‘สหรัฐ’ ชู ‘ไทย’ ผู้นำวิทยาศาสตร์ หนุนนวัตกรรมขยายธุรกิจ

‘สหรัฐ’ ชู ‘ไทย’ ผู้นำวิทยาศาสตร์ หนุนนวัตกรรมขยายธุรกิจ

‘สหรัฐ’ ชู ‘ไทย’ ผู้นำวิทยาศาสตร์ หนุนนวัตกรรมขยายธุรกิจ โดยรัฐบาลสหรัฐวางแผนจะร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับรัฐบาลใหม่ของไทย ด้วยการต่อยอดความร่วมมือที่มีอยู่ร่วมกัน และจุดประกายแนวคิดใหม่ ๆ ในอนาคต

สหรัฐเดินหน้าผลักดันความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับไทย ที่มุ่งสร้างนวัตกรรม พัฒนาธุรกิจ และเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจระหว่างกัน และรวมไปถึงดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมโลก ตั้งแต่มหาสมุทร ชั้นบรรยากาศและอวกาศร่วมกัน ซึ่งการประชุมคณะกรรมการร่วมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Joint Committee Meeting on Science and Technology: JCM) ระหว่างสหรัฐ - ไทยครั้งที่ 3 จัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นหนึ่งในแนวทางที่สหรัฐส่งเสริมความร่วมมือระดับทวิภาคีกับไทย ในฐานะผู้นำด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับภูมิภาคอาเซียน รวมถึงเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างวงการวิทยาศาสตร์ของสองประเทศ

เจนนิเฟอร์ อาร์. ลิตเทิลจอห์น รักษาการผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ ซึ่งดูแลสำนักงานกิจการมหาสมุทร และกิจการสิ่งแวดล้อมและวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศให้สัมภาษณ์ว่า สหรัฐและไทยได้ยกระดับความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างกัน หลังจากที่โรคระบาดใหญ่ในทั่วโลกเป็นอุปสรรคต่อการเดินทางอยู่หลายปี 

 

‘สหรัฐ’ ชู ‘ไทย’ ผู้นำวิทยาศาสตร์ หนุนนวัตกรรมขยายธุรกิจ

 

“สหรัฐไม่เพียงขับเคลื่อนสัมพันธ์สองประเทศสองด้วยการทำงานร่วมกัน แต่ยังจะสร้างอนาคตที่แข็งแกร่งสำหรับพลเมืองทุกคนอีกด้วย การประชุมคณะกรรมการร่วมฯ ปีนี้นับเป็นครั้งที่ 3 มุ่งเน้นพลังงานสะอาด สุขภาพ ความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม สะเต็มศึกษา การเป็นผู้ประกอบการ และนวัตกรรม” เจนนิเฟอร์กล่าว

การทูตวิทย์-เทคโนฯ หนุนพัฒนาธุรกิจ

การประชุมคณะกรรมการร่วมฯ เป็นเพียงหนึ่งในหลายเป้าหมายที่ระบุไว้ในความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และวิชาการไทย-สหรัฐอเมริกา ซึ่งลงนามไว้เมื่อ 10 ปีที่แล้วในปี 2556 โดยดำเนินการเพื่อขยายและเสริมสร้างความตกลงนี้ ดั่งจะเห็นว่า มีนักวิทยาศาสตร์สหรัฐ และไทยร่วมมือกันในหลายโครงภายใต้กรอบดังกล่าว อาทิ นักวิจัยของอเมริกันและมหาวิทยาลัยมหิดลกำลังทำงานร่วมกันเพื่อป้องกันโรคระบาดใหญ่ครั้งต่อไปด้วยการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพของสัตว์ มนุษย์ และสิ่งแวดล้อม 

นอกจากนี้ ห้องปฏิบัติการ Pacific Northwest National Laboratory ที่สหรัฐกำลังทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในการพัฒนาแผนงานเพื่อบรรลุเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย หนึ่งในความร่วมมือสุดล้ำระหว่างสหรัฐและไทย

‘สหรัฐ’ ชู ‘ไทย’ ผู้นำวิทยาศาสตร์ หนุนนวัตกรรมขยายธุรกิจ

“สิ่งที่ดิฉันชอบเป็นพิเศษคือ การทำงานร่วมกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และนาซ่า เพื่อศึกษาผลึกเหลวในอวกาศซึ่งสามารถนำมาใช้ในหน้าจอโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ได้ ถือเป็นเรื่องใหม่และล้ำสมัยล่าสุด” เจนนิเฟอร์กล่าว

เปิดโอกาสสตรีโชว์ศักยภาพ STEM

ในฐานะที่เจนนิเฟอร์อยู่ในวงการสะเต็ม (STEM) และจบปริญญาสาขาวิศวกรรมเคมี เธอทราบดีว่าวงการนี้ต้องการผู้หญิงในแวดวงวิทยาศาสตร์มากกว่านี้ หากอยากจะแก้ไขปัญหาสำคัญ ๆ ของโลก ซึ่งสหรัฐเปิดกว้างและให้การสนับสนุนผู้หญิงในแวดวงสะเต็ม โดยร่วมมือกับไทยเพื่อเพิ่มจำนวนสตรีในวงการสะเต็ม ด้วยการส่งเสริมสตรี 150 คนที่ทำงานในภาคพลังงานเพื่อให้ผู้หญิงจากภาคการศึกษา เอกชน ประชาสังคม และภาครัฐ ได้บุกเบิกโซลูชันด้านพลังงานสะอาด   สหรัฐสนับสนุนผู้หญิงในแวดวงสะเต็ม
 

ลดช่องว่างทางเพศใน ศก.ดิจิทัล

เจนนิเฟอร์เล่าว่า สหรัฐสนับสนุนสตรีไทยที่ทำงานเพื่อลดช่องว่างทางเพศในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล รวมถึงในวงการวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและภูมิอากาศ ผ่านโครงการแลกเปลี่ยนมากมาย ในเดือนนี้ สหรัฐได้จัดเวิร์กช็อปด้านเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมที่เชียงใหม่ โดยเน้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาดที่นำสมัย เรายังทำงานร่วมกับสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) ในโครงการต่าง ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสด้านสะเต็มศึกษาสำหรับนักเรียนผู้พิการอีกด้วย

“เราอยากสร้างระบบไว้รองรับความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ระดับทวิภาคีในอนาคต จึงต่อยอดการดำเนินงานด้านความร่วมมือทางการศึกษาและวิทยาศาสตร์ โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญเรื่องสะเต็มศึกษาจากมูลนิธิ National Science Foundation ของสหรัฐ มาทำงานกับหน่วยงานการศึกษาในไทยเพื่อช่วยพัฒนาหลักสูตรสะเต็มศึกษา” รักษาการผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐกล่าว

‘สหรัฐ’ ชู ‘ไทย’ ผู้นำวิทยาศาสตร์ หนุนนวัตกรรมขยายธุรกิจ

สหรัฐวางแผนร่วมมือรัฐบาลใหม่ไทย

รัฐบาลสหรัฐวางแผนจะร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับรัฐบาลใหม่ของไทย ด้วยการต่อยอดความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีอยู่ร่วมกันมากมาย และหวังว่าการมาเยือนครั้งนี้จะช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างแวดวงวิทยาศาสตร์ทั้งสอง ตลอดจนจุดประกายแนวคิดใหม่ ๆ สำหรับความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมในอนาคต 

‘สหรัฐ’ ชู ‘ไทย’ ผู้นำวิทยาศาสตร์ หนุนนวัตกรรมขยายธุรกิจ

ดิฉันทราบว่าเรามีแผนความร่วมมือที่น่าสนใจในอนาคตอันใกล้แล้ว ตัวอย่างเช่น เรากำลังทำงานร่วมกับอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อขยายการอบรมและสนับสนุนผู้ประกอบการและธุรกิจขนาดเล็ก เรายังร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) และบริษัทอเมซอนของสหรัฐ ในการจัดเวิร์กช็อปที่เชียงใหม่ เพื่อช่วยผู้ประกอบการในภาคเหนือของไทยให้เข้าถึงตลาดออนไลน์ด้วย

ส่วนความร่วมมือกับภาคเอกชนไทย ซึ่งเจนนิเฟอร์มองว่า ทรู ดิจิทัล พาร์ค เป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีและธุรกิจสตาร์ตอัปที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น สหรัฐจะเปิดตัวโครงการ Academy for Women Entrepreneurs สำหรับผู้ประกอบการสตรีที่มีความสามารถในไทยเร็วๆ นี้ เพื่อให้ความรู้ สร้างเครือข่าย และทำให้ผู้เข้าร่วมสามารถเข้าถึงทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับริเริ่มและขยายธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ