‘อินเดีย’ แซงหน้าฮ่องกง ขึ้นแท่นตลาดหุ้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลก
‘อินเดีย’ เติบโตแซงหน้าฮ่องกง ขึ้นแท่นตลาดหุ้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลก สะท้อนเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตงต่อเนื่อง จากตัวเลขประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ฮ่องกงถูกหั่นเครดิตเศรษฐกิจจาก Moody’s เป็น”ติดลบ” และในปีนี้ฮ่องกงถือว่าทำผลงานได้แย่ที่สุดในตลาดหุ้นเอเชีย
Keypoint :
- สิ้นเดือนพฤศจิกายน ตลาดหลักทรัพย์แห่งชาติของอินเดียมีมูลค่า 3.989 ล้านล้านดอลลาร์ เหนือกว่าตลาดหุ้นฮ่องกง ที่มีมูลค่า 3.984 ล้านล้านดอลลาร์
- ดัชนี Nifty 50 ของอินเดียพุ่งขึ้นเกือบ 16% จนถึงปีนี้ และเพิ่มขึ้นเป็นปีที่ 8 ติดต่อกัน
- ขณะที่ดัชนี Hang Seng ของฮ่องกงร่วงลง 17% จากปีก่อน ทําให้เป็นตลาดหุ้นในเอเชีย-แปซิฟิกที่มีผลการดําเนินงานแย่ที่สุด
สำนักข่าว ซีเอ็นบีซี (CNBC) รายงานว่ามูลค่าตลาดหุ้นของอินเดียแซงหน้าฮ่องกงจนกลายเป็นที่เรียบร้อยแล้วทำให้ตลาดหุ้นอินเดียขึ้นแท่นใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลก ซึ่งสะท้อนเกี่ยวกับแนวโน้มในแง่ดีถึงเศรษฐกิจของประเทศเติบโตขึ้น
ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวมของตลาดหลักทรัพย์แห่งชาติของอินเดียอยู่ที่3.989 ล้านล้านดอลลาร์ เทียบกับ 3.984 ล้านล้านดอลลาร์ของฮ่องกง
และดัชนี Nifty 50 ของอินเดียทําสถิติสูงสุดอีกครั้ง เพิ่มขึ้น 16% จนถึงปีนี้และให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นปีที่ 8 แล้ว ในทางตรงกันข้าม ดัชนี Hang Seng มาตรฐานของฮ่องกงร่วงลง 17% เมื่อเทียบกับปีก่อน
ทำให้อินเดียเป็นตลาดที่โดดเด่นในปีนี้ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่เป็นส่วนช่วยให้สภาพคล่องเพิ่มขึ้น จากการเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก
ทั้งนี้การเลือกตั้งทั่วไปในปีหน้า อาจกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงต้นปี ซึ่งนักวิเคราะห์ นักยุทธศาสตร์ HSBC คาดการณ์ว่าอาจ Bharatiya Janata พรรคชาตินิยมอาจได้รับชัยชนะอีกครั้ง
“สําหรับการเลือกตั้งทั่วไป โพลความคิดเห็นและการเลือกตั้งระดับรัฐล่าสุดระบุว่ารัฐบาลที่นําโดย BJP อาจได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด ซึ่งอาจกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงสามถึงสี่เดือนแรกของปีตามความคาดหวังของความต่อเนื่องของนโยบาย”
นักวิเคราะห์จาก HSBC กล่าวว่าธนาคาร การดูแลสุขภาพ และพลังงานเป็นกลุ่มการลงทุนที่ต้องจับตามองสําหรับปีหน้า และกลุ่มต่างๆ เช่น รถยนต์ ผู้ค้าปลีก อสังหาริมทรัพย์ และโทรคมนาคมก็อยู่สถานะที่มีแนวโน้มเติบโตค่อนข้างดีในปี 2567
ฮ่องกงเสียตำแหน่ง
ขณะที่ดัชนี Hang Seng ของฮ่องกงกำลังลดลงเป็นปีที่ 4 และเป็นดัชนีที่แย่ที่สุดในตลาดทุนในเอเชียแปซิฟิก
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว Moody’s ได้ลดแนวโน้มฮ่องกงจาก มี ‘เสถียรภาพ’ (Stable) ไปสู่ระดับ ‘ติดลบ’ (Negative) โดยอ้างถึงความสัมพันธ์ทางการเงิน การเมือง สถาบัน และเศรษฐกิจของเมืองกับจีนแผ่นดินใหญ่การลดระดับนั้นเกิดขึ้นไม่นานหลังจากที่ Moody’s ลดแนวโน้มการจัดอันดับเครดิตของรัฐบาลจีน
ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2566 รัฐบาลฮ่องกงคาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโต 3.2% ในปี 2566 โดยลดแนวโน้มการเติบโตของ GDP จากการคาดการณ์ 4% เป็น 5% ในเดือนสิงหาคม
รัฐบาลฮ่องกงอ้างถึงความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นและภาวะการเงินที่ตึงตัวยังคงส่งผลกระทบต่อการลงทุน การส่งออกสินค้า และความเชื่อมั่นในการบริโภค ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคก็ได้รับผลกระทบในฮ่องกงเช่นกัน
อ้างอิง CNBC