เช็กผลกระทบภาคการเงิน “มาเลเซีย - อินโดนีเซีย” วิกฤติ SVB

เช็กผลกระทบภาคการเงิน “มาเลเซีย - อินโดนีเซีย” วิกฤติ SVB

แม้การล่มสลายของ Silicon Valley Bank (SVB) จะไม่ส่งผลกระทบโดยตรงกับภาคการเงิน และการธนาคารในอินโดนีเซีย เพราะระบบมีความแข็งแกร่ง และมีเสถียรภาพ แต่สำหรับมาเลเซีย SVB อาจสร้างความเสี่ยงในวงจำกัด หวั่นลุกลามมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นาย Dian Ediana Rae ประธานผู้บริหารของ Otoritas Jasa Keuangan (OJK) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินของอินโดนีเซีย ชี้การปิดตัวลงของธนาคารสหรัฐ SVB คาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อธนาคารของอินโดนีเซีย

" OJK ไม่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจ สายโรงงาน หรือการลงทุนในผลิตภัณฑ์แปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ของ SVB" เขาระบุในแถลงการณ์

นอกจากนี้ ธนาคารในอินโดนีเซียยังไม่ให้สินเชื่อ และการลงทุนแก่บริษัทสตาร์ตอัปด้านเทคโนโลยีหรือบริษัทคริปโทเคอร์เรนซี ซึ่งแตกต่างจาก SVB และธนาคารอื่นๆ ในสหรัฐ

ดังนั้น OJK หวังว่า สังคมและอุตสาหกรรมต่างๆ ในอินโดนีเซียจะไม่ได้รับผลกระทบจากการเก็งกำไรต่างๆ

ด้านรัฐบาลมาเลเซียชี้ วิกฤติ Silicon Valley Bank ของสหรัฐเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สร้างความเสี่ยงในวงจำกัดกับธนาคารในมาเลเซีย ทำให้เกิดความกลัวจะลุกลามมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นายสตีเวน ซิม รัฐมนตรีช่วยคลังมาเลเซีย กล่าวต่อรัฐสภา ว่า ได้ประเมินผลกระทบเหตุการณ์ดังกล่าวจะส่งผล "น้อยมากและอยู่ในวงจำกัด" 

"ระบบธนาคารของมาเลเซียยังคงมีความยืดหยุ่น และดำเนินบทบาทตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ" ซิมตอบกระทู้คำถามของสมาชิกสภานิติบัญญัติเกี่ยวกับผลกระทบภายในประเทศมาเลเซียจากวิกฤติ SVB

เหตุการณ์ล่มสลายของซิลิคอน วัลเลย์ แบงก์ ในวันศุกร์ (10 มี.ค.) ซึ่งเป็นการบริหารที่ความล้มเหลวของธนาคารสหรัฐครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤติการเงินในปี 2551

อย่างไรก็ตาม ตลาดและหน่วยงานด้านการเงินทั่วโลกอยู่ในภาวะได้เปรียบ โดยผู้ถือเงินฝากในสหรัฐมองหาความปลอดภัยของธนาคารขนาดใหญ่ ท่ามกลางสถาบันการเงินขนาดเล็กพากันแสดงความกังวลเพิ่มขึ้นต่อสถานะทางการเงิน และโอกาสที่จะเกิดความล้มเหลวขึ้นได้

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์