'ดีป้า' ยอมรับดัชนีอุตฯดิจิทัลปรับลง อ้างโดนเศรษฐกิจชะลอพ่นพิษ

'ดีป้า' ยอมรับดัชนีอุตฯดิจิทัลปรับลง อ้างโดนเศรษฐกิจชะลอพ่นพิษ

ดีป้า เผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัล ไตรมาส 3/2567 ปรับตัวลดลง เหตุผู้ประกอบการ การบริโภคภาคเอกชนลดลง อัตราดอกเบี้ยที่สูงกระทบการปล่อยสินเชื่อ รวมถึงเหตุอุทกภัยโดนกระทบ

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital Industry Sentiment Index) ไตรมาส 3 ประจำปี 2567 ใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมย่อย

  1. กลุ่มอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะ (Hardware and Smart Device)
  2. กลุ่มอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ (Software)
  3. กลุ่มอุตสาหกรรมบริการด้านดิจิทัล (Digital Service)
  4. กลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ (Digital Content)
  5. กลุ่มอุตสาหกรรมโทรคมนาคม (Telecommunication)

โดยดัชนีความเชื่อมั่นฯ อยู่ที่ระดับ 52.0 ปรับตัวลงจากระดับ 52.4 ของไตรมาสก่อนหน้า แต่ยังคงอยู่ในระดับเชื่อมั่น โดยปัจจัยด้านผลประกอบการ ด้านปริมาณการผลิตฯ ด้านคำสั่งซื้อฯ ด้านการจ้างงาน และด้านการลงทุนปรับตัวลง ขณะที่ปัจจัยด้านต้นทุนประกอบการปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า

ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า เปิดเผยว่า ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมดิจิทัลมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากสภาวะหนี้ครัวเรือนและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนลดลง \'ดีป้า\' ยอมรับดัชนีอุตฯดิจิทัลปรับลง อ้างโดนเศรษฐกิจชะลอพ่นพิษ

อีกทั้ง กระทบการปล่อยสินเชื่อ รวมถึงเหตุอุทกภัยในพื้นที่ภาคกลางและภาคเหนือที่สร้างแรงกดดันต่อผู้บริโภค ในทางกลับกันเสถียรภาพทางการเมืองที่เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนผ่านรัฐบาลช่วยฟื้นฟูความเชื่อมั่นผู้ประกอบการและนักลงทุน ขณะที่การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยวช่วยให้ภาพรวมเศรษฐกิจไม่ลดลงไปมาก และส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัลยังคงอยู่ในระดับเชื่อมั่น

\'ดีป้า\' ยอมรับดัชนีอุตฯดิจิทัลปรับลง อ้างโดนเศรษฐกิจชะลอพ่นพิษ โดยหากแยกตามกลุ่มอุตสาหกรรมพบว่า 3 กลุ่มอุตสาหกรรมมีดัชนีความเชื่อมั่นฯ สูงกว่าระดับ 50 ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะy อยู่ที่ระดับ 52.2 กลุ่มอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ อยู่ที่ระดับ 52.6 และกลุ่มอุตสาหกรรมบริการด้านดิจิทัล อยู่ที่ระดับ 54.1 ส่วนอีก 2 กลุ่มอุตสาหกรรมมีดัชนีความเชื่อมั่นฯ ต่ำกว่าระดับ 50 ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ อยู่ที่ระดับ 47.7 และกลุ่มอุตสาหกรรมโทรคมนาคม อยู่ที่ระดับ 49.5

"ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมดิจิทัลไทยคาดหวังให้ภาครัฐปรับแนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมดิจิทัล ผลักดันให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ออกมาตรการสนับสนุนสินค้าและบริการดิจิทัลไทยภายในประเทศ และเพิ่มขีดความสามารถสู่ตลาดโลก"

โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี โดย ดีป้า วางแผนส่งเสริมอุตสาหกรรมเกมเพื่อยกระดับการลงทุน และพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ของไทย นอกจากนี้ควรส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยมีส่วนร่วมในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และควรตรวจสอบผู้ประกอบการต่างชาติที่ทำธุรกิจโดยไม่เสียภาษี \'ดีป้า\' ยอมรับดัชนีอุตฯดิจิทัลปรับลง อ้างโดนเศรษฐกิจชะลอพ่นพิษ

เขา มองว่า ในอนาคต 3 เดือนข้างหน้า คาดการณ์ว่า ดัชนีฯ มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 52.6 ประเด็นที่ผู้ประกอบการมีความคาดหวังมากที่สุดคือเสถียรภาพทางการเมืองที่ดีขึ้นจะช่วยให้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจดำเนินการอย่างราบรื่นในไตรมาสถัดไป ซึ่งคาดการณ์ว่าจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคเพื่อให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย ซึ่งเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการ ทำให้ภาพรวมการคาดการณ์ในอนาคตอยู่ในเกณฑ์ดี

อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับตัวกับสถานการณ์เศรษฐกิจชะลอตัว โดยการเร่งหาแหล่งเงินทุนและระมัดระวังค่าใช้จ่ายด้านต้นทนไม่ให้เกิดภาระหนี้สะสมจนมากเกินไป เพื่อประคับประคองธุรกิจในสภาวะที่ฐานลูกค้าน้อยลงและมีการแข่งขันเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ความผันผวนของค่าเงินบาทยังมีผลต่อแนวโน้มการย้ายฐานการผลิตของผู้ประกอบการและนักลงทุนต่างชาติ รวมถึงกระทบขีดความสามารถการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดโลก \'ดีป้า\' ยอมรับดัชนีอุตฯดิจิทัลปรับลง อ้างโดนเศรษฐกิจชะลอพ่นพิษ

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการจึงคาดหวังว่าทางภาครัฐจะดำเนินการนโยบายที่กระตุ้นการใช้จ่ายภาคเอกชนและช่วยลดค่าใช้จ่ายผู้ประกอบการของในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีไปจนถึงช่วงไตรมาสต้นปีถัดไป โดยในภาพรวมผู้ประกอบการยังคงมีความเชื่อมั่น แม้ว่าจะมีระดับความเชื่อมั่นลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาเล็กน้อยเมื่อวิเคราะห์สถานการณ์โดยรวมของประเทศที่คาดว่ากระทบกับปัจจัยด้านผลประกอบการ ด้านปริมาณการผลิต ด้านคำสั่งซื้อ ด้านการจ้างงาน และต้านการลงทุนเพื่อประกอบการ ที่ปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า 

โดยพบว่าสาเหตุสำคัญที่กระทบกับกับปัจดังกล่าว ได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวเนื่องจากสภาวะหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูงและราคาพลังงานมีแนวโน้มปรับสูงขึ้น ทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและการลงทุนภาคเอกชนลดลง คำสั่งซื้อและรายได้จึงมีการทรงตัวตัวหรือลดลงเล็กน้อย จึงต้องปรับปริมาณการผลิตให้สอดคล้องกับจำนวนลูกค้าในช่วงไตรมาสนี้

อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการมีแนวโน้มที่จะปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อลดต้นทุนทุนกิจการให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจที่ขบเขา จึงชะลอการจ้างบุคลากรเพิ่มเติมและลงทุนแค่การบำรุงรักษาและช่อมแชมอุปกรณ์ ในขณะที่ปัจจัยด้านต้นทนประกอบการปรับตัวดีขึ้นจากการแข็งค่าของค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาชะลอตัวในช่วงไตรมาสปัจจุบัน ซึ่งช่วยลดต้นทุนการนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบจากต่างประเทศ รวมถึงการจ้างบุคลากรหรือองค์กรภายนอกจากต่างประเทศ