จีน-อาเซียน ระเบิดความสร้างสรรค์ ชิงชัยนวัตกรรมแข่งขันระดับผู้ประกอบการ
เปิดรายชื่อนวัตกรรมที่คิดค้น และสร้างสรรค์โดยผู้ประกอบการ ในเวทีการแข่งขันนวัตกรรมจีน-อาเซียน และผู้ประกอบการรอบชิงชนะเลิศปี 2023 ขึ้นที่เมืองหนานหนิง ประเทศจีน
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีน และสำนักเลขาธิการอาเซียน กรมความร่วมมือระหว่างประเทศของกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีจีน คณะกรรมการนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งอาเซียน ศูนย์วิจัย และพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีคบเพลิง กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเขตปกครองตนเองกว่างซี จ้วง (ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีจีน-อาเซียน) ได้ร่วมกันจัดการแข่งขันนวัตกรรมจีน-อาเซียนและผู้ประกอบการรอบชิงชนะเลิศปี 2023 ขึ้นที่เมืองหนานหนิง ประเทศจีน
งานในครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “นวัตกรรม และความร่วมมือเพื่อสร้างอนาคตร่วมกัน” โดยมุ่งเน้น 4 สาขาอุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ เกษตรกรรมสมัยใหม่ เศรษฐกิจดิจิทัล การแพทย์ชีวภาพ และสุขภาพ การอนุรักษ์พลังงาน และการปกป้องสิ่งแวดล้อม และเชิญชวนให้มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ ผู้ประกอบการและภาคส่วนอื่นๆ ในสังคมทั้งจากจีน และประเทศอาเซียน ให้มาเข้าร่วมอย่างกว้างขวาง
โดยจัดการแข่งขันออกเป็นกลุ่มองค์กร และกลุ่มทีม นับตั้งแต่เริ่มการแข่งขันในเดือนสิงหาคม 2022 เป็นต้นมา มี 71 ทีมจากประเทศต่างๆ ตาม “สายแถบหนึ่งเส้นทาง” (BRI) รวมถึงประเทศในอาเซียนเข้าร่วมแข่งขัน หลังจากการแข่งขันที่ดุเดือด โครงการคุณภาพสูง 20 โครงการที่โดดเด่นก็ได้ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ
ในท้ายที่สุด โครงการ “โสตแพทย์ด้านการได้ยิน-เสียงรอบทิศทางช่วยปรับปรุงสุขภาพหู” (Directional Sound to Improve Ear Health—Dr Hearing)และ โครงการ “ผลิตภัณฑ์การเผาไหม้คาร์บอนต่ำที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่ประสานข้อมูลในอุปกรณ์ไฟฟ้าภาคพื้นดิน อากาศ อวกาศ และการรวมระบบพลังงานใหม่” (Low Carbon Combustion Device Coupled with Data for Ground-air-space and New Energy System Application)ได้รับรางวัลชนะเลิศ ในกลุ่มวิสาหกิจและกลุ่มทีมตามลำดับ ส่วนอีก 6 โครงการที่เข้าร่วมการแข่งขัน ได้แก่ “Castomize—เครื่องพิมพ์กระดูกด้วยเทคโนโลยี 4D ” (Castomize—Casts Made with 4D Printing)ได้รับรางวัลรองชนะเลิศในกลุ่มวิสาหกิจหรือกลุ่มทีม ส่วนโครงการ “ยา cardiac glycoside—การสังเคราะห์จุลินทรีย์ของดิจอกซิเจนิน: เปลี่ยน ‘ยาราคาแพง’ ให้เป็น ‘ยาที่จับต้องได้’” (Changing “Sky-high-priced Medicine” to “Civilian Medicine”: Microbial Synthesis of the Cardiac Glycoside Drug Digitoxin)และอื่นๆ อีก 12 โครงการ คว้ารางวัลที่ 3 ในกลุ่มวิสาหกิจหรือกลุ่มทีม
นอกจากนี้ เพื่อกระตุ้นนวัตกรรม และความกระตือรือร้นในการเป็นผู้ประกอบการของผู้ประกอบการรุ่นใหม่จากทั่วทุกมุมโลก ผู้จัดงานได้เลือกดาวแห่งความร่วมมือ 10 ราย และดาวแห่งความคิดสร้างสรรค์ 10 ราย โดยพิจารณาอย่างครอบคลุมเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์และโอกาสความร่วมมือขององค์กร
รายงานระบุว่า การแข่งขันครั้งนี้ได้ใช้นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการเป็นผู้ประกอบการเป็นสะพานเชื่อมในการจัดตั้งกลไกแลกเปลี่ยนนวัตกรรม และผู้ประกอบการที่ได้รับการปรับมาตรฐาน ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีและความร่วมมือระหว่างจีน และประเทศในอาเซียนในเชิงลึก ส่งเสริมความสามารถด้านนวัตกรรมระดับภูมิภาคของอาเซียนและจีน กระตุ้นความมีชีวิตชีวาของนวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการ และส่งเสริมความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แลกเปลี่ยนองค์ประกอบทางนวัตกรรมแบบสองทาง เช่น ทุนทางการเงิน ทีมผู้มีความสามารถพิเศษ ข้อมูลและสารสนเทศ เป็นต้น การแข่งขันครั้งนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการเร่งสร้างความร่วมมือที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นในอนาคตร่วมกัน ระหว่างจีนกับประชาคมอาเซียน
พิสูจน์อักษร....สุรีย์ ศิลาวงษ์