ท่วมหนักสุด 'ในรอบ 3 ทศวรรษ' พายุบอริสถล่มยุโรป ผลกระทบจากโลกร้อน

ท่วมหนักสุด 'ในรอบ 3 ทศวรรษ' พายุบอริสถล่มยุโรป ผลกระทบจากโลกร้อน

‘พายุบอริส’ ก่อคลื่นความเสียหายรุนแรงถล่มยุโรปกลางและตะวันออก ฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน เกิดน้ำท่วมฉับพลันหลายประเทศ ผู้คนสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน สาธารณูปโภคเสียหายหนัก

จากหย่อมความกดอากาศต่ำที่ชื่อว่า “พายุบอริส” ส่งผลให้มีฝนตกหนักจากออสเตรียไปจนถึงโรมาเนีย จนเกิด “น้ำท่วมครั้งเลวร้ายที่สุดในเกือบสามทศวรรษ” ในพื้นที่ได้รับผลกระทบหนักในสาธารณรัฐเช็กและโปแลนด์

พายุบอริสยังคงสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงแก่ภูมิภาคยุโรปกลางและตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรมาเนียและโปแลนด์ ซึ่งเผชิญกับภาวะน้ำท่วมฉับพลัน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและสูญหายจำนวนมาก ล่าสุด พบผู้เสียชีวิตเพิ่มอีกหนึ่งรายในโปแลนด์ และก่อนหน้านี้มีรายงานผู้เสียชีวิตในโรมาเนียถึง 4 ราย และนักดับเพลิงชาวออสเตรียเสียชีวิตระหว่างปฏิบัติหน้าที่ คาดการณ์ว่าสภาพอากาศเลวร้ายจะยังคงยืดเยื้อต่อไปอีกอย่างน้อย 1 วัน ทำให้สถานการณ์น่าเป็นห่วงยิ่งขึ้น

ท่วมหนักสุด \'ในรอบ 3 ทศวรรษ\' พายุบอริสถล่มยุโรป ผลกระทบจากโลกร้อน - ภาพจากโดรนของพื้นที่น้ำท่วมในเมืองกลูโชลาซี ประเทศโปแลนด์ (ภาพ: Reuters) -

ท่วมหนักสุด \'ในรอบ 3 ทศวรรษ\' พายุบอริสถล่มยุโรป ผลกระทบจากโลกร้อน - ภาพบ้านที่ถูกน้ำท่วมในเมืองเยเซนิก สาธารณรัฐเช็ก (ภาพ: Reuters) -

ท่วมหนักสุด \'ในรอบ 3 ทศวรรษ\' พายุบอริสถล่มยุโรป ผลกระทบจากโลกร้อน - ภาพเศษซากที่อาคารเสียหายในเมืองเยเซนิก สาธารณรัฐเช็ก หลังเกิดน้ำท่วมจากฝนตกหนัก (ภาพ: Reuters) -

ในขณะนี้ ภัยพิบัติน้ำท่วมในยุโรปกลางยังคงสร้างความเสียหายอย่างต่อเนื่อง หลังจากฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน ทำให้แม่น้ำหลายสายในสาธารณรัฐเช็กเอ่อล้นตลิ่ง ผู้คนจำนวนมากต้องอพยพออกจากบ้านเรือน ขณะที่สภาพอากาศเลวร้ายยังคงเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นฟู แม้ว่าสถานการณ์ในโรมาเนียซึ่งได้รับผลกระทบหนักที่สุดก่อนหน้านี้จะเริ่มคลี่คลายลงบ้างแล้ว

บ้านหลายพันหลังได้รับความเสียหายในช่วงสุดสัปดาห์ สะพานถูกน้ำพัดไป และมีผู้ได้รับผลกระทบจากการตัดกระแสไฟฟ้าอย่างน้อย 250,000 ครัวเรือน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในสาธารณรัฐเช็ก

ท่วมหนักสุด \'ในรอบ 3 ทศวรรษ\' พายุบอริสถล่มยุโรป ผลกระทบจากโลกร้อน - ภาพบ้านที่ถูกน้ำท่วมในชุมชนเพเชีย เมืองกาลาตี ประเทศโรมาเนีย หลังจากฝนตกหนักจนเกิดน้ำท่วม (ภาพ: Reuters) -

นอกจากนี้ สะพานเก่าแก่ในเมือง Glucholazy ใกล้ชายแดนเช็ก พังครืนลงอย่างกะทันหัน ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องสั่งอพยพประชาชนในยามเช้ามืดวันอาทิตย์ ขณะเดียวกัน สื่อท้องถิ่นรายงานว่าสะพานอีกแห่งหนึ่งในเมืองภูเขา Stronie Slaskie ก็พังทลายลงเช่นกัน สอดคล้องกับรายงานของหน่วยงานอุตุนิยมวิทยาที่ระบุว่ามีเขื่อนแตกในพื้นที่

ไม่เพียงเท่านั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังเร่งค้นหาผู้สูญหาย 3 ราย หลังจากรถที่พวกเขานั่งมาพลัดตกแม่น้ำ Staric เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา บริเวณใกล้หมู่บ้าน Lipova-lazne ห่างจากกรุงปรากประมาณ 235 กิโลเมตร เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากพื้นที่ประสบฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน โดยมีปริมาณน้ำฝนสะสมสูงถึง 500 มิลลิเมตร นับตั้งแต่วันพุธ

ในกรุงบูดาเปสต์ของฮังการี เจ้าหน้าที่ได้ปรับเพิ่มการคาดการณ์ระดับน้ำขึ้นของแม่น้ำดานูบในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์นี้ให้สูงกว่า 8.5 เมตร ซึ่งใกล้เคียงกับสถิติ 8.91 ในปี 2013

สำหรับ “พายุบอริส” สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงด้วยสองเหตุผลหลัก


ประการแรก: อากาศเย็นจากทางเหนือได้ผสมกับความชื้นที่ดึงขึ้นมาจากน้ำทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำที่อุ่นผิดปกติ

ประการที่สอง: แรงดันอากาศสูงที่กั้นไว้ทั้งสองข้าง ทำให้พายุบอริสติดอยู่ในที่เดิม จนทำให้ฝนตกนานและหนักมากขึ้น

เครือข่ายการกำหนดลักษณะสภาพอากาศของโลกได้สรุปว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ร้อนขึ้น ทำให้ความน่าจะเป็นและความรุนแรงของภัยพิบัติดังกล่าวในยุโรปรุนแรงขึ้น

อ้างอิง: aljazeerabbc