การแข่งขันนวัตกรรมและผู้ประกอบการจีน-อาเซียน ครั้งที่ 2 ปิดฉากสมบูรณ์
การแข่งขันนวัตกรรมและผู้ประกอบการจีน-อาเซียน ครั้งที่ 2 ที่เป็นการแข่งขันส่งเสริมการแลกเปลี่ยนนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระหว่างจีนและประเทศในกลุ่มอาเซียน ได้ปิดฉากลงอย่างสมบูรณ์ ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม การแข่งขันนวัตกรรมและผู้ประกอบการจีน-อาเซียน ครั้งที่ 2 ได้ปิดฉากลงอย่างสมบูรณ์ ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
การแข่งขันรายการนี้ เป็นหนึ่งในกิจกรรมสำคัญประจำปีในการแลกเปลี่ยนระหว่างจีน-อาเซียน ซึ่งจัดขึ้นโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีน พร้อมด้วยสำนักเลขาธิการอาเซียน กรมความร่วมมือระหว่างประเทศภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีน คณะกรรมการนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาเซียน และกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเขตปกครองตนเองกว่างซี จ้วง (ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีจีน-อาเซียน) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงความร่วมมือระหว่างจีนและประเทศในกลุ่มอาเซียน ยกระดับขีดความสามารถด้านนวัตกรรมระดับภูมิภาคระหว่างจีน-อาเซียน พร้อมส่งเสริมการพัฒนาความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างแข็งขัน
การแข่งขันจัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ปลุกพลังดิจิทัล ร่วมแบ่งปันอนาคต” โดยมุ่งเน้นไปที่ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับภูมิภาคที่กำลังเป็นจุดสนใจในปัจจุบัน ให้ความสำคัญด้านเศรษฐกิจดิจิทัล เปิดรับผลงานจากมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์ องค์กร และสมาคมทั่วไปในภาคสังคมจากทั้งจีนและประเทศในกลุ่มอาเซียน เป็นการแข่งขันที่ได้รับความสนใจและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน
โดยนับตั้งแต่เปิดตัวงานในเดือนกรกฎาคม 2023 เป็นต้นมามีโครงการมาลงทะเบียนเข้าร่วมการแข่งขันมากกว่า 280 โครงการ หลังจากการแข่งขันที่ดุเดือด โครงการนวัตกรรมและผู้ประกอบการที่โดดเด่นรวม 20 โครงการที่โดดเด่นจากประเทศจีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม กัมพูชา บรูไน และประเทศและภูมิภาคอื่น ๆ ก็ได้ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศในที่สุด
ณ สนามแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ทีมที่เข้าร่วมจะถูกแบ่งออกเป็นสองสาย ได้แก่ กลุ่มทีมและกลุ่มองค์กร โดยจะต้องตอบคำถามในรูปแบบ “7+5” เพื่อสาธิตคุณลักษณะและข้อดีของโครงการของพวกเขาอย่างรอบด้าน หลังจากการให้คะแนนในหลาย ๆ ด้าน โดยทีมผู้เชี่ยวชาญแล้ว ในที่สุดก็ได้คัดเลือกผู้ชนะรางวัลที่หนึ่ง สอง และสาม และดาวเด่นการสร้างสรรค์ 7 ราย เป็นที่เรียบร้อย
รายงานเผยว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เขตกว่างซีมีส่วนร่วมในแผนความร่วมมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีน-อาเซียน และแผนปฏิบัติการนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” อย่างจริงจัง โดยจัดการแข่งขันนวัตกรรมและผู้ประกอบการจีน-อาเซียน ทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการกระชับความร่วมมือด้านนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างจีนและอาเซียนให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในอนาคต กว่างซีจะยังคงบทบาทในฐานะสะพานเชื่อมและส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างจีนและอาเซียนในด้านบุคลากร และด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมส่งเสริมการสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” การสร้างประชาคมจีน-อาเซียนที่ใกล้ชิดและรุ่งโรจน์ยิ่งขึ้นอีก