ดูซีรีส์ ทำความเข้าใจ "ออทิสติก สเปกตรัม" ผ่านทนายสาวอัจฉริยะ "อูยองอู"
ใครที่ได้ติดตาม ซีรีส์ Extraordinary Attorney Woo คงได้เห็นความน่ารัก จริงใจ และความอัจฉริยะ ของ ทนายอูยองอู นางเอกผู้ที่มีอาการออทิสติก สเปกตรัม แต่เป็นอัจฉริยะด้านการว่าความ ซึ่งรับบทโดยนางเอกสาวพัคอึนบิน
“พัคอึนบิน” นักแสดงมากฝีมือแสดงสมบทบาทผู้ที่มีอาการออทิสติก สเปกตรัม ได้ดีมาก ทำให้คนดูได้เข้าใจผู้ที่มีภาวะออทิสติก สเปกตรัมว่าแท้จริงแล้วพวกเขาเป็นอย่างไร พวกเขามีความสามารถและอยู่ร่วมกับผู้คนในสังคมได้ เพียงเพียงแต่สังคมต้องให้โอกาส และยอมรับความต่างที่พวกเขาเป็น
- รู้จักกับภาวะออทิสติก สเปกตรัม
ออทิสติก สเปกตรัม (Autism Spectrum Disorder) เกิดจากความผิดปกติของสมอง ความผิดปกติของพัฒนาการทางระบบประสาท รวมถึงปัจจัยทางด้านพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม มากกว่ารูปแบบการเลี้ยงดู โดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นตั้งแต่เป็นตัวอ่อนในครรภ์แม่ และมักจะแสดงอาการให้เห็นชัดในช่วงอายุ 3 ปีแรกของเด็ก
ออทิสติก เดิมแบ่งกลุ่มย่อยเป็น ออทิสติก แอสเพอร์เกอร์ พีดีดี เอ็นโอเอส ในปัจจุบันเรียกรวมกันว่า “ออทิสติก สเปกตรัม” (Autism Spectrum Disorder) หรือจะเรียกว่า “ออทิสติก” ก็ถือว่าเป็นที่เข้าใจตรงกัน
ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่การบําบัดรักษา ที่มีอยู่สามารถช่วยให้พัฒนาการของเด็กดีขึ้นได้มาก แตกต่างจากผู้ที่ไม่ได้รับการบําบัดรักษาชัดเจน
ทั้งนี้ แต่ละคนมีอาการแตกต่างกัน และความสามารถในการเรียนรู้แตกต่างกันมาก ตั้งแต่รุนแรงมาก สื่อความหมายไม่ได้เลย จนถึงอัจฉริยะ มีความสามารถโดดเด่นเฉพาะด้านเรียนจบปริญญา ในปัจจุบันพบประมาณ 6 คนต่อประชากร 1,000 คน และพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงเกือบ 4 เท่า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : เผยไทยมีคนเป็นออทิสติก18,220ราย ไม่ถึง100คนมีงานทำ-มีรายได้
ข่าวดี! เผย 'กระซิบ' เด็กออทิสติก แค่คืนละนิด แก้พฤติกรรมต่อต้านได้
โลกใบเล็ก“เด็กดาวน์ซินโดรม”เมื่อพวกเขาถูก"บูลลี่"
เมษายน "เดือนแห่งการตระหนักรู้ออทิสซึม" เพื่อผู้ป่วยออทิสติก
กรมสุขภาพจิต เผยสัญญาณเตือนเด็กออทิสติก
- ออทิสติก สเปกตรัม มีอาการอย่างไร?
ออทิสติก สเปกตรัม มีอาการหลักใน 3 ด้านหลักๆ คือ ด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ความบกพร่องด้านภาษาและการสื่อสาร และความผิดปกติของพฤติกรรม มีความสนใจ หรือกิจกรรมที่จํากัด ทําซ้ำๆ และคงรูปแบบเดิม อาการมักแสดงให้เห็นตั้งแต่วัยเด็ก เริ่มสังเกตความผิดปกติได้ชัดเจนในช่วงอายุขวบครึ่งในเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการด้านภาษาพูดได้ไม่สมวัย มันสังเกตได้เร็วกว่า
อย่างไรก็ตาม ออทิสติก สเปกตรัม มีอาการหลากหลายแตกต่างกันไปในแต่ละคน แสดงออกตั้งแต่วัยเด็ก ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต
ด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
ผู้ที่มีภาวะออทิสติก สเปกตรัม มักจะไม่สนใจในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น มักจะแยกตัวอยู่คนเดียว มีโลกส่วนตัว ชอบแยกตัว ไม่ชอบอยู่รวมเป็นกลุ่ม รวมถึงยังมีความบกพร่องในการใช้ภาษากายและการแสดงออกทางสีหน้าท่าทาง เช่น การไม่สบตากับคู่สนทนาหรือสบตาน้อยครั้ง
ในซีรีส์จะเห็นได้จากบุคลิกของนางเอกในเรื่อง เวลาสนทนากับผู้อื่น ก็จะไม่ค่อยสบตา รวมถึงยังชอบแยกตัวอยู่คนเดียว มีโลกส่วนตัวสูง โดยพ่อของอูยองอู ตอบว่า รู้สึกเหงาและโดดเดี่ยวที่ต้องใช้ชีวิตกับผู้ป่วย ออทิสติก สเปกตรัม
ลักษณะอาการ เช่น
- ทักทายอย่างไม่เหมาะสม หรือไม่สนใจทักทาย
- ขาดความสนใจร่วมกัน มีอารมณ์ร่วมกับคนรอบข้างน้อย
- ไม่สบตาและใช้ภาษาท่าทางไม่เหมาะสม
- ไม่เข้าใจหรือใชภาษาท่าทางเพื่อการสื่อสารไม่เป็น
- ไม่แสดงออกทางสีหน้าท่าทาง
- แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับบริบททางสังคม
- เล่นตามจินตนาการไม่เป็น
- ผูกมิตรไม่เป็น ไม่รู้วิธีการสร้างสัมพันธภาพ
- ไม่ค่อยสนใจผู้คนรอบข้าง
- เช็กลักษณะอาการเข้าข่ายออทิสติก สเปกตรัม
2. ความบกพร่องด้านภาษาและการสื่อสาร
ผู้ที่มีภาวะออทิสติก สเปกตรัม จะมีพัฒนาการทางภาษาที่ล่าช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน โดยในเรื่องอูยองอูจะไม่ยอมพูดกับพ่อ จนอายุได้ 5 ขวบเธอพูดได้ยาว แต่เป็นเรื่องของข้อกฎหมายต่างๆที่เธอได้อ่านเท่านั้น และต่อให้พ่อถามอะไร เธอก็จะไม่ยอมพูดด้วย ไม่มีการโต้ตอบ ไม่ทำตามคำสั่ง ขณะเดียวกัน ในซีรีส์ จะเห็นอูยองอูชอบพูดซ้ำคำ พูดภาษาของตัวเอง หรือใช้ภาษาที่ผู้อื่นไม่เข้าใจ
ลักษณะอาการ เช่น
- สนทนาไม่ราบรื่น มักพูดแต่เรื่องที่ตนเองสนใจ
- ใช้ภาษาท่าทาง ไม่สัมพันธ์กับการพูดคุย
- พูดเป็นคําหรือวลีซํ้าๆ
- ใช้ภาษาที่ฟังแล้วไม่เข้าใจ
3. ความผิดปกติของพฤติกรรม
ในด้านนี้จะเห็นได้ชัดมากๆ จากพฤติกรรมของอูยองอูคือจะมีพฤติกรรมซ้ำๆ เช่น การโยกตัว หรือ การสะบัดมือ รวมถึงยังชอบเรียงวัตถุในแนวเส้นตรง จะเห็นได้เลยว่าเมื่ออูยองอูเห็นอะไรที่ไม่เป็นระเบียบ เธอจะชอบจัดให้เป็นระเบียบในแนวเส้นตรงอยู่เรื่อยๆ
รวมถึงไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ไม่มีความยืดหยุ่น เช่น การกินอาหารเดิมซ้ำๆ จะเห็นได้เลยว่าอูยองอูกินแต่คิมบับทุกวัน และเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นก็จะรู้สึกไม่ชอบและหงุดหงิด หลังจากที่พ่อของเธอเปลี่ยนวัตถุดิบในคิมบับ เธอก็แสดงอาการไม่พอใจออกมาเล็กน้อย
นอกจากนั้นยังมีความสนใจเฉพาะเรื่องบางเรื่องและหมกมุ่นมากกว่าปกติอีกด้วย อย่างเช่น การที่อูยองอูสนใจเรื่องราวของวาฬเป็นพิเศษ และจะชอบพูดถึงวาฬอยู่บ่อยครั้ง อีกทั้งยังมีการตอบสนองของประสาทสัมผัสต่อสิ่งเร้าที่มากหรือน้อยเกินไป เช่น การที่อูยองอูปิดหูเมื่อได้ยินเสียงดัง หรือการเดินเขย่งปลายเท้านั่นเอง
ลักษณะอาการ เช่น
- เคลื่อนไหวร่างกายซํ้าๆ เช่น โยกตัว กระโดด สะบัดมือ
- เคลื่อนไหวร่างกายแปลกๆ เป็นแบบแผนเฉพาะตัว
- ทานอาหารซ้ำๆ ใช้ของซ้ำๆ
- ใช้เส้นทางเดิมๆ
- ถามเรื่องซ้ำๆ มากเกิน
- กังวลมากเกินไปกับการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย
- ยึดติดหรือหมกมุ่นกับวัตถุบางอย่างมากเกินปกติ
- สนใจในบางเรื่อง แบบหมกมุ่นมากเกินปกติ
- เย็นชาต่อความเจ็บปวด ความร้อน ความเย็น
- ตอบสนองต่อเสียงหรือผิวสั มผัสบางอย่าง แบบรุนแรง
- ดมหรือสัมผัสกับวัตถุบางอย่างมากเกิน
- สนใจในแสงไฟ หรือวัตถุหมุนๆ มากเกิน
- กุญแจสำคัญที่อาจทำให้สังสัยออทิสติก
กุญแจสําคัญ ที่ทําให้สงสัย ออทิสติก ในเด็กอายุ 18 เดือนขึ้นไป ถ้าพบว่ามีอาการผิดปกติเหล่านี้ตั้งแต่ 2 อย่าง ขึ้นไป ควรมีการดําเนินการเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค และให้ความชวยเหลือ ทันทีโดยอาการดังกล่าว คือ
- เล่นสมมติเล่นจินตนาการไม่เป็น
- ไม่สามารถชีนิ้วบอกความต้องการได้
- ไม่สนใจเข้ากลุ่มหรือเล่นกับเด็กคนอื่น
- ไม่มีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความสนใจร่วมกับคนอื่น
- เมื่อเป็นออทิสติก สเปกตรัม ควรทําอย่างไร
เริ่มต้นด้วยการปรึกษากับจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น เพื่อตรวจประเมิน วินิจฉัย และวางแผนการดูแลร่วมกัน หาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งค้นคว้าต่างๆ แต่พึงระลึกไว้เสมอว่า ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเนื่องจากความรู้ยังไม่นิ่ง เมื่อมีข้อสงสยให้นําไปปรึกษากับแพทย์ที่ดูแลเป็นระยะ
ทั้ง การบําบัดรักษาจําเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง หลายสาขา ดูแลร่วมกัน ซึ่งประกอบด้วย จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น นักจิตวิทยา นักกิจกรรมบําบัด นักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย นักวิชาการศึกษาพิเศษ ฯลฯ
การบําบัดรักษาที่จําเป็น
* การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Behavior Modification)
* กิจกรรมบําบัด (Occupational Therapy)
* แก้ไขการพูด (Speech Therapy)
* การฝึกทักษะทางสังคม (Social Skill Training)
* การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการศึกษา (Special Education)
* การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ (Vocational Training)
* การใช้ยา (Pharmacotherapy)
การบําบัดรักษาเสริมหรือทางเลือก
* ศิลปะบําบัด (Art Therapy)
* ดนตรีบําบัด (Music Therapy)
* การบําบัดด้วยสัตว์ (Animal-assisted Therapy)
การบําบัดรักษาที่ยังไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ยืนยัน
* ออกซิเจนความดันสูง (Hyperbaric Oxygen Therapy)
* การบําบัดเซลล์ (Cell Therapy)
* การฝังเข็ม (Acupuncture)
การบําบัดรักษาที่ยืนยันแล้วว่าไม่ได้ผล
* วิตามินบีขนาดสูง (Megavitamin)
อย่างไรก็ตาม เมื่อพบว่าลูกมีอาการออทิสติส หรือไม่ อย่ากลัวที่จะรู้ว่าลูกเป็นอะไร แต่ควรกลัวที่ลูกจะเสียโอกาสในการ บําบัดรักษาอย่างทันท่วงทีมากกว่า เพราะหากเขามีอัจฉริยะด้านใดด้านหนึ่ง นั่นย่อมส่งผลต่อการใช้ชีวิตของพวกเขา และขาดบุคลากรที่มีประสิทธิภาพคนหนึ่งของสังคม
อ้างอิง: ศูนย์วิชาการแฮปปี้โฮม