ต่อสู้กับ มะเร็ง ด้วย 'ดาต้า' และ 'เอไอ'

ต่อสู้กับ มะเร็ง ด้วย 'ดาต้า' และ 'เอไอ'

“การจัดลำดับจีโนมิกส์ และการรักษาแบบแม่นยำและจำเพาะ” ทำให้เขามีโอกาสในการต่อสู้กับโรคมะเร็ง

มะเร็งยังคงเป็นหนึ่งในปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของโลก โดยในปีพ.ศ. 2561 พบผู้ป่วยโรคมะเร็งทั่วโลกประมาณ 18 ล้านคนและมีรายงานผู้เสียชีวิตถึง 9.6 ล้านคน ซึ่งนี้เป็นผลมาจากประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นและสูงวัยขึ้นไปพร้อมๆ กัน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของอัตราความชุกของสาเหตุต่างๆ ของโรคมะเร็งที่สัมพันธ์กับการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจทั่วโลก

ในขณะที่พบว่าอัตราการเกิดโรคมะเร็งปอดและมะเร็งปากมดลูกลดลงไปบ้างแล้ว แต่ประเทศส่วนใหญ่ยังคงเผชิญกับการเพิ่มขึ้นในอัตราคงที่ของจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็ง จึงมีความต้องการด้านการรักษาและการดูแล แต่ที่สำคัญที่สุดคือ เวลากำลังเดินไปเรื่อยๆ และมีความจำเป็นอย่างมากที่เราต้องพยายามเร่งค้นหาวิธีการรักษาใหม่ๆ และหวังว่าจะช่วยเยียวยาได้

และในขณะที่เราวางเดิมพันไว้กับเทคโนโลยีเพื่อช่วยในการค้นคว้านี้ เป็นไปได้ว่าสิ่งที่จำเป็นอีกอย่างหนึ่งสำหรับเรื่องนี้คือมุมมองที่แตกต่างเกี่ยวกับวิธีการเข้าถึงปัญหาที่เรากำลังเผชิญ

นั่นคือสิ่งที่ ไบรซ์ โอลสัน หนึ่งในเพื่อนร่วมงานของเราที่อินเทลเลือกที่จะทำ

158263746480

ซานโตช วิศวะนาธาน กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น เล่าเรื่องราวข้างต้น พร้อมขยายความว่า ปี 2557 ไบรซ์ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากระยะที่สี่กำลังลุกลามอย่างรุนแรง และแพทย์ได้แจ้งว่าเขาจะมีชีวิตอยู่ได้อีกไม่ถึงสองปี ด้วยความที่ลูกสาวยังเรียนอยู่ชั้นประถม ไบรซ์จึงไม่อยากยอมแพ้ต่อมะเร็งและเข้ารักษาตัวด้วยวิธีมาตรฐานทั่วไปทุกวิธี เช่น การฉายรังสี การผ่าตัด และเคมีบำบัด แต่ไม่มีวิธีไหนได้ผลเลย

พวกเรามีชีวิตอยู่ในยุคที่เทคโนโลยีถูกนำไปใช้ในการวิจัยทางการแพทย์เพื่อจุดประสงค์ในการเร่งจัดลำดับจีโนมิกส์ (genomics sequencing) ในขณะเดียวกัน วงการแพทย์ก็กำลังศึกษาการรักษาแบบแม่นยำและจำเพาะ (precision medicine) เช่น สามารถมอบขั้นตอนการรักษาที่ปรับให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย โดยอิงตามบริบททางพันธุกรรมของแต่ละคน

ไบรซ์ตระหนักได้ว่าด้วยการผนึกกันระหว่าง “การจัดลำดับจีโนมิกส์ และการรักษาแบบแม่นยำและจำเพาะ” ทำให้เขามีโอกาสในการต่อสู้กับโรคมะเร็ง

ไบรซ์จึงไปพบแพทย์ของเขาและพูดว่า “จัดลำดับจีโนมิกส์ให้ผมที!” หรือ “Sequence me!”

เมื่อจัดลำดับจีโนมิกส์ของเนื้อเยื่อปกติและเนื้องอกเพื่อนำมาเปรียบเทียบ ทำให้ทราบความแตกต่างระหว่างหน่วยย่อยของดีเอ็นเอทั้งสองชนิด หรือพูดง่ายๆ ก็คือทำให้ระบุสาเหตุการก่อโรคมะเร็งได้

เมื่อจัดลำดับจีโนมิกส์ของเนื้อเยื่อปกติและเนื้องอกเพื่อนำมาเปรียบเทียบ ทำให้ทราบความแตกต่างระหว่างหน่วยย่อยของดีเอ็นเอทั้งสองชนิด หรือพูดง่ายๆ ก็คือทำให้ระบุสาเหตุการก่อโรคมะเร็งได้

เมื่อสามารถระบุสาเหตุการก่อมะเร็งได้ เราจะได้ข้อมูลเชิงลึกสามอย่างด้วยกัน นั่นคือ การหาวิธีรักษาโดยมุ่งเน้นที่ตัวสาเหตุจำเพาะของการก่อมะเร็งนั้นๆ การหาวิธีการที่ใช้รักษามะเร็งต่างชนิดกันที่มีสาเหตุมาจากปัจจัยทางพันธุกรรมเดียวกัน และความเป็นไปได้ในการนำการทดลองทางคลินิกหรือวิธีการรักษาใหม่ๆ ที่กำลังพัฒนามารักษาโรคอย่างเหมาะสม

สำหรับไบรซ์แล้ว ประโยชน์ที่ได้จากการจัดลำดับจีโนมิกส์คือช่วยย่นเวลาในการวินิจฉัยโรค ลดความจำเป็นในการตรวจวินิจฉัยซ้ำ และลดการพึ่งพาการรักษาด้วยวิธีการมาตรฐานที่ไม่ได้ปรับให้เหมาะสมสำหรับแต่ละกรณี

เขาต่อสู้กับโรคมะเร็งด้วยข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากการจัดลำดับดีเอ็นเอของเขา วิธีการรักษาด้วยยาที่มีความแม่นยำนี้ช่วยบรรเทาโรคมะเร็งของเขาเป็นเวลาหลายปี ด้วยข้อมูลเชิงลึกที่ทำให้แพทย์ผู้รักษาสามารถเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุดได้

สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ เขาต่อสู้กับโรคมะเร็งด้วยข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากการจัดลำดับดีเอ็นเอของเขา วิธีการรักษาด้วยยาที่มีความแม่นยำนี้ช่วยบรรเทาโรคมะเร็งของเขาเป็นเวลาหลายปี ด้วยข้อมูลเชิงลึกที่ทำให้แพทย์ผู้รักษาสามารถเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุดได้

ด้วยความเข้าใจถึงศักยภาพของการจัดลำดับจีโนมิกสทำให้ไบรซ์เป็นแรงบันดาลใจให้เพื่อนร่วมงานของเขาที่อินเทลเดินหน้าปรับแต่งและเพิ่มประสิทธิภาพเทคโนโลยีเพื่อเร่งกระบวนการจัดลำดับจีโนมิกส์ โดยเทคโนโลยีนี้จะทำให้กระบวนการจัดลำดับจีโนมิกส์ทั้งหมดสามารถทำได้

ในเวลาเพียงหนึ่งวันด้วยค่าใช้จ่ายประมาณ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 30,000บาท เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นภาพ โครงการจีโนมมนุษย์ (Human Genome Project) ใช้เวลาประมาณ 13 ปี และใช้งบประมาณ 2.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 81,000 ล้านบาท ในการบรรลุโครงการ โปรเซสเซอร์และเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังจะช่วยลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการจัดลำดับดีเอ็นเอของเรา และทำให้ทุกคนบนโลกสามารถเข้าถึงวิธีการรักษานี้ได้

เพื่อเพิ่มความสามารถในการส่งมอบบริการที่เกี่ยวกับพันธุกรรมและจีโนมิกส์ ทีมงานได้สร้างแชทบ็อตที่สามารถใช้งานได้ตามมาตรฐานทางคลินิกและสอดคล้องกับมาตรฐาน HIPAA ขึ้นมาชื่อว่า Gia (Genomic Information Assistant) ซึ่งจะคอยให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคมะเร็งเกี่ยวกับพลังและประสิทธิภาพของจีโนมิกส์ คอยตอบคำถาม และช่วยแนะนำขั้นตอนต่อไปเพื่อปรับปรุงผลลัพธ์ที่ดีขึ้นให้แก่พวกเขา

เรื่องราวของไบรซ์แสดงให้เราเห็นถึงศักยภาพของการจัดลำดับจีโนมิกส์เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์สามารถตอบสนองต่อโรคได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึงตอบสนองในลักษณะที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องใช้ความร่วมมือจากทั่วโลกทั้งจากบริษัท สถาบันการวิจัยโรงพยาบาล และมหาวิทยาลัย เพื่อเสาะหาวิธีใหม่ในการรักษาที่เหมาะสมสำหรับคนที่ต้องการการรักษาอย่างทันท่วงที

น่าเสียดายที่โรคมะเร็งของไบรซ์ได้กลับมาอีกครั้ง แต่เพื่อนร่วมงานของเราก็ไม่ได้รู้สึกกังวลใจแต่อย่างใด ด้วยความรู้ที่เขารู้ตอนนี้ ไบรซ์และอินเทลกำลังทำงานร่วมกับ Broad Institute และผู้นำทั้งหลายในสาขาการวิจัยมะเร็งขั้นสูงเพื่อใช้ปัญญาประดิษฐ์ที่ขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีของอินเทลในการค้นหาสิ่งใหม่ๆ โซลูชั่นนวัตกรรมที่สามารถช่วยเหลือไบรซ์และคนอื่นๆ ที่เหมือนเขานับล้านคนทั่วโลก ถึงเวลาแล้วที่เราต้องทิ้งความกลัวไว้ข้างหลังและจดจำคำที่มหัศจรรย์นี้ไว้ “Sequence me”