กูรูชี้ ดอกเบี้ยนโยบายขาลง ดันราคาทองคำขึ้นแตะ 2,300 ดอลลาร์ต่อออนซ์
นักลงทุนจับตาถ้อยแถลงของ เจอโรม พาวเวล ประธานเฟด ในสัปดาห์นี้ อาจทำให้ราคาทองคำทุบนิวไฮเดิมที่ 2,100 ดอลลาร์ หลังพุ่งต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2 ด้านนักวิเคราะห์มองว่า เมื่อเฟดเริ่มลดดอกเบี้ย จะดันราคาทองคำขึ้นแตะ 2,300 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้
เนื่องจากนักลงทุนมองว่า ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) Federal Reserve จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนตามรายงานข้อมูลของสหรัฐฯ ทำให้นักลงทุนจับตาถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด ในสัปดาห์นี้
จากปัจจัยหลายอย่างขณะนี้ อาจทำให้ราคาทองคำสามารถทุบสถิตินิวไฮเดิมได้ หลังจากที่ทองคำพุ่งเหนือ 2,100 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในวันจันทร์ ซึ่งเข้าใกล้นิวไฮเดิมที่ 2,135.39 ดอลลาร์
ราคาทองคำแท่งในประเทศพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์
สัปดาห์ก่อนราคาทองคำพุ่งต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2 โดยเฉพาะวันศุกร์ราคาทองคำปรับขึ้นแรงกว่า 38 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน
แต่ราคาทองคำแท่งภายในประเทศพุ่งสูงขึ้นในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 35,300 บาท โดยค่าเงินบาทอ่อนค่าในช่วงที่ผ่านมา หลังจากที่วานนี้ (4 มี.ค.) ราคาทองคำไทย ปรับขึ้น 2 ครั้ง ขึ้นครั้งละ 50 บาท จนทำสถิติใหม่ ทำให้ตลาดคาดการณ์คงกันว่า “ราคาทองไทย” อยู่ในลักษณะ "แนวโน้มทิศทางขาขึ้นอย่างสมบูรณ์"
ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่า กว่า 4.49% นับตั้งแต่ต้นปี จึงทำให้หนุนราคาทองคำแท่งในประเทศให้ยังทรงตัวในระดับสูง ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อราคาทองแท่งในประเทศที่ผ่านมา
เฟดลดดอกเบี้ย ดันราคาทองคำแตะ 2,300 ดอลลาร์
ไรอัน แมคเคย์ (Ryan McKay)นักยุทธศาสตร์จาก TD Securities มองว่า ราคาทองคำจะสามารถขยับสูงขึ้นได้อีกจนไปแตะที่ 2,300 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังจากที่เฟดเริ่มลดอัตราดอกเบี้ย
โดยทั่วไปแล้วนักลงทุนทางการเงินจะเริ่มซื้อทองคำก่อนการปรับลดอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากทองคำและเงิน มีแนวโน้มที่จะทำงานได้ดีในช่วงเศรษฐกิจอัตราดอกเบี้ยต่ำ
และนักลงทุนเกือบสามในห้า เดิมพันว่าเฟดใกล้จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ต้นปี 2563 แม้ว่าความชัดเจนในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐยังไม่ชัดเจนนัก แต่ความคาดหวังที่มากขึ้น เกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ช่วยให้ราคาทองคำยืนเหนือ 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ตั้งแต่กลางเดือนธันวาคม
เรียกได้ว่านักลงทุนเข้าลงทุนในทองคำ ต่างจากการลงทุนแบบ SPAC และคริปโท ในฐานะสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยง ทั้งในสถานการณ์ต่างๆ นอกเหนือจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด คือ ช่วงเวลาที่เศรษฐกิจและการเมืองมีความไม่แน่นอน ทั้งการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐที่กำลังจะเกิดขึ้น และสงครามฝั่งในยูเครนและฉนวนกาซาที่กำลังแบ่งแยกขั้วอำนาจ
อ้างอิง bloomberg