วัดกำลัง ‘ฮูตี’ โดดร่วมสนามรบ ป้องกาซา ตอบโต้ ‘อิสราเอล’

วัดกำลัง ‘ฮูตี’ โดดร่วมสนามรบ ป้องกาซา ตอบโต้ ‘อิสราเอล’

“กองกำลังติดอาวุธฮูตี” ประกาศร่วมสนามรบและอ้างเป็นผู้ลงมือโจมตีทางอากาศ “อิสราเอล” หลังกองทัพเทลอาวีฟสกัดไว้ได้ แล้วสถานการณ์จะซับซ้อนและรุนแรงขึ้นอย่างไร

Key of Points 

  • ฮูตีประกาศปกป้องพี่น้องในปาเลสไตน์ที่ถูกข่มเหง และยังขู่จะโจมตีอิสราเอล ด้วยขีปนาวุธและโดรนเพิ่ม
  • กองกำลังสำคัญของอิหร่านนอกประเทศ ที่เรียกว่า “ฝ่ายอักษะต่อต้าน” ยังมีสายสัมพันธ์กับกลุ่มฮามาส รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ กองกำลังติดอาวุธในเลบานอน กลุ่มกลุ่มติดอาวุธในอิรัก
  • กลุ่มฮูตีก้าวเข้าสู่สนามรบ แม้เป็นในเชิงสัญลักษณ์ แต่เป็นการส่งข้อความที่ชัดเจนให้อิสราเอลรู้ว่า ขณะนี้มีกองกำลังใหม่ได้ปรากฏตัวขึ้นบนความขัดแย้งแล้ว
  • อิสราเอลเริ่มมองกลุ่มฮูตีเป็นภัยคุกคามในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งในปี 2563 อิสราเอลได้ติดตั้งแบตเตอรีไอรอนโดมใกล้กับเมืองไอลัต ทางตอนใต้ของประเทศ เพราะเกรงถูกตอบโต้ หลังอิสราเอลได้สังหารนักวิทยาศาสตร์ด้านนิวเคลียร์ที่มีชื่อเสียงของอิหร่าน

 

กองกำลังติดอาวุธฮูตี (Houthi) ในเยเมนอ้างว่าได้พยายามโจมตีพื้นที่ทางตอนใต้ของอิสราเอลเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (31ต.ค.) โดยยิงขีปนาวุธชุดใหญ่ รวมถึงส่งโดรนมุ่งทำลาย มีเป้าหมายพื้นที่ในอิสราเอล

“ฮูตี” เบื้องหลังปฏิบัติการตอบโต้

นิวยอร์กไทมส์รายงานว่า กลุ่มนี้ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่าน ซึ่งพยายามโจมตีหวังตอบโต้ “การรุกรานอันโหดร้าย” ของชาวอเมริกันเชื้อสายอิสราเอล ในฉนวนกาซา ซึ่งยาห์ยา ซาเรีย โฆษกกองทัพฮูตี โพสต์บนโซเชียลมีเดียว่า นับเป็นปฏิบัติการครั้งที่สามของกลุ่มฮูตี เพื่อปกป้องพี่น้องในปาเลสไตน์ที่ถูกข่มเหง นอกจากนี้กลุ่มฮูตียังขู่ว่าจะโจมตีด้วยขีปนาวุธและโดรนเพิ่ม

 

กองทัพอิสราเอลเผยว่า ระบบป้องกันทางอากาศสามารถสกัดขีปนาวุธในบริเวณพื้นที่ทะเลแดง รวมทั้งภัยคุกคามอื่นๆ ทางอากาศที่อาจสร้างความไม่สงบในดินแดนอิสราเอล

แต่กองทัพอิสราเอลไม่อาจระบุว่า ใครอยู่เบื้องหลังการโจมตี ขณะที่เจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงกลาโหมสหรัฐระบุว่า กองทัพอิสราเอลได้สกัดขีปนาวุธที่ยิงมาจากเยเมน มีระยะทางไกลประมาณ 1,200 ไมล์

เป็นมากกว่ากลุ่มติดอาวุธในพื้นที่

นักวิเคราะห์ชาวเยเมนกล่าวว่า แม้ปฏิบัติการโจมตีนี้จะถูกขัดขวาง นั่นแสดงให้เห็นถึงขีดความสามารถของกลุ่มฮูตีที่เพิ่มขึ้น ซึ่งกลุ่มนี้ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านที่ได้เข้ายึดเมืองซานา เมืองหลวงของเยเมนในปี 2557 แต่ต้องล้มเหลว เมื่อกลุ่มพันธมิตรทางทหารนำโดยซาอุดีอาระเบียขัดขวางไว้ได้

ปัจจุบัน กลุ่มฮูติปกครองพื้นที่ส่วนใหญ่ทางตอนเหนือของเยเมน นอกจากจะเป็นกองกำลังสำคัญของอิหร่านนอกประเทศ ที่เรียกว่า “ฝ่ายอักษะต่อต้าน” ยังมีสายสัมพันธ์กับกลุ่มฮามาส รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ กองกำลังติดอาวุธในเลบานอน กลุ่มกลุ่มติดอาวุธในอิรัก

 

อ่านเกม พันธมิตรกลุ่มติดอาวุธ

“กลุ่มฮูตีก้าวเข้าสู่สนามรบ แม้เป็นในเชิงสัญลักษณ์ แต่เป็นการส่งข้อความที่ชัดเจนให้อิสราเอลรู้ว่า ขณะนี้มีกองกำลังใหม่ได้ปรากฏตัวขึ้นบนความขัดแย้งแล้ว เพื่อต่อสู้กับอิสราเอลในภูมิภาคนี้” อาเหม็ด นากี นักวิเคราะห์อาวุโสด้านวิกฤตการณ์ระหว่างประเทศ โดยเขาชี้ว่า การวางแนวรบของพันธมิตรกลุ่มติดอาวุธ ก็เพื่อทำให้อิสราเอลเกิดความสับสน และหวังเข้าขัดขวางการปฏิบัติการทางทหารภาคพื้นดินในฉนวนกาซา

เมื่อชาวปาเลสไตน์ที่โดนรังแกและผู้เกลียดชังอิสราเอลเป็นเรื่องหลักที่ผลักดันกลุ่มฮูตีต้องเข้าร่วมต่อสู้ นับตั้งแต่กองทัพอิสราเอลเริ่มทิ้งระเบิดฉนวนกาซาเพื่อตอบโต้การโจมตีกลุ่มฮามาส เมื่อวันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา

ในครั้งนั้นบรรดาผู้นำฮูตีออกมาขู่ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อร่วมการต่อสู้ และเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว อับดุลอาซิซ บิน ฮับตูร์ นายกรัฐมนตรีของกลุ่มฮูตีระบุว่า กลุ่มอาจโจมตีเรืออิสราเอลในทะเลแดง

"อิสราเอล" หวาดหวั่น หรือไม่

เมื่อปีที่แล้ว กลุ่มฮูตีอ้างปฏิบัติการโจมตีในกรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตั้งอยู่ห่างจากตอนเหนือของเยเมน กว่า 700 ไมล์ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย

“อิสราเอลเริ่มมองกลุ่มฮูตีเป็นภัยคุกคามในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา” แดเนียล โซเบลแมน นักวิจัยโครงการริเริ่มตะวันออกกลางของโรงเรียนฮาร์วาร์ด เคนเนดี กล่าวว่า ในปี 2563 อิสราเอลได้ติดตั้งแบตเตอรีไอรอนโดมใกล้กับเมืองไอลัต ทางตอนใต้ของประเทศ เพราะเกรงถูกตอบโต้ หลังอิสราเอลได้สังหารนักวิทยาศาสตร์ด้านนิวเคลียร์ที่มีชื่อเสียงของอิหร่าน

สร้างความเสี่ยงขยายความรุนแรง

แม้ว่าขีดความสามารถทางการทหารของกลุ่มฮูตีจะเพิ่มขึ้น แต่พื้นที่ส่วนใหญ่ที่ฮูตีปกครองอยู่เป็นดินแดนยากจนข้นแค้น และเคยผ่านสงคราม ในทางตรงข้าม กองทัพอิสราเอลยังคงรักษาระบบป้องกันภัยทางอากาศด้วยการใช้เทคโนโลยีชั้นสูง รวมถึงได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐ

อีกด้านหนึ่งเป็นที่รู้กันดีว่า กลุ่มฮูตีมีความขัดแย้งกับซาอุดีอาระเบีย ซึ่งตั้งแต่ปี 2558 - 2564 กลุ่มฮูตีได้ยิงขีปนาวุธและส่งโดรนโจมตีซาอุฯ มากกว่า 1,000 ลำ แม้ส่วนใหญ่ถูกทำลายสกัดได้ แต่ทำให้มีผู้เสียชีวิต 120 คนตามข้อมูลของทางการซาอุฯ

เมื่อเทียบกันแล้ว การโจมตีทางอากาศที่ดำเนินการโดยกลุ่มพันธมิตรนำโดยซาอุฯ ในเยเมน ส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ แต่ได้คร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 20,000 คน ซึ่งสร้างความเสียหายชีวิตและทรัพย์สินมากกว่านัก

ที่มา : นิวยอร์กไทมส์ , รอยเตอร์