พลัง ‘She-Economy' ขับเคลื่อนสังคมไร้เงินสด

พลัง ‘She-Economy' ขับเคลื่อนสังคมไร้เงินสด

“ทรูมันนี่ วอลเล็ต”ชี้พลังบวกของผู้หญิงจะกลายเป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญขับเคลื่อนสังคมไทยให้เดินหน้าไปสู่ยุคสังคมไร้เงินสด (Cashless Society)

พลัง ‘She-Economy' ขับเคลื่อนสังคมไร้เงินสด

ปัจจุบันประชากรเพศหญิงมีอัตราส่วน 51% หรือมีจำนวนประมาณ 33.4 ล้านคน สูงกว่าเพศชายที่มี 49% หรือราว 32.1 ล้านคน (ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ) แม้เป็นจำนวนที่ดูเหลื่อมกันไม่มากนักในเชิงตัวเลข แต่ที่น่าสนใจคือพฤติกรรมการใช้จ่ายของสุภาพสตรีที่โดดเด่นในการเป็นผู้นำเทรนด์เรื่อง “การช็อปปิ้ง” จากผลการศึกษาของ She-conomy พบว่า 85% ของการซื้อสินค้าแบรนด์ต่างๆ มาจากลูกค้าสุภาพสตรี ไม่มีใครกล้าปฏิเสธว่าการ CF (Confirm) หรือการ CC (Cancel) ได้กลายเป็นศัพท์ออนไลน์ฮอตฮิตของผู้หญิงส่วนใหญ่เวลาสนใจสั่งซื้อสินค้าในโซเชียลมีเดียในวันนี้ไปแล้ว

“ทรูมันนี่ วอลเล็ต”เปิดสถิติที่น่าสนใจ เกี่ยวกับผู้หญิง แสดงให้เห็นพลังบวกของพวกเธอที่จะกลายเป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญขับเคลื่อนสังคมไทยให้เดินหน้าไปสู่ยุคสังคมไร้เงินสด (Cashless Society) เนื่องในวันสตรีสากล 8 มีนาคม โดยช่วงระยะเวลาเพียง 2 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค-ก.พ.62) ผู้หญิงสามารถสร้างมูลค่าธุรกรรมต่างๆ บนทรูมันนี่ วอลเล็ต หลายสิบล้านบาท สะท้อนถึงศักยภาพการใช้จ่ายของสาวๆ ที่จะช่วยผลักดันอุตสาหกรรม อี-วอลเล็ตในไทย ให้เติบโตมากยิ่งขึ้น

ผู้หญิงกับอี-วอลเล็ต

ขณะที่ประเทศไทย กำลังเดินหน้าสู่สังคมไร้เงินสด ด้วยการขับเคลื่อนทั้งจากภาครัฐและเอกชนอย่างหนัก แต่สิ่งสำคัญที่เป็นหัวใจหลักและเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จการดำเนินงานเหนือกว่าเทคโนโลยีหรือมาตรการใดๆ คือ การรู้จักผู้ใช้งาน

ทรู วอลเล็ต เผยตัวเลขสำคัญว่า 46% คือ สัดส่วนจำนวนผู้ใช้งานทั้งหมดที่เป็นผู้หญิง ขณะที่ 60% อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล สูงกว่าผู้ใช้ต่างจังหวัดที่มีสัดส่วน 40%

ผู้หญิงที่ใช้อี-วอลเล็ตส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม เจน วาย อายุเฉลี่ย 24 ปี บริการในอี-วอลเล็ตที่ผู้หญิงใช้มากที่สุดในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ได้แก่ ซื้อแพ็คเกจอินเทอร์เน็ต / เติมเน็ต , โอนเงินให้บุคคลอื่น และใช้จ่ายในร้านสะดวกซื้อ และร้านค้าทั่วไป

ผู้หญิงมีปริมาณการใช้จ่ายเงินผ่านอี-วอลเล็ตเฉลี่ยต่อครั้งจะอยู่ที่ 280 บาท ยอดการใช้จ่ายที่สูง มาจากการจ่ายบิลเป็นหลัก ขณะที่มีจำนวนผู้ใช้เพศหญิงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ 2 เรื่อง ได้แก่ การบริจาค (Donation) และการเลือกซื้อดิจิทัลคอนเทนท์ สะท้อนให้เห็นว่าผู้หญิงมองว่า อี-วอลเล็ต เป็นมากกว่าแค่แพลตฟอร์มเรื่องการจ่ายเงิน แต่ยังเป็นแหล่งรวมน้ำใจและประตูเชื่อมโลกดิจิทัลคอนเทนท์ของบรรดาสาวๆ ด้วย

ความสะดวกรวดเร็ว ความปลอดภัย และความคุ้มค่า คือ 3 นิยามสำหรับการใช้งานอี-วอลเล็ตของผู้หญิงในวันนี้ เพื่อเพิ่มความสุขและคุ้มค่า ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ เคล็ดลับสำคัญในการใช้งานอี-วอลเล็ตในแบบสุภาพสตรียุค 4.0 เพื่อเพิ่มความคุ้มค่า ประหยัด และมีความปลอดภัยทุกการจับจ่ายเพื่อให้ผู้หญิงยุคใหม่ได้นำไปพิจารณา เช่น ทุกการใช้จ่ายผ่านอี-วอลเล็ต ควรคำนึงถึงสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ สาวๆ ที่มองหาความคุ้มค่า เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตประจำวัน การจะนำอี-วอลเล็ตไปใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการอะไรก็ตามแทนเงินสด ควรตรวจสอบโปรโมชั่นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับเงินคืนหรือการสะสมแต้มที่ควรได้รับ รวมทั้งส่วนลด หรือสิทธิพิเศษสำหรับแลกของทานฟรี รวมไปถึงสิทธิ์ได้ลุ้นรางวัลใหญ่ในแคมเปญต่างๆ เพื่อทำให้ทุกการใช้จ่ายผ่านอี-วอลเล็ตของคุณคุ้มค่ามากขึ้นและได้รับสิ่งอื่นกลับมาด้วย

ความปลอดภัยในอี-วอลเล็ตต้องมาก่อนเสมอ แม้ผู้หญิงมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยไซเบอร์ต่ำกว่าผู้ชาย แต่ถึงอย่างไรเรื่องเงินๆ ทองๆ ความปลอดภัยต้องมาเป็นอันดับแรก ดังนั้นก่อนใช้ อี-วอลเล็ต ควรตั้งค่าและหมั่นเปลี่ยนรหัสผ่าน รหัส PIN และ Touch ID ในแอพ อี-วอลเล็ตที่ใช้งานอยู่เสมอ พร้อมยืนยันตัวตนเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในขั้นสูง กรณีที่มีการจับจ่ายเงินจำนวนมากผ่าน อี-วอลเล็ต

ใช้อี-วอลเล็ตแบบสตรียุค4.0

ทำบัญชีรับ-จ่ายเงิน หรือพลิกดูประวัติการใช้อี-วอลเล็ตเป็นประจำ สำหรับสาวๆ ที่เป็นแม่ค้ายุคดิจิทัล การมีบัญชีรายรับ-รายจ่ายดิจิทัลไว้ใช้งาน เพื่อเช็คการทำธุรกรรมต่างๆ แบบเรียลไทม์ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีที่ช่วยในการบริหารจัดการเงินได้ดียิ่งขึ้น ทำภารกิจต่างๆ ในแอพ เพื่อเพิ่มความคุ้มค่าในการใช้งาน บางผู้ใช้อาจไม่เคยสังเกตว่าในอี-วอลเล็ต มีภารกิจต่างๆ ให้ทำและเล่นสนุกด้วย เมื่อทำสำเร็จระบบจะให้ผู้ใช้สามารถไปจับรางวัลพิเศษ หรือได้รับเป็นเงินคืนเข้ามาในแอพได้อีก หมั่นตรวจเช็คในแอพ และพิชิตภารกิจต่างๆ เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้หญิงอย่างเรามีเงินมาใช้สอยมากยิ่งขึ้น

เติมเงินแค่จำนวนที่ต้องการจ่ายจริงในรายการเพื่อจำกัดวงเงิน เช่น ใช้จ่ายบิล ค่าน้ำ ค่าไฟ หรือโอนให้คุณพ่อคุณแม่ เป็นประจำทุกเดือน การโอนเงินเข้าตามจำนวนที่ต้องการใช้จริง จะช่วยให้เราเซฟวงเงิน และไม่ผลีผลามกดซื้ออย่างอื่น เป็นการช่วยจำกัดค่าใช้จ่ายอีกทางหนึ่ง

ทั้งหมดเป็นแนวทางการใช้งาน อี-วอลเล็ตง่ายๆ สำหรับบรรดาผู้หญิงยุคใหม่ ไม่ว่าจะใช้จ่ายมื้อเช้าในชั่วโมงเร่งด่วนที่ร้านสะดวกซื้อ สแกนจ่ายค่าโดยสารรถสาธารณะ หรือผ่อนคลายอารมณ์ในวันหยุดกับหนังหรือแอพ เกมดังจากการซื้อดิจิทัลคอนเทนท์บนแอพ สโตร์ และ เพลย์ สโตร์ ตลอดจนการจ่ายบิลตอนสิ้นเดือน หรือเติมเงิน เติมเน็ต ฯลฯ อี-วอลเล็ตล้วนตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์รอบด้าน

เพราะผู้หญิงคือผู้ทรงอิทธิพลอย่างมากต่อแบรนด์สินค้า และบริการในปัจจุบัน ข้อมูลจาก SOUR Bangkok เคยระบุไว้ว่า ผู้หญิงนิยมชอปปิงออนไลน์มากขึ้น เนื่องจากสะดวกและรวดเร็ว ทำให้สามารถบริหารจัดการเวลาได้ โดยมี 3 กลุ่มสินค้าที่มีการใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์ ได้แก่ 1. ชอปปิง เสื้อผ้า, เครื่องประดับ, รองเท้า ฯลฯ 2. กลุ่มอาหาร เช่น ฟู้ด เดลิเวอรี่ , อาหารสด, อาหารแห้ง และ 3. เครื่องสำอาง เป็นกลุ่มสินค้าคู่กายของผู้หญิง

สิ่งเหล่านี้คือพลังของ “She-economy” ที่นับวันจะทวีความสำคัญมากขึ้น ที่จะช่วยส่งเสริมการใช้งานอุตสาหกรรม อี-วอลเล็ต ให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น ไม่แน่อาจเกิดเป็นสังคมไร้เงินสดแบบผู้หญิง (She-Cashless Society) ในอนาคตบ้างก็เป็นได้