โมเดลจับคู่นวัตกรรมโรงแรมกระบี่ดึง 'ฮีทปั๊ม' สู่ต้นแบบโกกรีน
สวทช.สนับสนุนผู้ประกอบการนวัตกรรมประหยัดพลังงานจับคู่ โรงแรมในกระบี่ส่งต่อ 2 เทคโนโลยี ด้านระบบผลิตน้ำร้อน “ฮีทปั๊ม" และระบบปรับอากาศรวมมูลค่าการลงทุนกว่า 10 ล้านบาท ประหยัดค่าไฟ 3-4 หมื่นบาทต่อเดือน ตอบโจทย์ BCG ด้านพลังงานและการท่องเที่ยว
“ฮีทปั้ม” เป็นระบบผลิตน้ำร้อนที่ เกิดจากการนําความร้อนเหลือทั้งจากคอยล์ร้อนของเครื่องปรับอากาศ ที่ถูกปล่อยสู่บรรยากาศ กลับมาใช้ในการผลิตน้ำร้อนโดยไม่ใช้พลังงานไฟฟ้า ทำให้ได้น้ำร้อนมาใช้งานโดยไม่ต้องเสียค่าไฟ ช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในการทําน้ำร้อนและเพิ่มประสิทธิภาพการทําความเย็นให้กับเครื่องปรับอากาศ ได้สูงสุดถึง 20% ลดการปล่อยความร้อนออกสู่บรรยากาศภายนอก และช่วยยืดอายุการใช้งานเครื่องปรับอากาศที่นํามาต่อพ่วง
ลมร้อนตู้แอร์สู่ระบบทําน้ำอุ่น
อัจฉรา ปู่มี กรรมการผู้จัดการ บริษัท แพค คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จํากัด กล่าวว่า จากธุรกิจเครื่องปรับอากาศของครอบครัว จึงเห็นช่องทางที่จะนําพลังงานความร้อนสูญเปล่า ที่ถูกปล่อยทั้งจากคอมเพรสเซอร์หรือความร้อนโดยรอบมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยการบีบอัดในระบบให้ร้อนขึ้น ซึ่งบริษัทสามารถทําได้ถึง 60 องศาเซลเซียส แล้วถ่ายเทผ่านน้ําที่ไหลผ่านในระบบสู่การใช้งานเป็นน้ำอุ่น หรือที่เรียกว่า “ฮีทปั้ม”
นวัตกรรมนี้เริ่มเมื่อ 15 ปีที่แล้ว จากนั้นจึงเข้าร่วมโครงการต่างๆ เพื่อกระจายความรู้สู่ภูมิภาคอื่นๆกระทั่งได้รับสนับสนุนจากศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี (BIC) สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในการจับคู่นวัตกรรมกับผู้ประกอบการรายอื่นทําให้ได้รู้จักกับลูกค้าผู้ใช้งาน และตัวแทนจําหน่ายมากนั้นเช่น โรงแรม อ่าวนางปริ้นวิลล์ วิลล่ารีสอร์ท แอนด์ สปา จ.กระบี่
ปัจจุบันบริษัทมีผลิตภัณฑ์ประหยัดพลังงานรวม 8 ผลิตภัณฑ์ เช่น เครื่องปรับอากาศพลังงานแสงอาทิตย์ เครื่องปรับอุณหภูมิสระน้ำประหยัดพลังงาน และช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มียอดขายรวมกว่า 40 ล้านบาท อัตราการเติบโต 20-30% คาดว่าปีนี้จะมียอดขายมากกว่า 100 ล้านบาท มาจากเครื่องปรับอากาศกว่า 2 พันยูนิต และระบบฮีทปั๊มอีกกว่า 500 ยูนิต
ในอนาคตตั้งเป้าจะมียอดขาย เพิ่มขึ้นกว่า 150 ล้านบาท อัตราเติบโตมากกว่า 50% เนื่องจากสามารถส่งออกไปยังต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยกลุ่มเป้าหมายหลักกว่า 70% เป็นโรงแรมในกลุ่มประเทศเขตร้อนทั้ง อาเซียน ประเทศในแถบแอฟริกา อินเดีย และหมู่เกาะมัลต์ฟ เพราะระบบช่วยประหยัดพลังงานได้ถึง 80%
“นวัตกรรมสีเขียวยังคงเป็นโอกาสทางธุรกิจที่น่าสนใจตามเมกะเทรนด์ด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน ที่ส่งผลให้ธุรกิจนี้ยังมีการขยายตัวได้มากขึ้นขณะเดียวกันเมื่อตลาดมีคู่แข่งเพิ่มขึ้นทางบริษัทต้องปรับตัวโดยโฟกัสไปที่ระบบควบคุมอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าสามารถประเมินการใช้พลังงานใน แต่ละวันได้ผ่านเทคโนโลยี IoT เพื่อต่อยอดสู่การเป็นผู้ประกอบการด้านพลังงานแบบครบวงจร"
ต้นแบบโรงแรม Go Green
อิทธิฤทธิ์ กิ่งเล็ก กรรมการผู้จัดการ โรงแรมอ่าวนาง ปริ้นซ์วิลล์ วิลล่า รีสอร์ท แอนด์ สปา จ.กระบี่ กล่าวว่า แนวทางการพัฒนามุ่งสู่โรงแรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และต้องการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยลดต้นทุนการบริหารจัดการ จึงได้ปรึกษากับ BIC กระทั่งนํามาสู่การจับคู่ธุรกิจนวัตกรรม (Innovation Matching) และเกิดการทํางานร่วมกับบริษัท แพค คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จํากัด โดยการติดตั้งเครื่องทําน้ำร้อนประหยัดพลังงานแบบ “ฮีทปั้ม" ที่สามารถป้อนความร้อนได้ทุกอาคาร รวมกว่า 58 ห้อง และที่สําคัญช่วยลดความร้อนในบรรยากาศอีกด้วย
การเปลี่ยนระบบน้ำร้อนจากเดิที่ เป็นการใช้แก็สด้มสู่ระบบฮีทปั๊มได้ประมาณ 6 เดือน ทําให้สามารถลดค่าเชื้อเพลิงแก็ส เหลือเดือนละไม่เกิน 1 หมื่นบาทจากเดิม 2 หมื่นบาท ขณะเดียวกันทางโรงแรมได้ นําระบบปรับอากาศแบน VRF (Variable Refrigerant Flow) ที่มีลักษณะการทํางาน แบบรวมศูนย์สามารถเปลี่ยนแปลงปริมาณ สารทําความเป็นตามภาระโหลดของการทําความเย็นที่ทําการติดตั้งได้ ทําให้การใช้แอร์แต่ละห้องก็จะรันตามปริมาณการใช้
โครงการฮีทปั๊มและ VRF มีมูลค่า รวมกว่า 10 ล้านบาท ปริมาณการใช้กว่า 1 แสนปีทียูต่ออาคารมีจํานวนทั้งหมด 4 อาคาร จากที่โรงแรมเคยมีภาระค่าไฟไม่ต่ำากว่า 2 แสนบาทต่อเดือน ลดเหลือ 1.6-1.7 แสนบาท หรือลดลง 15-20% ต่อเดือน
ในอนาคตจะนําเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง กับการประหยัดพลังงานมาใช้เพิ่มขึ้นแม้กระทั่งเทคโนโลยีที่สนับสนุนสมาร์ทโฮเทล (Smart Hotel) อย่างนวัตกรรมการใช้ พลังงานจากแสงอาทิตย์ของบริษัท แพค มาเติมในระบบไฟฟ้าแต่ละวัน ลดการใช้ไฟฟ้าจากภายนอก ลดต้นทุนการบริการ เพื่อเสริมสร้างความพึงพอใจและประโยชน์ ให้กับลูกค้า รวมถึงการได้รับรางวัลระดับอาเซียนเพื่อพัฒนาเป็นสถานประกอบการที่มีมาตรฐานการท่องเที่ยวสีเขียวระดับสากล
ประกอบกับนโยบายจังหวัดกระบี่ที่สนับสนุนให้เป็นเมืองต้นแบบของกระบี่ Go Green ถ้าทุกโรงแรมปฏิบัติงานได้ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของจังหวัด จะทําให้กระบี่เป็นเมืองที่น่าเที่ยวน่าพัก และเป็นเมืองที่มีสิ่งแวดล้อมที่ดี
อีกทั้งนําเทคโนโลยีการเช็คอินผ่านสมาร์ทโฟน เพื่อความสะดวกของผู้มาใช้บริการ ถือได้ว่าเป็นโรงแรมแรกในจ.กระบี่ ที่นํานวัตกรรมมาใช้งานเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในส่วนของที่พักอาศัย แต่ทั้งนี้ทุกอย่างจะผสานกันได้นั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน สําหรับลูกค้าของโรงแรมมาจากกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย 80% รองลงมาคือ จีน อินเดีย และมาเลเซีย ตามลําดับ
ทางด้าน ศันสนีย์ ฮวบสมบูรณ์ ผู้อํานวยการ BICสวทช. กล่าวว่า BIC เป็นหน่วยงานสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยี ตั้งแต่เริ่มต้นกิจการจนประสบความสําเร็จ พร้อมกับการประสานแหล่งทุนรวมทั้งสามารถวางแผนธุรกิจนําไปสู่เป้าหมาย ที่กําหนดโดยดําเนินการบ่มเพาะผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีมาตลอดกว่า 17 ปี มีส่วนสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการใหม่ และดําเนินธุรกิจได้จริงมากกว่า 300 กิจการ และผู้ประกอบการมีรายได้รวมกันมากกว่า 2,000 ล้านบาท
"การสนับสนุนการจับคู่นวัตกรรม (Innovation Matchirg) ระหว่างเจ้าของนวัตกรรม กับ ผู้ใช้งานจริงด้วยการนํานวัตกรรมประหยัดพลังงานในระบบทําน้ําร้อนและระบบปรับอากาศ ไปใช้ในโรงแรมทําให้เกิดการนํานวัตกรรมไปใช้งานจริง และส่งเสริมให้โรงแรมประกอบธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่ายจึงเป็นการส่งเสริมและตอบโจทย์ด้าน BCG ทั้งในอุตสาหกรรมด้าน พลังงานและการท่องเที่ยวไปในคราวเดียวกัน พร้อมสนับสนุนให้กระบี่เป็น เมืองต้นแบบของ Hotel Go Green นับเป็นการส่งเสริมอย่างถูกจุดเพราะเมื่อผู้ประกอบการมีนวัตกรรมที่สามารถนําไปยกระดับประเทศได้ แล้วไม่ได้รับการสนับสนุนให้เกิดการนําไปใช้จริงหรือ ต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ก็เท่ากับว่าสิ่งที่ทํามาทั้งหมดของโครงการนั้นสูญเปล่าโดยใช่เหตุ"