ภาคธุรกิจควรปรับตัวอย่างไรในยุคกรีนดิสรัปชัน?

ภาคธุรกิจควรปรับตัวอย่างไรในยุคกรีนดิสรัปชัน?

เก็บตกเสวนา “เทคโนโลยี เพื่อชีวิตที่ดี” ณ งาน Sustainability Expo 2022 พูดถึงการปรับตัวของธุรกิจในยุค Green Disruption ที่ใช้นวัตกรรมเปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้น ตั้งแต่มุมมองความคิดที่ไม่กระทบต่อตนเอง คนอื่น และเกิดความยั่งยืนในทุก ๆ ด้าน

เมื่อพูดถึงความยั่งยืน ขณะนี้หลายธุรกิจเกิดการ Green Disruption เนื่องจากปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้ 2 ที่ผ่านมา มีปัญหามากมายส่งผลกระทบทั่วโลก การพัฒนาของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ก้าวกระโดด แต่ในทางกลับกัน กลับส่งผลให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมรุนแรงขึ้นทุกเมื่อ นี่เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันแก้ไขอย่างเร่งด่วน 

เกิดเป็นเทรนด์การรณรงค์ให้คิดค้น ให้ใช้พลังงานทางเลือกรูปแบบอื่น ๆ ที่ไม่เป็นภัยต่อธรรมชาติ มีการส่งเสริมให้ปรับใช้แนวคิด Sustainbility อย่างกว้างขวาง เช่น การลดปริมาณคาร์บอน หลายภาคธุรกิจคงจะมองแค่ “เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” อย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องทำให้เกิดผลทบที่เป็นบวกกับทุกสรรพสิ่งบนโลกใบนี้ 

เสวนา “เทคโนโลยี เพื่อชีวิตที่ดี (Technology Makes Everyday Life Better)” ณ เวที Talk Stage ในงาน Sustainability Expo 2022 ได้พูดถึงนวัตกรรมที่จะทำให้ชีวิตดีและเกิดความยั่งยืนไว้ดังนี้ 

  • ความยั่งยืน ไม่ได้จบแค่ผลิตภัณฑ์รักษ์โลก 

จิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.น้ำมันและการค้าปลีก (OR) การดิสรัปชันไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะธุรกิจพลังงาน ใน 2 ปีที่ผ่านมานี้ผู้บริโภคหลาย ๆ คนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ธุรกิจหลายประเภทจึงต้องเริ่มปรับตัว ดังประโยคที่ว่า “เมื่อโลกปรับ เราก็ต้องเปลี่ยน” และเปลี่ยนไปในทางที่มองเห็นคุณค่าของธุรกิจที่ยั่งยืน (Value)

หลายธุรกิจมีการทำเกี่ยวกับเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น หรือทำธุรกิจที่ให้โอกาสกับคนทุกภาคส่วนมากขึ้น ซึ่งการปรับเปลี่ยนธุรกิจ (Transformation) หากบริษัทใหญ่ ๆ ปรับคนเดียวก็อาจจะโตขึ้นได้เร็วกว่า แต่ถ้าทำอย่างนั้นองค์กรเล็ก ๆ อย่าง SMEs สตาร์ตอัป เกษตรกร จะไม่ได้เติบโตไปด้วย เพราะสตาร์ตอัปมีแพชชั่นและโซลูชันที่เต็มเปี่ยม หากแต่ยังขาดทุนและช่องทางที่จะเติบโต ระบบนิเวศทางตลาดจะไม่เกิดขึ้น จึงจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงไปเป็นทีมพร้อม ๆ กันทั้งหมด เพื่อจะได้เกิดความยั่งยืน 

ซึ่งในปี 2030 OR มีแนวทางการบริหารจัดการความยั่งยืนด้วยการนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ 3 ด้านดังนี้ 

1. Living Comunity คือ การยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนด้วยการสร้างชุมชนที่น่าอยู่กว่า 15,000 ชุมชน โดยธุรกิจของ OR และพาร์ทเนอร์ทั้งหมดจะต้องทำให้ชุมชนที่อยู่ในรอบ ๆ ต้องมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ด้วยการเข้ามาอยู่ในแพลตฟอร์มของ OR 

โดยการนำเอาเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ Data เกี่ยวกับการจัดเก็บที่ไม่ใช่ ‘แรงงานคน’ เพื่อทำให้ลดภาระงานของพนักงานไม่ต้องมาแบกหามสิ่งของหนัก ๆ ผลลัพธ์จะทำให้สุขภาพของคนที่อยู่ในสถานนั้นจะไม่ถูกบั่นทอนด้วยความรวดเร็ว ส่วนในมุมของผู้บริโภคจะคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก 

ภาคธุรกิจควรปรับตัวอย่างไรในยุคกรีนดิสรัปชัน?

2. Healthy Environment คือ ลดผลกระทบเชิงลบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ให้ได้จาก 1 ใน 3 ของธุรกิจทั้งหมด ด้วยการตั้งเป้าหมายเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนและ Net Zero ซึ่งจะมีการนำเอาเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ มาทดแทนพลังงานที่กำลังจะหมดไปมากขึ้น เช่น การใช้น้ำมันในเกรดนี้จะทำให้ค่า PM 2.5 ลดลง เป็นต้น 

3. Economic สร้างการเติบโตและกระจายความมั่งคั่งแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พาร์ทเนอร์กว่า 1 ล้านราย 

“เมื่อมีวิสัยทัศน์และเป้าหมายมันจะไม่ล่องลอย แต่มันต้องออกมาเป็นภาพชัด ยกตัวอย่างเช่น การที่ทำความยั่งยืนฝังอยู่ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของบริษัท ทาง OR มีสถานนีชาร์ตรถพลังงาน EV ตามสถานี เพื่อรองรับรถพลังงานไฟฟ้า พลาสติกที่ใช้ในคาเฟ่อเมซอนเป็นพลาสติกที่เป็นมิตรแก่สิ่งแวดล้อม ตลอดจนเสื้อของพนักงานทุก ๆ ร้านของอเมซอนก็เป็นเสื้อที่รีไซเคิ้ลมาจากเส้นใยพลาสติก” 

นอกจากนี้ ในเรื่องการกระจายความยั่งยืนด้านชุมชน ทาง OR ก็ยังเปิดโอกาสให้กับเกษตรกร ชาวสวนที่อยู่ในโครงการหลวงได้ส่งเมล็ดพันธุ์ของกาแฟ เพื่อช่วยกระจายรายได้สู่เกษตรกรอย่างทั่วถึง 

และยังมี “โครงการไทยเด็ด” ที่มีเจตนารมณ์สนับสนุนและผลักดันเศรษฐกิจฐานรากของประเทศให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน โดย OR รับหน้าที่สนับสนุนช่องทางการขายให้กับสินค้าชุมชน เพื่อช่วยให้วิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการท้องถิ่นได้มีโอกาสนำสินค้าถึงมือผู้บริโภคทั่วประเทศได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึงขึ้น

มีสถานีบริการน้ำมัน พีทีที สเตชั่น ที่ครอบคลุมทั่วประเทศเป็นช่องทางการจำหน่ายให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่ผ่านการคัดสรรจากหน่วยงานพันธมิตรแล้วว่าเป็น “สินค้าดีสินค้าเด็ด” เพื่อนำมาให้ผู้แทน จำหน่ายสถานีบริการน้ำมัน พีทีที สเตชั่น คัดเลือกไปวางจำหน่าย ณ “มุมสินค้าหรือร้านค้าไทยเด็ด” ที่อยู่ในสถานีบริการน้ำมัน พีทีที สเตชั่น

“การจะไปสู่ความยั่งยืนได้ไม่ใช่แค่ผลิตสินค้าที่เป็นมิตรแก่สิ่งแวดล้อมอย่างเดียว แต่ต้องเริ่มตั้งแต่วิธีคิด มองเห็นภาพในระยะยาว จนกลายเป็นเป้าหมายแห่งความยั่งยืน” จิราพร กล่าว

  • สร้างนวัตกรรมที่ไม่ก่อให้ปัญหากับทุกชีวิตในอนาคต 

อภิรัตน์ หวานชะเอม ผู้อำนวยการฝ่ายดิจิทัล สำนักบริหารดิจิทัล บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์–ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด (SCG) กล่าวว่า ความยั่งยืนต้องเริ่มที่ความคิด การที่เราแก้ปัญหาของตนเองได้ เราจะต้องไม่ทำให้คนอื่น ๆ ที่เป็นเพื่อนร่วมโลกไม่ว่าคน สัตว์ หรือสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ เดือดร้อนไปด้วย ซึ่งต้องเป็นประโยชน์ที่ทุกคนได้ใช้ด้วยกัน 

“นวัตกรรมเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่ทำทุกชีวิตดีขึ้น แต่ไม่ใช่แค่เพียงคนในปัจจุบัน และไม่ใช่แค่ชีวิตของคนเท่านั้น ถ้าเราทำนวัตกรรมโดยไม่ระวังและใช้แต่ Design Thinking ก็อาจจะตอบโจทย์เพียงแค่ในปัจจุบันแต่อาจทำให้เกิดปัญหาในอนาคต เพราะฉะนั้นความยั่งยืนจะต้องคิดและทำอย่างที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้าหลัง” 

แนวทางการจัดการความยั่งยืนของ SCG มีดังนี้ 

1. มุ่ง Net Zero คือ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2050 (Net  Zero) โดยเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานคาร์บอนต่ำอย่างพลังงานชีวมวล (Biomass) จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและเชื้อเพลิงจากขยะ (RDF) ในกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ การใช้ลมร้อนเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิต และพลังงานแสงอาทิตย์ รวมถึงวิจัยและลงทุนในเทคโนโลยีขั้นสูง (Deep Technology) อาทิ ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI Supervisory for Energy Analytics) และเตรียมทดลองนำร่องใช้เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอน เป็นต้น

2. Go Green คือ การพัฒนานวัตกรรมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และลดการใช้ทรัพยากรตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนไปด้วยกัน  โดยตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนผลิตภัณฑ์ฉลาก SCG Green Choice เป็น 2 เท่าจากร้อยละ 32 เป็นร้อยละ 67 ภายในปี 2030  อาทิ ปูนงานโครงสร้าง เอสซีจี สูตรไฮบริด ระบบหลังคา SCG Solar Roof Solutions นอกจากนี้ ยังตั้งบริษัท SCG Cleanergy ให้บริการโซลูชันผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทั้งแสงอาทิตย์และลม ทั้งในไทยและต่างประเทศ

CPAC Green Solution ช่วยให้ก่อสร้างเสร็จไว ลดของเหลือทิ้งในงานก่อสร้าง  SCG Green Polymer นวัตกรรมพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ตอบโจทย์ธุรกิจและผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม บรรจุภัณฑ์ของเอสซีจีพีทั้งหมดสามารถรีไซเคิล ใช้ซ้ำ หรือย่อยสลายได้ในปี 2050

3. Lean เหลื่อมล้ำ คือ การลดความเหลื่อมล้ำในสังคมด้วยการพัฒนาทักษะอาชีพที่ตลาดต้องการให้แก่ชุมชนรอบโรงงาน และ SMEs  20,000 คน ภายในปี 2025 เช่น อาชีพพนักงานขับรถบรรทุก โดยโรงเรียนทักษะพิพัฒน์ อาชีพช่างปรับปรุงบ้าน โดย Q-Chang (คิวช่าง) อาชีพแปรรูปผลิตภัณฑ์ และขายสินค้าออนไลน์และออฟไลน์ผ่านโครงการพลังชุมชน อาชีพผู้ช่วยพยาบาล ผู้ช่วยทันตแพทย์ นักบริบาลผู้สูงอายุ ผ่านทุนการศึกษาจากโครงการ Learn

to Earn โดยมูลนิธิเอสซีจี รวมถึงเสริมความรู้เพิ่มผลผลิตให้เกษตรกร ด้วย Kubota Smart Farming นอกจากนี้ ในช่วงโควิด 19 ยังช่วยเหลือ SMEs ให้ขายสินค้าบนแพลตฟอร์ม NocNoc.com และ Prompt Plus โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย รวมถึงให้สินเชื่อร้านค้าช่วงและผู้รับเหมารายใหญ่ผ่านแพลตฟอร์ม Siam Saison

4. ย้ำร่วมมือ คือ การสร้างความร่วมมือขับเคลื่อน ESG กับหน่วยงานระดับประเทศ อาเซียน และระดับโลก เช่น ร่วมกับไปรษณีย์ไทยและองค์การเภสัชกรรม ในโครงการ “ไปรษณีย์ reBOX”  รีไซเคิลกล่องกระดาษเหลือใช้ ร่วมกับ PPP Plastic จัดการขยะพลาสติกเพื่อนำกลับมาสู่กระบวนการรีไซเคิล ร่วมกับ Unilever เปลี่ยนขยะพลาสติกใช้แล้วจากครัวเรือนเป็นพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง สำหรับผลิตขวดบรรจุภัณฑ์รีไซเคิล ร่วมกับ Global Cement and Concrete Association (GCCA) ลดการปล่อยและกักเก็บ ก๊าซเรือนกระจกเข้าไปในเนื้อคอนกรีต ในอุตสาหกรรมซีเมนต์ เป็นต้น

  • เทคโนโลยีที่ทำให้ ‘ตายดี’ 

“มีใครอยากตายตอนอายุ 80 บ้าง? และถ้าให้นอนติดเตียงตั้งแต่ตอนนี้จนถึงอายุ 80 เอาไหม” รศ.นพ.รัฐพลี ภาคอรรถ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ชวนตั้งคำถาม และกล่าวเพิ่มเติมว่า “ผมมีลูกอยู่ประถม ผมแยกขยะ และขับรถ 40 กิโลเมตรเพื่อนำขยะไปรีไซเคิ้ล เพราะไม่อยากให้ขยะที่บ้านเป็นภาระให้กับลูก แต่จะมีประโยชน์อะไรถ้าผมไม่ได้อยู่แสดงความยินดีกับเขาในวันที่เขารับปริญญาหรือแต่งงาน”

รศ.นพ.รัฐพลี อธิบายว่า คำว่า “สุขภาพ” มันมี 2 เรื่องที่แฝงอยู่ คือ คำว่าความสุขกับคำว่าภาพ ความสุขจะมีไหมหากเราใชีชีวิตถึงอายุ 80 ปี หากเราอยู่โดยปราศจากความสุขก็กลายเป็นสิ่งที่สร้างความทุกข์ให้กับเรา ทาง รศ.นพ.รัฐพลี ได้ยกตัวอย่างของเทคโนโลยีนวัตกรรมการแพทย์ที่จะช่วยสนับสนุนทุกชีวิต 

อาทิ เครื่องตัววัดหัวใจแบบพกพา เครื่องวัดน้ำตาลแบบพกพา ที่ทำให้ลดการมาโรงพยายาล แต่เป็นการวัดชีพจรและค่าน้ำตาลเบื้องต้นที่บ้าน ทำให้เกิดโรงพยาบาลในทุก ๆ ที่ นาฬิกาที่คอยบอกเรื่องของชีพจร ความดัน ทำให้เราทราบได้ว่าเราจะปฏิบัติตัวอย่างไร ควรจะไปหาหมอหรือไม่ เป็นต้น 

“เรามีอุปกรณ์ IoT ที่สามารถซื้อมาติดตั้งกับเราได้ง่าย ๆ ในราคาที่ไม่แพง เสมือนเป็นการเก็บข้อมูลเบื้องต้นก่อนไปหาหมอ ทำให้หมอและพยาบาลทราบข้อมูลของคนไข้ได้ละเอียดขึ้น และเกิดการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โรงพยาบาลไม่ใช่สถานที่ แต่โรงพยาบาลเป็นที่ ๆ คนไข้และหมอสามารถเจอกันที่ไหนก็ได้

ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์ม ที่บ้าน ปั้มน้ำมัน ผมฝันเหลือเกินว่าทุกคนจะมีโรงพยาบาลอยู่ในมือถือ ทุกครั้งที่เราลุกไปฉี่จะมีผลตรวจปัสสาวะขึ้นมา ทุกครั้งที่เราแวะชาร์ตรถไฟฟ้าที่ปั้มเราสามารถวัดไขมันส่วนเกินหรือความดันของเรา ถ้าเราไม่เริ่มตั้งแต่วันนี้เมื่อไรเราถึงจะทำกัน” รศ.นพ.รัฐพลี กล่าวทิ้งทาย