'เลนโซ่ แอโรสเปซ' เดินเกม รับดีมานด์อุตสาหกรรมอวกาศแห่งอนาคต

'เลนโซ่ แอโรสเปซ' เดินเกม รับดีมานด์อุตสาหกรรมอวกาศแห่งอนาคต

เลนโซ่ แอโรสเปซ (Lenso Aerospace) หนึ่งใน Top 3 ผู้ประกอบการในธุรกิจอุตสาหกรรมชิ้นส่วนแอโรสเปซ สัญชาติไทย

บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนโลหะที่มีความแม่นยำและซับซ้อนสูง เช่น งานจำพวก Build to print ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ ตัวถังเครื่องบิน ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้การบริหารงานโดย “ตติย มีเมศกุล” ประธานกรรมการผู้จัดการ บริษัท เลนโซ่แอโรสเปซ จำกัด

ตติย เผยถึงการขับเคลื่อนธุรกิจในอุตสาหกรรมแอโรสเปซ นับตั้งแต่ก้าวแรกว่า จุดเริ่มต้นของ “เลนโซ่” กับการเข้าสู่อุตสาหกรรมแอโรสเปซในประเทศไทย เกิดขึ้นเมื่อ 16 ปีที่แล้วจากวิสัยทัศน์ผู้บริหาร “เลนโซ วีล” บริษัทแม่ที่มองว่ารถยนต์ในอนาคตจะสามารถขับเคลื่อนได้เองโดยไร้คนขับ และสเต็ปถัดไปรถยนต์จะสามารถบินได้ เมื่อถนนมีลิมิต หรือ การลงทุนด้านถนนไม่คุ้มค่า อีกทั้งจำนวนเครื่องบินที่มีการบินทั่วโลกรวมถึงทวีปเอเชียแปซิฟิกโดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียตะวันอออกเฉียงใต้ จะเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นดีมานด์จากยุโรป และอเมริกาจะหลั่งไหลเข้าสู่ภูมิภาคเอเซียมากขึ้นเช่นกัน จากจุดนี้เองจึงได้มีการตั้งโจทย์ให้กับทีมงานและคนในครอบครัว พร้อมกับส่งพนักงานไปเรียนต่อต่างประเทศ ซึ่งตัวเขาเองก็ได้รับการสนับสนุนให้ไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ

160976786433

และในขณะที่กำลังศึกษานั้นได้มีโอกาสทำงาน Part Time ที่โรงงานผลิตชิ้นส่วนแอโรสเปซแห่งหนึ่ง ซึ่งผลิตชิ้นส่วนป้อนให้กับ Boeing และ Airbus ทำให้ค้นพบว่า อุตสาหกรรมแอโรสเปซน่าจะเป็นธุรกิจที่เหมาะกับประเทศไทย และถือเป็น Blue Ocean เนื่องจากเป็นตลาดกึ่งปิด และกึ่งผูกขาด ดังนั้นลักษณะการประกอบธุรกิจประเภทนี้จะทำให้บริษัทที่อยู่ใน Supply Chain มีจำนวน Supplier ไม่มากนัก และจะทำให้ Demand ต่อ supplier สูงเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่น    

จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้ เลนโซ วีล มองเห็นช่องทางในการทำธุรกิจแอโรสเปซ ในประเทศไทย จึงได้ทำการศึกษาตลาด พร้อมกับแตกไลน์ธุรกิจจากล้อแม็กซ์รถยนต์ สู่อุตสาหกรรมแอโรสเปซอย่างเต็มตัว ภายใต้ “Lenso Aerospace”

สำหรับชิ้นส่วนแอโรสเปซที่ Lenso Aerospace ผลิต มี 4 หมวด ได้แก่ 1.Interior ชิ้นส่วนภายในห้องโดยสาร เช่น เบาะที่นั่ง economy class, business class และ firstclass หรือแม้กระทั่ง Galley (ห้องครัว), Lavatory (ห้องน้ำ) บนเครื่องบิน 2.Airframe system โครงสร้างของเครื่องบิน เช่น Exit door และ ชิ้นส่วน landing gear 3.Power system เช่น Heat Exchanger หรือ ตัวระบายความร้อนบนเครื่องบิน, Fuel system ตัวจ่ายเชื้อเพลิงของเครื่องบิน และ 4.Avionics ได้แก่ ชิ้นส่วนโดรงสร้างของระบบการควบคุมของเครื่องบิน เช่น cockpit panel เป็นต้น

160976790923

ชูกลยุทธ์ “ปั้นคน-ลดลีดไทม์"

ส่วนกลยุทธ์การดำเนินงานของ Lenso Aerospace คือ 1. เน้นเรื่องบุคคลากรเป็นอันดับหนึ่ง เพราะหลังจากได้ ดร. วรภัทร์ ภู่เจริญ อดีตวิศวกร Nasa มาเป็นที่ปรึกษา ทำให้เห็นว่าต้องสร้างคนแทนที่จะพึ่งระบบคัดสรรหาคน เนื่องจากจำนวน บุคลากรที่มีความชำนาญในด้านนี้ ยังไม่เพียงพอในประเทศและมีการแข่งขันในตลาดบุคลากรด้านนี้สูงมาก ทำให้บริษัทต้องเน้นการสร้างคนเพื่อลดอุปสรรคในการจัดหาคนมีประสบการณ์เข้ามาทำงาน ทางบริษัทจึงมีกลยุทธ์ในการสร้างคนโดยไม่เน้นแค่เพียงวุฒิการศึกษาเป็นข้อหลัก

แต่จะเน้นคัดเลือกคนที่มีอุดมการณ์เดียวกันแม้จะไม่มีประสบการณ์ ก็สามารถพัฒนาได้โดยใช้ระบบ Coach และ Facilitator ในการสอนคน ทางบริษัทเรียกแนวคิดนี้ว่า Coaching with love หรือการสอนแบบใจสู่ใจ โดยเปิดโอกาสให้เข้ามาเรียนรู้ระบบ AS9100 และ Nadcap ผ่านกระบวนการ VARK (Visual, Aural | Auditory, Read | Write and Kinesthetic) กระบวนการนี้จะสอนให้พนักงานรู้จักเรียนรู้กระบวนการในการเรียนรู้งาน (Learn how to learn) โดยใช้ทักษะที่ตัวเองถนัด ไม่จำเพาะเจาะจง เพราะพนักงานแต่ละคนอาจมีความถนัดในการเรียนรู้ด้วยกระบวนการที่ต่างกันออกไป

2.กลยุทธ์ทางด้านการแข่งขันกับต่างประเทศ ทางเลนโซ่เน้นทางด้าน Quick Turn หรือ Short lead time เนื่องด้วยอุตสาหกรรมแอโรสเปซ ทุกบริษัทต้องมีคุณภาพที่สูงอยู่แล้ว จึงไม่สามารถนำเรื่องนี้มาเป็นข้อแข่งขันได้ และเรื่องของราคาที่บางประเทศมีรัฐบาลสนับสนุนอุตสาหกรรมนี้ ทางบริษัทจึงไม่สามารถที่จะใช้กลยุทธ์ในการตัดราคาเพื่อแข่งในตลาดแต่เลนโซ่จะเน้นแข่งด้วยความเร็ว ที่สามารถส่งงานให้ได้ภายใน 30 วัน หลังจากที่เริ่มลงมือใน NPI process

“การดำเนินธุรกิจแอโรสเปซมีความแตกต่างจากอุตสาหกรรมอื่น อย่างแรกคือ อุตสาหกรรมแอโรสเปซเป็น Make to order คือมีจำนวนแบบที่เยอะมากแต่จำนวนชิ้นน้อยมาก เมื่อเทียบกับธุรกิจยานยนต์ที่มีจำนวนสั่งเป็นล้านชิ้น ต่อ หนึ่งผลิตภัณฑ์ อีกทั้งยังมีมาตรฐานสากลต่างๆจำนวนมาก และยังมีมาตรฐานของแต่ละองค์กร ซึ่งทางผู้ผลิตจะต้องศึกษา และปฏิบัติตามมาตรฐานเหล่านี้ให้ครอบคลุมทั้งหมด ขณะเดียวกัน Lead time ในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ของอากาศยาน ที่มีเวลาเพียงหลักวัน ที่จะต้องส่งมอบงานให้กับลูกค้าก็ถือว่าสั้นมาก เมื่อเทียบกับทางธุรกิจยานยนต์ ที่มีเวลาหลายเดือนหรือเป็นปี"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘One Stop Service’ มัดใจลูกค้า

ส่วนบิซิเนสโมเดลของเลนโซ่ แอโรสเปซนั้นให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลของ Hard Side Management (HSM) และ Soft Side Management (SSM) ตามแบบ Model ของ McKinsey 7-S Framework คือเน้นทั้งด้านผลลัพธ์ทางธุรกิจและเรื่องของทัศนคติรวมถึงพฤติกรรมของคนในองค์กร เพื่อให้พนักงานเรียนรู้ที่จะอยู่กับ KPI อย่างมีความสุขและสนุกไปกับความท้าทายในเป้าหมายของบริษัท ที่จะเป็น World Class Manufacturer สัญชาติไทยในตลาดอุตสาหกรรมแอโรสเปซ ที่ทั่วโลกให้การยอมรับ

160976792713

“ในส่วนของทิศทางการดำเนินงานนับจากนี้มองว่า ระยะสั้นคือต้องประคองธุรกิจให้อยู่รอด ส่วนในระยะยาวมองว่าหากสถานการณ์กลับสู่ปกติ ผู้ที่อยู่รอดในสนามนี้โอกาสโตสูง เพราะลูกค้าบางเจ้า ได้มีการยุติสายพานการผลิตไปแล้ว และเมื่อกลับสู่สภาวะปกติแผนคือจะมีการจ้าง Supplier ที่อยู่รอดแทนการจ้างงานกลับมาเพิ่ม capacity in house ดังนั้นดีมานด์จะใหญ่ขึ้น แต่ Capacity ของซัพพลายเชนอาจจะเล็กลง เพราะจะมีคนล้มหายตายจากไป จึงต้องมีการเตรียมพร้อมความสามารถ เพราะเขาจะมองหาบริษัทที่เป็น one stop service ดังนั้นจะต้องทำให้ได้ทุกกระบวนการ”