ส่องภาพรวมกลยุทธ์ 'คลาวด์' เอเชียแปซิฟิคใน 'ยุคโควิด-19'

ส่องภาพรวมกลยุทธ์ 'คลาวด์' เอเชียแปซิฟิคใน 'ยุคโควิด-19'

การระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้หลายบริษัททะยานสู่การใช้งานระบบคลาวด์ เพื่อเป็นช่องทางที่จะทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินไปต่อได้อย่างราบรื่นและมั่นคง พร้อมรองรับการทำงานทางไกล ผ่านการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

ดังนั้นหลังจากริเริ่มการเปลี่ยนการดำเนินทุกอย่างให้อยู่บนคลาวด์ อาจต้องเผชิญปัญหาด้านการควบคุมดูแลและการจัดการการใช้งานคลาวด์จากผู้ใช้งานที่หลากหลายและมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งปัญหาดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า การแผ่กิ่งก้านสาขาของคลาวด์ (cloud sprawl) หรือการแพร่กระจายการใช้งานคลาวด์อย่างไม่สามารถควบคุมได้ ปัญหานี้ทำให้สูญเสีย 30% ของพื้นที่คลาวด์ไปอย่างสิ้นเปลือง

สำหรับการหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าว สามารถใช้อุปกรณ์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการใช้จ่ายที่จะช่วยให้เห็นข้อมูลพื้นที่การใช้งานของโครงสร้างไอทีแบบไฮบริดได้อย่างละเอียดและทันท่วงที เพื่อการควบคุมและจัดการสถานการณ์ที่อาจเพิ่มภาระค่าใช้จ่าย

'ไม่ง่าย' อย่างที่คิด

ที่ผ่านมาหลายบริษัทที่ยกระดับการใช้งานระบบคลาวด์ภายในองค์กรในระหว่างการปิดประเทศ มักจะใช้วิธี “ยก-และ-ย้าย (lift-and-shift)” หรือวิธีการที่ข้อมูลหรืองานต่าง ของบริษัทจะถูกคัดลอกไปวางบนระบบคลาวด์ทั้งหมด ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่เร็วที่สุดในการทำให้มั่นใจว่าบริการธุรกิจต่างๆ ยังสามารถเปิดใช้เข้าถึงได้สำหรับพนักงานที่ต้องย้ายที่ทำงานกระทันหันหรือสำหรับผู้ใช้ภายนอกก็ตาม

อย่างไรก็ดี แม้การยกย้ายข้อมูลไปยังระบบคลาวด์อาจดูเหมือนทำได้ไม่ยากเย็นนัก แต่ในความจริงแล้วไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด จริงอยู่ที่ในทางเทคนิคแล้วสามารถทำงานหรือธุรกิจต่างๆ ได้บนคลาวด์ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า การทำงาน และแอพพลิเคชั่นที่ใช้ภายในองค์กรจะได้รับการปรับให้เหมาะสมกับการทำงานบนคลาวด์เสมอไป 

บริษัทต่างๆ อาจต้องเผชิญปัญหาเรื่องความเข้ากันได้ของเครื่องมือ เช่น รหัสเดิมบนแอพพลิเคชั่นถูกใช้งานบนซอฟต์แวร์ที่ล้าสมัยไปแล้ว อีกทั้งเกิดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นอื่นๆ จากการถ่ายโอนข้อมูลผ่านสถานที่ต่างๆ ก็เป็นได้

ดังนั้น บริษัทควรพิจารณาว่าแอพพลิชั่นอะไรบ้างที่ควรย้ายกลับเข้าไปใช้แค่ภายในองค์กร รวมถึงปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อให้เข้ากันได้กับโครงสร้างระบบคลาวด์แบบใหม่ หรือ วางแผนออกแบบโครงสร้างและจำทำใหม่ทั้งหมด เพื่อให้สามารถใช้งานบนระบบคลาวด์ได้ทุกสภาวะ

'เปลี่ยนกลยุทธ์'ก่อนสายเกิน

เนื่องจากหลายธุรกิจจะสามารถกลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้งหลังหมดโรคระบาด ดังนั้นการใช้จ่ายของการทำงานบนระบบคลาวด์ในประเทศไทย ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 22.9 พันล้านบาท ในปี 2564 นั้นควรพิจารณาการใช้จ่ายอย่างระมัดระวังมากขึ้น 

"ยังไม่สายเกินไปที่จะลองเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อการย้ายสู่คลาวด์อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งหนึ่งในวิธีการคือการทำให้มั่นใจว่าแอพพลิเคชั่นที่รองรับข้อมูลบริษัทจะหยุดชะงักบนระบบคลาวด์น้อยครั้งที่สุด และยังสอดคล้องกับงบประมาณด้านไอทีของบริษัทด้วย"