ฟอร์ติเน็ตเผย อาชญากรไซเบอร์โจมตีเร็วขึ้น 43% องค์กรต้องรับมือ
แฮกเกอร์เล็งเป้า! อุตสาหกรรมพลังงาน, เฮลธ์แคร์, การผลิต, ขนส่ง, ยานยนต์ เสี่ยงโดนโจมตี ฟอร์ติเน็ต เผย อาชญากรนำช่องโหว่ใหม่ในอุตสาหกรรมมาใช้โจมตีได้เร็วขึ้น 43% เทียบกับครึ่งแรกของ 2023
ฟอร์ติเน็ต (Fortinet) ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชันการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบครบวงจร เผยผลวิจัย Global Threat Landscape Report ครึ่งหลังปี 2566 จาก FortiGuard Labs พบว่า ช่องโหว่ถูกแฮกเกอร์โจมตีเร็วขึ้น 43% ภายใน 4.76 วันหลังจากเปิดเผยข้อมูล แสดงให้เห็นถึงภัยคุกคามร้ายแรงต่อองค์กรต่างๆ
องค์กรยังเผชิญช่องโหว่เก่าที่ยังไม่ได้แก้ไขนานกว่า 15 ปี ซึ่งเป็นช่องโหว่ที่แฮกเกอร์สามารถใช้โจมตีได้ง่าย นอกจากนี้ การเข้ามาของเอไอก็ทำให้คนร้ายใช้เอไอเพื่อโจมตีองค์กรอีกทาง ในรายงานระบุอีกว่า 44% ของแรนซัมแวร์และมัลแวร์มุ่งเป้าโจมตีอุตสาหกรรมพลังงาน, เฮลธ์แคร์, การผลิต, ขนส่ง, ยานยนต์
ข้อมูลส่วนบุคคลกว่า 3,000 รายการรั่วไหลบนเว็บมืด และบัตรชำระเงินกว่า 850,000 ใบถูกขายบนช่องทาง Telegram หากแต่การระบาดของแรนซัมแวร์มีแนวโน้มชะลอตัวลงถึง 70% เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งแรกของปี
ขณะที่บอทเน็ตสามารถรักษาการสื่อสารควบคุมได้นานถึง 85 วัน มีทั้งบอทเน็ตเก่าและบอทเน็ตใหม่ปรากฏขึ้น สำหรับกลุ่มภัยคุกคามขั้นสูงหรือ APT กลุ่ม พบว่ามี 38 กลุ่มจาก 143 กลุ่มตามการติดตามของ MITRE ที่ยังคงมีกิจกรรม
เดเรค แมนคีย์ ประธานฝ่ายกลยุทธ์ด้านความปลอดภัย และรองประธานอาวุโสฝ่ายข่าวกรองภัยคุกคามระดับโลก FortiGuard Labs กล่าวว่า ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าทุกอุตสาหกรรมจำเป็นต้องมีระบบและเครื่องมือที่จัดการกับภัยคุกคาม เพื่อตอบโต้อาชญากรรมทางไซเบอร์
ด้าน ภัคธภา ฉัตรโกเมศ ผู้จัดการประจำประเทศไทย ฟอร์ติเน็ต กล่าวว่า ภาพรวมภัยคุกคามที่พัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในประเทศไทย ชี้ถึงความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแนวทางการรับมือ โดยใช้แพลตฟอร์มเป็นศูนย์กลางในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์
เพราะโซลูชันแบบดั้งเดิมที่แยกส่วนกันทำงาน ไม่สามารถจัดการกับเทคโนโลยีหลากหลาย และโมเดลการทำงานแบบไฮบริด รวมถึงการผสานรวมของ IT/OT ที่เป็นลักษณะของเครือข่ายสมัยใหม่ได้
แพลตฟอร์มของฟอร์ติเน็ตที่รวมการทำงานของเครือข่ายและความปลอดภัยไว้ด้วยกัน และขับเคลื่อนการทำงานด้วย AI ช่วยตอบโจทย์ความซับซ้อนในเรื่องนี้ได้ ให้การป้องกันภัยคุกคามได้อย่างครอบคลุม ช่วยจัดการช่องโหว่ได้แบบอัตโนมัติ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานได้ดียิ่งขึ้น กลยุทธ์แบบผสานรวมดังกล่าว
นอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายและลดความซับซ้อนในการดำเนินงานแล้ว ยังช่วยให้มั่นใจว่า องค์กรจะสามารถปรับตัวเพื่อรับมือกับภัยคุกคามใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้สามารถรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้อย่างแข็งแกร่งทั้งปัจจุบันและในอนาคต