‘ดาวอังคาร’ ไม่ใช่ที่อาศัยมนุษย์ นี่คือเหตุผลไม่อาจอยู่รอดเกิน 4 ปี

‘ดาวอังคาร’ ไม่ใช่ที่อาศัยมนุษย์ นี่คือเหตุผลไม่อาจอยู่รอดเกิน 4 ปี

ช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีการพูดถึงสักวันหนึ่ง มนุษย์จะไปอาศัยอยู่บน “ดาวอังคาร” และไม่นานมานี้ “อีลอน มัสก์” คิดการณ์ใหญ่หวังค้นหาที่อยู่ใหม่ ซึ่งเป้าหมายของเขาคือดาวอังคาร

การศึกษาล่าสุดเกี่ยวกับการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตบนดาวเคราะห์สีแดงดวงนี้ อาจไม่ง่ายอย่างที่คุณคิด

ทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแจงเจลิส ประเทศสหรัฐได้ให้คำตอบสองข้อนี้ ได้แก่ 1.ผลกระทบของการได้รับรังสีของอนุภาคดาวเคราะห์ดวงนี้ จะเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อชีวิตมนุษย์หรือไม่ 

2.เวลาที่ปฏิบัติภารกิจที่ดาวอังคาร จะสามารถป้องกันนักบินอวกาศและยานอวกาศจากรังสีนี้ได้หรือไม่ 

นักวิทยาศาสตร์ได้หาคำตอบทั้งสองข้อนี้ โดยใช้แบบจำลองธรณีฟิสิกส์ของการแผ่รังสีอนุภาคระบบสุริยะจักรวาล และจำลองการแผ่รังสีจะส่งผลกระทบกับมนุษย์และยานอวกาศ

ข่าวดีของคำตอบในการศึกษานี้คือ "ไม่" และ "ใช่"  ตามลำดับ

พวกเขายังตั้งข้อสังเกตอีกว่าสิ่งนี้จะขึ้นอยู่กับช่วงเวลาของภารกิจเป็นส่วนใหญ่เช่นกัน

นักวิจัยอ้างว่าเวลาที่ดีที่สุดในการออกจากโลกคือ ช่วงเวลาที่ระบบสุริยะกำลังผ่าน "จุดสูงสุด"

นี่เป็นเพราะในช่วง ค่าสูงสุดของดวงอาทิตย์ มีอนุภาคอันตรายที่สุดจะถูกหักเหไปยังทิศทางอื่น ทำให้ช่วงเวลานั้น นักบินอวกาศจะไม่ได้รับอันตรายจากรังสีที่รุนแรงที่สุด 

อย่างไรก็ตาม ข่าวร้ายก็คือผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้มนุษย์และสิ่งมีชีวิตใช้เวลาไม่เกิน ปีในภารกิจใดๆ ก็ตามบนดาวเคราะห์ดวงนี้ เพราะรังสีอันตรายยากจะทนทานได้