'ประเสริฐ' รมว.ดีอี ลั่น 'แม้ไม่ใช่นักเทคฯ แต่ผมมีนักบริหารดิจิทัลที่เก่ง'

'ประเสริฐ' รมว.ดีอี ลั่น 'แม้ไม่ใช่นักเทคฯ แต่ผมมีนักบริหารดิจิทัลที่เก่ง'

เปิดใจเล็กๆ 'ประเสริฐ จันทรรวงทอง' รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กับภารกิจใหญ่ เข็นโครงสร้างดิจิทัลประเทศ ลั่น "แม้ผมจะไม่ใช่นักเทคโนโลยีแต่ผมมีนักบริหารดิจิทัลที่เก่งๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงที่ดี"

"ประเสริฐ จันทรรวงทอง" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ถือฤกษ์เดินทางเข้ากระทรวงดีอีเอสวันแรกเมื่อวันที่ 7 ก.ย.ที่ผ่านมา นายประเสริฐ นับเป็นรัฐมนตรีดีอีเอสคนที่ 16 นับตั้งแต่แต่ก่อตั้งกระทรวงมาเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ในช่วงรัฐบาล ทักษิณ 1 ภายใต้ชื่อ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)

นายประเสริฐ เปิดใจกับนักข่าวประจำกระทรวงดีอีเอส วันเข้ากระทรวงวันแรก ระบุว่า แม้ตนจะเคยรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการในกระทรวงอื่นมาแล้ว แต่การมานั่งกำกับดูแลนโยบายกระทรวงนี้ก็รู้สึกตื่นเต้นและท้าทายมาก เพราะกระทรวงดีอีเอสมีความเกี่ยวข้องกับกิจการอนาคตและเทคโนโลยีที่มีความเป็นพลวัตเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพราะคือการคาดการณ์อนาคต 5-10 ปี

เปิด 3 ภารกิจด่วน ดีอีเอส

รมว. ดีอีเอส ป้ายแดง บอกว่า เบื้องต้นตนมองถึง 3 เรื่องเร่งด่วนที่ต้องเดินหน้าทันทีหลังจากเข้ารับตำแหน่งประกอบด้วย

1.การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมไซเบอร์

2.ผลักดันรัฐบาลดิจิทัล

3.นำเทคโนโลยีช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทย

“ทุกวันนี้เรื่องของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ข่าวปลอม ทำความเสียหายให้แก่พี่น้องประชาชนเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ต้องยกระดับความเข้มข้นในการทำงานแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างเร่งด่วน”

แม้ว่าในปัจจุบันจะมีศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่ก็ไม่เพียงพอ อาจจะต้องมีการจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังในการติดตามการเคลื่อนไหวของกลุ่มธุรกรรมทางการเงินที่ต้องสงสัย โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) มาตรวจจับซึ่งจะให้เสร็จภายใน 3 เดือนต่อจากนี้ จะเป็นรูปธรรมภายในต้นปี 2567 และ ศูนย์ฯจะเพิ่มความเข้มข้นเพื่อเพิ่มความเข้มข้น และแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลเอาจริงกับเรื่องนี้

เขา กล่าวอีกว่า การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีต้องเปลี่ยนจากรัฐอุปสรรคเป็นรัฐสนับสนุนเพื่อบริการประชาชน การดำเนินการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมไซเบอร์ ทั้งปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ และข่าวปลอมที่สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน จึงต้องเร่งจัดการ

“ผมคือนักการเมือง ผมให้ความไว้วางใจข้าราชการและให้เกียรติกับคนที่ทำงานทุกคน แม้ผมจะไม่ใช่นักเทคโนโลยีแต่ผมมีนักบริหารดิจิทัลที่เก่งๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงที่ดี”

ส่วนกรณีที่รัฐมนตรีดีอีเอสคนที่ผ่านมามีแนวคิดจะปิดเฟซบุ๊คนั้น หากถามนโยบายจากตนมองว่า คนไทยได้ประโยชน์อย่างสุจริตจากช่องทางโซเชียลมีเดียมากกว่า เพราะมีผู้ใช้งานมากกว่า 45 ล้านบัญชี ซึ่งประเด็นนี้เป็นเรื่องอ่อนไหว เนื่องจากคนไทยได้รับประโยชน์ เล็งเชิญผู้บริหารจากสิงคโปร์เข้ามาหารือโดยเร็ว แต่ในส่วนของการหลอกลวงออนไลน์ผ่านโซเชียลมีเดีย เป็นสิ่งที่ต้องดูทั้งระบบ ไม่ใช่การปิดช่องทางการสื่อสาร

นายประเสริฐ กล่าวอีกว่า งานถัดมาเรื่องที่ให้ความสนใจคือการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเพื่อดำเนินการตามนโยบาย ในการเปลี่ยนจากรัฐอุปสรรคเป็นรัฐสนับสนุน การทำโครงการสมาร์ท 30 บาท โครงการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาทการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีลดช่องว่างทางสังคม สร้างความเท่าเทียม ส่วนข้อกังวลเกี่ยวการจะมีกลุ่มทุนเข้ามาแทรกแซงการทำงานของกระทรวงดีอีเอส