ฉายภาพ "ย่านนวัตกรรมอาหาร" พื้นที่แห่งโอกาสและอนาคต

ฉายภาพ "ย่านนวัตกรรมอาหาร" พื้นที่แห่งโอกาสและอนาคต

"เอ็นไอเอ" ฉายภาพโอกาสในการสร้างย่านเศรษฐกิจนวัตกรรมในประเทศไทยใต้การเสวนาเชิงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อ “Food Innovation District: The area of future business and opportunities ย่านนวัตกรรมอาหาร พื้นที่แห่งโอกาสและอนาคต”

รศ.พนิต  ภู่จินดา  ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางผังภาคและผังเมือง และหัวหน้าภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ย่านนวัตกรรม จะเป็นย่านที่ดึงดูดกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมให้รวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อให้เกิด 1.การเชื่อมต่อของผู้คนและไอเดียภายในย่าน 2.การสร้างสรรค์นวัตกรรม 3.การแบ่งปันความรู้ระหว่างกัน

ทั้งนี้การสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมต้องอาศัย 1.Physical Assets พื้นที่ต่างๆภายในย่านถูกออกแบบเพื่อกระตุ้นให้เกิดความเชื่อมโยง ความร่วมมือ ด้านนวัตกรรม 2.Networking Assets สร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มบุคคล บริษัท สถาบัน หรือองค์กรที่มีศักยภาพในการผลิตนวัตกรรม 3.Economic Assets กลุ่มภาคเอกชน สถาบันต่างๆ สนับสนุนและลงทุน เพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยนวัตกรรม

ส่วนกลไกสนับสนุนทางเศรษฐกิจ โดยประเทศไทยมีคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ผลักดันให้เกิดนโยบายการส่งเสริมการลงทุน โดยการให้สิทธิและประโยชน์ในการลงทุน เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศในกิจการที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มของการลงทุนที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ ได้แก่ 1.สิทธิประโยชน์ทั้งด้านภาษีอากร 2.สิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากร 3.การบริการด้านให้คำปรึกษา และประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ

ซึ่งสิ่งที่สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ได้ทำใน 2 เลเวล คือ ระเบียงนวัตกรรม โดยได้ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาย่านนวัตกรรมเชิงพื้นที่ ด้วยการพัฒนาย่านนวัตกรรมต่างๆ ซึ่งในสเกลที่อยู่ในระดับประเทศในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้มีการหารือกับสภาพัฒน์ฯ และจะทำการบรรจุ เขตนวัตกรรมลงไปในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติโดยจะมีระเบียงเศรษฐกิจ หรือ ระเบียงเศรษฐกิจนวัตกรรมอยู่ 5 พื้นที่

ไม่ว่าจะเป็น กรุงเทพมหานครฯ อีอีซี ระเบียงเศรษฐกิจภาค 1 ภาคอีสาน และภาคใต้ ซึ่งแต่ละระเบียงเศรษฐกิจจะประกอบด้วยองค์ประกอบของหลายพื้นที่ หลายทรัพยากร ที่ถูกโยงกันเป็นซัพพลายเชนของนวัตกรรมที่เป็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของแต่ละภูมิภาค ซึ่งจะสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้เกิดการพัฒนาทั้งเศรษฐกิจเชิงสร้าสรรค์ และนวัตกรรมต่อไป ซึ่งนอกจากนี้จะเป็นการลงไปในพื้นที่ในย่านต่างๆของเมืองอาทิ ย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี โดยมีสถาบันการแพทย์ 27 แห่ง ซึ่งเป็นย่านที่มีสถาบันการแพทย์และเตียงมากกว่า 7 พันเตียง และมีบุคลากรทางการแพทย์กว่า 2.1 หมื่นคน

ดังนั้นสิ่งที่จะต้องส่งเสริมคือ ได้ทำการสืบค้นทิศทางในการพัฒนาศักยภาพพื้นที่ต่างๆ พบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสินค้าเกษตรพื้นถิ่นที่มีความหลากหลาย มีความสามารถในการเพาะปลูก และมีสถาบันการศึกษาที่เป็นศูนย์กลางการศึกษาต่างๆที่สามารถต่อยอดในเชิงค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาสินค้าเกษตรต่างๆ ฉะนั้นสิ่งที่เล็งเห็นคือเมืองขอนแก่นมีศักยภาพในการได้รับการพัฒนาเป็นย่านเกษตรอาหารและเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งการพัฒนาตัวนี้จะสามารถต่อยอดสู่บีซีจี

ซึ่งเป็นแนวโน้มในการพัฒนาเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรและอาหารของโลก และเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคต ดังนั้นการต่อยอดจากนวัตกรรมจะช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง อาทิ เกษตร อาหาร และพลังงาน

ทั้งได้มีการสนับสนุนกิจการที่ใช้องค์ความรู้ และนวัตกรรม สู่การต่อยอดด้านนวัตกรรมการเกษตร อาหาร และเทคโนโลยีชีวภาพ ผลักดันให้เกิดการขอรับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมในกิจการที่ใช้องค์ความรู้และนวัตกรรมรวม 30 กิจการ โดยแบ่งเป็น การผลิตเกษตรกรรม การแปรรูป  การกระจายสินค้า การหมุนเวียนทรัพยากร ส่วนกิจกรรมสนับสนุนทั้งด้านเทคโนโลยี ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ อุตสาหกรรมที่ต่อยอดเพิ่มเติม

ตลอดจนสนับสนุนรูปแบบนวัตกรรมที่เกิดขึ้นใหม่ ๆ จากกลุ่มสตาร์ทอัพที่มีโซลูชัน ที่น่าสนใจ โดยมุ่งเน้นแนวทางที่สำคัญ ได้แก่ 1.การส่งเสริมให้มีการสร้างสรรค์สินค้าหรือนวัตกรรมที่เป็นการบริการ เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคและบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งการทำนวัตกรรมบริการถือเป็นตัวดึงดูดให้เกิดการร่วมทุน – ลงทุน รวมถึงเพิ่มทางเลือกในการแข่งขันที่ส่วนใหญ่มักจะมุ่งแข่งขันกันในด้านนวัตกรรมการผลิตเพียงอย่างเดียว และยังเป็นแนวทางสำคัญที่ช่วยบริหารจัดการร้านอาหาร โรงงานผลิตให้ก้าวสู่ทิศทางที่ดีขึ้น

2.การเป็นพี่เลี้ยงให้สตาร์ทอัพผ่านโปรแกรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งในกระบวนการบ่มเพาะธุรกิจ (Incubator) โดยการให้คำปรึกษาและคำแนะนำแก่สตาร์ทอัพตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นไอเดียให้เกิดรูปแบบธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ และโครงการสนับสนุนเพื่อเร่งการเติบโตของสตาร์ทอัพ (Accelerator) เพื่อเพิ่มมูลค่าธุรกิจที่มีอยู่แล้ว ซึ่งทั้งสองแนวทางนี้จะทำให้สตาร์ทอัพไทยเติบโตในตลาดอาหารได้เร็วยิ่งขึ้น

3.การดึงสตาร์ทอัพด้านฟู้ดเทคต่างชาติเข้ามารับเงินทุนจากบริษัทอุตสาหกรรมด้านอาหารของไทย พร้อมตั้งบริษัทในกรุงเทพมหานครและจดทะเบียนเป็นบริษัทไทย เพื่อให้ผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพไทยที่ต้องการใช้เทคโนโลยีเชิงลึก เกิดการเรียนรู้โมเดลธุรกิจที่มีความเป็นสากล พร้อมแลกเปลี่ยนเทคนิค – องค์ความรู้ด้านนวัตกรรมที่สำคัญที่จะนำไปใช้ในทางธุรกิจ

4.ความร่วมกับภาคเอกชนในการผลักดันกรุงเทพมหานครสู่ “Bangkok FoodTech Silicon Valley” ซึ่งเป็นแนวทางในการสร้างการรับรู้ด้านอัตลักษณ์ทางนวัตกรรมอาหารที่สำคัญนอกเหนือจากการเป็น สตรีทฟู้ด และดึงดูดให้เกิดการใช้ประโยชน์ในเชิงพื้นที่เพื่อการลงทุนในระยะยาว

ส่วนทางด้าน ปรเมษฐ์ ชุ่มยิ้ม ที่ปรึกษาอาวุโส ผู้เชี่ยวชาญนโยบาย และผู้จัดการโปรแกรม Food Tech Acceleration และ Food Innopolis Global Network, Food Innopolis สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า Food Innopolis มีการทำงานเป็น National Platform ที่ดูแลผู้ประกอบการด้านอาหารทั่วประเทศ ซึ่งเป็นสะพานเชื่อมระหว่างผู้ประกอบการกับฝั่งที่มีเทคโนโลยี ซึ่งเวลาที่ผู้ประกอบการจะลุกขึ้นมาทำเรื่องของเทคโนโลยี

ซึ่งโอกาสในการสร้างย่านเศรษฐกิจนวัตกรรม มีการสร้างมากมาย และน่าจะอยู่ในช่วงพัฒนา แต่ของพวกนี้ไม่ได้สร้างเสร็จข้ามคืน แต่จะต้องค่อยๆทำ และต้องอาศัยหลายฝ่าย อาทิ เอ็นไอเอ บีโอเอ ซึ่งเมื่อภาครัฐลงทุนก็จะซัพพอร์ตไปประมาณนึง แต่คนที่จะลุกขึ้นมาทำนวัตกรรมอยู่ที่ผู้ประกอบการ ฉะนั้นผู้ประกอบการต้องรู้ว่าจะวิ่งไปที่เส้นทางใด สร้างช่องทางจากทางใด ส่วนปัจจัยที่จะทำให้สำเร็จในอนาคต คือ ตัวผู้ประกอบการ ที่จะต้องรีสกิลและอัพสกิลทำให้จริงจัง และหันมาใช้เทคโนโลยี รวมถึงเข้าใจวิธีการบิซิเนสโมเดลแบบใหม่ และลำดับต่อไปนั่นคือ การต้องหาสิ่งที่จะช่วยส่งเสริมธุรกิจของตนเองนั่นคือการซัพพอร์ตจากภาครัฐ หรือภายใต้ย่านนวัตกรรมต่างๆ

ทั้งนี้ สุทธิเกตติ์ ทัดพิทักษ์กุล ผู้อำนวยการกองบริหารการลงทุน 1 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เผยถึงอนาคตความมั่นคงทางด้านาหารโลกหลังโควิด-19 และโอกาส ความท้าทายของธุรกกิจไทยสู่การแข่งขันในตลาดโลกว่า ภาพรวมแนวโน้มการลงทุนในปีนี้ นโยบายสำหรับการลงทุนในปีนี้ ดังนั้นการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาหากเปรียบเทียบก่อนและหลังโควิด ในกราฟแสดงว่าปี 59 มีโครงการที่ยื่นขอรับการสนับสนุนการลงทุนประมาณ 1.5 พันโครงการ มูลค่า 5.3 แสนล้านบาท ปี 60 ก็เพิ่มขึ้นทั้งจำนวนโครงการและมูลค่าการลงทุน

ส่วนปี 61 ลดลงมา สำหรับ ปี 62 ใกล้เคียง 61 แต่กระนั้นเมื่อถึงปี 63 ที่เกิดสถานการณ์โควิดตัวเลขไม่ได้เลวร้ายนัก มีโครงการ 1.6 พันโครงการ ส่วนเงินลงทุนอยู่ที่ 4 แสนกว่าล้าน แต่หากนำการลงทุนใน 6 เดือนแรกของปี 63 กับ 64 มาเปรียบกัน พบว่าจำนวนโครงการและจำนวนในเรื่องของเงินลงทุนเพิ่มขึ้นสูงค่อนข้างมาก

ทั้งนี้ 9 เดือนแรกของปี 64 เงินลงทุนรวมถึงอนาคตเป็นความท้าทายอย่างมาก เพราะไทยเผชิญกับสภาวะเศรษฐกิจ รวมถึงโควิด และการพํฒนาเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด และการเข้าสู่สังคมสูงอายุ ดังนั้นในประเด็นความมั่นคงทางอาหารอาจจะมี 3 ระยะ คือ 1.เกิดความกังวล และกักตุนอาหาร บางกลุ่มเข้าถึงไม่ได้ ทำให้มีช่วงเวลาสั้นๆที่เกิดความหวาดกลัวการขาดแคลนอาหาร 2.หลังจากตั้งสติได้ อาจจะมีปัญหาในเรื่องของการกระจายสินค้าอาหาร คุณภาพ และปริมาณที่เหมาะสม 3.คุณภาพของอาหาร

ดังนั้นจะต้องมีการปรับตัวในการส่งเสริมการลงทุนเน้นคุณภาพอาหาร เน้นเทคโนโลยี แต่อย่างไรก็ตามในส่วนของเอ็นไอเอ ได้มีการปรับตัวมาระยะหนึ่งอย่างการปรับปรุงประเภทกิจการ อาทิ สมาร์ทฟาร์ม ทำในเรื่องของการเพาะปลูก ประเภท plant factory จะสอดคล้องกับนโยบาย BCG ซึ่งจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจทางด้านเกษตรในอนาคต