์ช่วยรัฐบาลในอนาคตหากมีโรคประหลาดเกิดขึ้น เพราะมีระบบ และเครื่องมือพร้อม เรายินดีขยายขอบเขตการทำงานเพื่อให้ประเทศปลอดภัยมากขึ้น”ผศ.นพ.มนต์เดช กล่าว
- Hospitel เฉพาะกิจกลางเมือง
ขณะที่ผู้ติดเชื้อใหม่วันละกว่า 2,000 ราย และ 1 ใน 4 ของผู้ติดเชื้อใหม่เป็นผู้ติดเชื้อเดิม ขณะที่หน่วยงานด้านสาธารณสุขของออสเตรเลีย (AHPPC) ระบุว่า การติดเชื้อซ้ำสามารถเกิดขึ้นได้ภายใน 28 วัน หลังหายจากอาการโควิด แทนที่จะเป็น 90 วัน การมี Hospitel แทนกักตัวที่บ้านมีความจำเป็นอีกครั้ง
โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง ได้ร่วมกับโรงแรมทวิน ทาวเวอร์ เปิดให้บริการ Hospitel เฉพาะกิจโควิด-19 รองรับผู้ป่วยนอก ไม่ว่าจะเป็น Self Isolation, Home isolation ให้บริการการเอ็กซเรย์ปอด รองรับผู้ป่วยได้กว่า 500 เตียง มีเจ้าหน้าที่คัดกรองอากาศผ่านเกณฑ์สามารถเข้ารับการรักษาได้ ภายใต้ทีมแพทย์และสหสาขาวิชาชีพดูแล
แม้ว่าปัจจุบันจะสำรองเตียงในโรงพยาบาลไว้ 110 เตียงแต่จำเป็นต้อง มีHospitel เนื่องจากปีที่แล้วมีผู้ป่วยเข้าใช้บริการกว่า 30,000 คนขณะที่เทคโนโลยีทางการแพทย์มีความก้าวหน้า สภาพสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปกาลเวลาที่ผันผ่าน สถานพยาบาลต้องปรับตัวไปตามยุคสมัย
- ใช้เทคโนโลยีดูแลเสมือนอยู่ที่บ้าน
โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4 ได้ขยายพื้นที่การให้บริการด้านการแพทย์ และให้ความสำคัญกับการรักษาตั้งแต่โรคทั่วไปจนถึงโรคที่ซับซ้อน เน้นให้บริการที่การป้องกันโรคเพื่อทำให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดีมากกว่าการรักษาเมื่อเจ็บป่วย
นพ.นพรัตน์ โง้วจุงดี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4 กล่าวว่าปี 2565 ได้ขยายศักยภาพการรักษามุ่งสู่มาตรฐานระดับ Tertiary Health Care หรือโรงพยาบาลบริการตติยภูมิ การดูแลรักษาผู้ป่วย จะมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มากประสบการณ์
มีทีมแพทย์สหสาขาผู้ชำนาญการร่วมวินิจฉัยและวางแผนการรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ดีที่สุดด้วยวิธีที่ดีที่สุด จะมีการนำเทค โนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นศูนย์รังสีวินิจฉัยที่ทันสมัย ห้องผ่าตัดควบคุมระบบปลอดเชื้อ ยกระดับการตรวจวินิจฉัยและรักษาที่ครบครัน ศูนย์ผ่าตัดส่องกล้องขั้นสูง มาตรฐานการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฎิบัติการ N Health เป็นการดูแลเสมือนคนในครอบครัว
นอกจากนั้นยังได้มีการนำนวัตกรรมการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก (MIS – Minimally Invasive Surgery) เพื่อเป็นอีกทางเลือกของการรักษาผู้ป่วย เป็นนวัตกรรมการผ่าตัด ลดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะภายใน เสียเลือดน้อย ลดโอกาสการติดเชื้อและภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัด ฟื้นตัวได้เร็ว ลดค่าใช้จ่ายในการนอนโรงพยาบาล
ทั้งนี้ การผ่าตัดรักษาของผู้ป่วยแต่ละรายจะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศัลยแพทย์เป็นหลักเพื่อผลการรักษาและมาตรฐานความปลอดภัยของผู้ป่วยแต่สิ่งที่ดีที่สุด คือการตรวจเช็กร่างกาย ตรวจสุขภาพเป็นประจำการเจอโรคได้เร็วจะทำให้เราหายขาดจากโรคนั้นได้มากขึ้น
- ใช้AIช่วยแพทย์วินิจฉัยผู้ป่วยโควิด
อาการของผู้ป่วยโควิดที่น่ากังวลที่สุด คือ อาการปอดติดเชื้อ และอาการแทรกซ้อนต่างๆ ความร่วมมือของทีมอาจารย์แพทย์ประจำภาควิชารังสีวิทยาคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีนำโดย พญ.ชญานิน นิติวรางกูร ร่วมกับภาควิชาระบาดคลินิกและชีวสถิติคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีและภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สร้างและพัฒนา “RAMAAI หรือ ระไม” ขึ้นเพื่อต่อชีวิตผู้ป่วยด้วยการนำเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาช่วยทำให้รังสีแพทย์ทำงานได้ง่ายขึ้นสะดวกรวดเร็วมากขึ้นผ่านเว็บไซต์และLINE BOTซึ่งได้ช่วยทำให้โอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น
“ดร.สุเมธ ยืนยง” อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ดูแลฝ่ายเทคนิค กล่าวเสริมว่าจุดเด่น “RAMAAI”อยู่ที่การออกแบบให้ใช้งานง่ายแม้แต่แพทย์ที่ไม่ได้มีความชำนาญเฉพาะด้านรังสีวิทยาก็สามารถใช้งานได้
การทำงานของระบบไม่ได้มุ่งออกแบบเพื่อให้ใช้แทนการวินิจฉัย โดยแพทย์ในระบบปกติแต่จะใช้เพื่อช่วยแพทย์วินิจฉัยโดยสามารถจำแนกภาพได้ครอบคลุม3ประเภทคือภาพถ่ายรังสีเอกซเรย์แบบปกติที่ไม่มีลักษณะบ่งชี้ภาพถ่ายรังสีเอกซเรย์ที่แสดงอาการปอดติดเชื้อจากโควิด -19 และภาพถ่ายรังสีเอกซเรย์ที่แสดงความผิดปกติอื่นๆ
“สะดวกทั้งในระบบ web-based โดยการนำภาพถ่ายรังสีเอกซเรย์ของผู้ป่วยที่เชื่อมต่อจากห้องถ่ายภาพรังสีเอกซเรย์มาดาวน์โหลดเพื่อให้ AI ในระบบได้ประมวลผลแสดงให้แพทย์ได้ใช้ประกอบการวินิจฉัยได้ในทันทีหรือจะส่งภาพปรึกษาผ่าน LINE BOTก็ได้” ดร.สุเมธ กล่าว
ในอนาคตเพื่อให้เกิดการต่อยอดประยุกต์ใช้นวัตกรรมขยายผลออกไปทีมวิจัยเตรียมพัฒนา “RAMAAI” ให้สามารถรองรับการวินิจฉัยความผิดปกติทางปอดให้ครอบคลุมถึง 14 กลุ่มโรคหรือความผิดปกติได้แก่โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็งปอด โรควัณโรคและโรคหัวใจโต เป็นต้น