ครบรอบชาตกาล 155 ปี คานธี อินเดียและ UN จัดงานรำลึก 'วันไม่ใช้ความรุนแรงสากล'

ครบรอบชาตกาล 155 ปี คานธี อินเดียและ UN จัดงานรำลึก 'วันไม่ใช้ความรุนแรงสากล'

สถานทูตอินเดียร่วมกับ UNESCAP จัดงานรำลึกเนื่องในวันไม่ใช้ความรุนแรงสากล ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ

สถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทยร่วมกับคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) จัดงานเนื่องในวันไม่ใช้ความรุนแรงสากล ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ (UNCC) กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2567 ซึ่งตรงกับวันครบรอบชาตกาลปีที่ 155 ของท่านมหาตมะคานธี

ในปีพ.ศ. 2550 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้มีมติประกาศให้วันที่ 2 ตุลาคม ของทุกปีเป็นวันไม่ใช้ความรุนแรงสากล ซึ่งเป็นวันครบรอบชาตกาลของท่านมหาตมะคานธี เพื่อเผยแพร่หลักการแห่งสันติภาพ การไม่ใช้ความรุนแรง และความยุติธรรมทางสังคม ผ่านการรณรงค์ด้านการศึกษาและการสร้างความตระหนักรู้แก่สาธารณชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนรุ่นใหม่

ครบรอบชาตกาล 155 ปี คานธี อินเดียและ UN จัดงานรำลึก \'วันไม่ใช้ความรุนแรงสากล\'

งานรำลึกในปีนี้จัดขึ้นโดย นายนาเกช ซิงห์ เอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทยและผู้แทนถาวรคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) และคุณอาร์มิดา ซัลเซียะฮ์ อาลิสจะฮ์บานา เลขาธิการบริหารคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) โดยมีคุณศศิริทธิ์ ตันกุลรัตน์ อธิบดีกรมเอเชียใต้ตะวันออกกลางและแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศแห่งประเทศไทย ให้เกียรติเข้าร่วมงาน รวมถึงเอกอัครราชทูตและคณะทูตานุทูตนานาประเทศ ผู้แทนจากองค์กรระหว่างประเทศและชาวอินเดียพลัดถิ่น

ครบรอบชาตกาล 155 ปี คานธี อินเดียและ UN จัดงานรำลึก \'วันไม่ใช้ความรุนแรงสากล\'

นายนาเกช ซิงห์ เอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย

ครบรอบชาตกาล 155 ปี คานธี อินเดียและ UN จัดงานรำลึก \'วันไม่ใช้ความรุนแรงสากล\' คุณอาร์มิดา ซัลเซียะฮ์ อาลิสจะฮ์บานา เลขาธิการบริหาร UNESCAP

พิธีเริ่มต้นด้วยการวางมาลาที่รูปปั้นของท่านมหาตมะคานธี ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ จากนั้นจึงได้มีการกล่าวถึงชีวประวัติและหลักคำสอนของท่ามหาตมะคานธี

นายนาเกช ซิงห์ เอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของค่านิยมและหลักคำสอนของมหาตมะคานธี คือ สรรโวทัย  (Sarvodaya)  มีความหมายว่า “การตื่นรู้จากอวิชชา” และ อันตโยทัย (Antyodaya) มีความหมายว่า “การพัฒนาผู้ด้อยโอกาสในสังคม” และดำเนินชีวิตอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับหลักธรรมชาติตามแนวคิดของท่านมหาตมะคานธี