'ยักษ์ดิจิทัล' ขานรับ 'ภาษีอี-เซอร์วิส' - เน็ตฟลิกซ์ กูเกิล ไลน์ ชูธงหนุน
‘เน็ตฟลิกซ์ กูเกิล ยูทูบ ไลน์’ ชูธงหนุนพร้อมทำตามกฏหมาย -วงการดิจิทัล ชี้ไทยได้ประโยชน์ระยะยาว “เอ็ตด้า” แนะวิธีจัดเก็บ ต้องง่ายจูงใจ ดิจิทัลข้ามชาติ ให้ขึ้นทะเบียนภาษีในไทย
แนะจัดเก็บภาษีให้เรียบง่าย-จูงใจ
อย่างไรก็ตาม ผลศึกษานี้ ชี้ด้วยว่า แนวทางการขับเคลื่อนการจัดเก็บภาษีดังกล่าว ต้องเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ประกอบการ และปรับวิธีการจัดเก็บภาษีให้เรียบง่าย เพื่อจูงใจให้กิจการดิจิทัลข้ามชาติมาขึ้นทะเบียนภาษีในไทย ยกระดับการจัดการภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีธุรกิจดิจิทัล โดยยกระดับความร่วมมือระหว่างหน่วยงานจัดเก็บภาษี กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง
รวมถึงการการอำนวยความสะดวกในการจัดตั้งกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และการเสียภาษีที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งตั้งศูนย์บริการข้อมูลและให้คำปรึกษา
ที่สำคัญต้องสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อการพัฒนาการจัดเก็บภาษีธุรกิจบริการดิจิทัล ปรับกฎระเบียบในประเทศให้สอดคล้องกับความตกลงระหว่างประเทศ สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานจัดเก็บภาษีของไทยกับต่างประเทศ และการพิจารณาทบทวนความตกลงการเว้นการเก็บภาษีซ้อนของไทย ที่อาจเกี่ยวข้องกับภาษีธุรกิจบริการดิจิทัล
สร้างการแข่งขันเท่าเทียม
นายธนาวัฒน์ มาลาบุปผา นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย เคยกล่าวก่อนหน้านี้ว่า กฎหมายอีเซอร์วิสจะทำให้เกิดการแข่งขันที่เท่าเทียมจากการลดโอกาสเลี่ยงภาษี การที่มีกฎหมายดังกล่าวเหล่านี้ออกมาจะบังคับให้ผู้บริการเหล่านี้ต้องรายงานตัวเลขการจัดเก็บภาษี VAT จากธุรกิจ หรือ ผู้บริโภคในไทย ซึ่งจะทำให้เราสามารถรู้รายได้ที่ชัดเจน หรือ เงินที่ไหลออกไปสู่ผู้ให้บริการเหล่านี้ที่ปีหนึ่งมีมูลค่ามหาศาล ซึ่งถือเป็นการลดความเหลื่อมล้ำในการแข่งขันของผู้ประกอบการในประเทศและของต่างประเทศ”
มองไทยได้ประโยชน์ระยะยาว
นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ซีอีโอ และผู้ก่อตั้ง TARAD.com และกรรมการสมาคมผู้ประกอบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย กล่าวก่อนหน้านี้เช่นกันว่า การเก็บภาษีอี-เซอร์วิส เป็นแนวคิดที่ควรจัดเก็บมานานแล้ว ซึ่งจะทำให้คนไทยเห็นตัวเลขการขาดดุลการค้าด้านดิจิทัล ที่คนไทยจ่ายเงินออกไปนอกประเทศว่า จ่ายออกไปเท่าไรกันแน่
ปัจจุบันมีหลายประเทศเก็บภาษีรูปแบบนี้แล้ว ได้แก่ มาเลเซียที่เริ่มเมื่อต้นปีนี้ ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ ขณะที่อินโดนีเซีย จะเริ่มเก็บภาษีอีเซอร์วิสไปเมื่อปีที่แล้ว โดยเก็บที่อัตรา 10%
“สิ่งที่จะตามมา คือ ผู้บริโภคคนไทยอาจต้องจ่ายเงินเพิ่มมากขึ้นจากภาษีที่ทางผู้ให้บริการออนไลน์จากต่างประเทศ ที่จะผลักภาระส่วนนี้มาให้ แต่ก็คุ้มค่ากว่าที่ประเทศของเราเสียหายต่อไปในอนาคต”
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า หลังจากเก็บภาษีไประยะหนึ่ง จะเริ่มรู้ตัวเลขแล้วว่า บริษัทต่างประเทศเหล่านั้นสร้างรายได้จากคนไทยเท่าไร ซีึ่งตัวเลขเหล่านี้จะกระตุ้นทำให้เกิดการแข่งขัน การลงทุนในอุตสาหกรรมออนไลน์ที่เกี่ยวข้องในด้านนั้นๆ ในไทย จากเดิมที่ไม่เคยเห็นข้อมูลมาก่อน เช่น หนัง เพลง ซอฟต์แวร์ โฆษณา ซึ่งไทยอาจจะไม่ได้แข่งกับเข้าตรงๆ แต่จะเห็นขนาดตลาดในประเทศและใช้กลยุทธ์สร้างฐานลูกค้าเฉพาะได้จากข้อมูลที่เห็น รวมถึงรัฐบาลสามารถไปชวนบริษัทเหล่านี้มาลงทุนตั้งออฟฟิศในประเทศไทย เพื่อทำให้เกิดการลงทุนที่มากขึ้น