ถึงเวลาต้องเลือก ‘อิหร่าน’ โต้กลับ หรือเลี่ยงความรุนแรง ‘อิสราเอล’

ถึงเวลาต้องเลือก ‘อิหร่าน’  โต้กลับ หรือเลี่ยงความรุนแรง ‘อิสราเอล’

เหตุการณ์ “อิสราเอล“ โจมตี “อิหร่าน“ ทำให้สงครามในตะวันออกกลางรุนแรงยิ่งขึ้น ซึ่งการหลีกเลี่ยง หรือจะเสี่ยงโจมตีกลับ อาจทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง นี่เป็นสองทางเลือกหลักที่ผู้นำอิหร่านต้องตัดสินใจ

KEY

POINTS

Key Points 

  • ตอนนี้อิหร่านดูอ่อนแอ ถูกกองทัพอิสราเอลข่มขู่และโดนขัดขวางอำนาจ โดยมีสหรัฐให้การสนับสนุนอยู่ข้างหลัง
  • การหยุดโจมตีและตอบโต้กลับเป็นเรื่องยาก หากประเทศนั้นๆเชื่อว่า การไม่ทำอะไรเลย จะถูกมองว่า อ่อนแอ และท้อถอย นั่นคือวิถีแห่งสงครามดำเนินไปต่อเนื่องอย่างควบคุมไม่ได้
  • ผู้นำอิหร่านคงต้องมองหาวิธีใหม่ในการข่มขวัญศัตรู โดยเฉพาะแผนการพัฒนาหัวรบนิวเคลียร์ที่ใช้กับขีปนาวุธพิสัยไกลของอิหร่าน เพื่อเป็นต่อในสงคราม

เหตุการณ์อิสราเอล โจมตีอิหร่าน ทำให้สงครามตะวันออกกลางรุนแรงยิ่งขึ้น ซึ่ง "การหลีกเลี่ยง หรือจะเสี่ยงโจมตีกลับ  อาจทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง นี่เป็นสองทางเลือกหลักที่ผู้นำอิหร่านต้องตัดสินใจ" ที่ปรึกษาคนสำคัญของอายะตุลลอฮ์ อะลี คาเมเนอี ผู้นำสูงสุดอิหร่านกล่าว 

สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า อิหร่านจะตัดสินใจเลือกหนทางเลวร้ายน้อยที่สุดในบรรดาทางเลือกที่ยากลำบากมากมาย แม้อีกด้านหนึ่ง อิสราเอลขู่กำลังจะใช้ขีปนาวุธพิสัยไกลโจมตีอีกระลอก

ตอนนี้อิหร่านดูอ่อนแอ ถูกกองทัพอิสราเอลข่มขู่และโดนขัดขวางอำนาจ โดยมีสหรัฐให้การสนับสนุนอยู่ข้างหลัง

ท้ายที่สุดแล้ว มีแนวโน้มว่า ผู้นำสูงสุดอิหร่านจะตัดสินใจสิ่งที่เห็นว่า จะสร้างความเสียหายต่อหนทางอยู่รอดของระบอบการปกครองอิสลามของอิหร่านให้น้อยที่สุด 

คุกคามอย่างไร้เหตุผล

สื่อทางการอิหร่านเผยแพร่แถลงการณ์หลายชั่วโมงก่อน หลังเหตุการณ์อิสราเอลโจมตี หากมองเผินๆ ดูเหมือนว่า อิหร่านได้ตัดสินใจตอบโต้ไปแล้ว ซึ่งอิหร่านเองก็อ้างความชอบธรรมเหมือนอิสราเอล เกี่ยวกับสิทธิในการปกป้องประเทศจากการโจมตี หากแต่ความเป็นจริง ผลลัพธ์จะสร้างความเสียหายสูงตามมา ซึ่งอาจเป็นเหตุผลให้อิหร่านตัดสินใจถอนคำขู่ที่ออกไป

แถลงการณ์อิหร่านสอดคล้องเหตุการณ์ที่อิหร่านยิงขีปนาวุธพิสัยไกลใส่อิสราเอลเมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว อับบาส อารากชี รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่านกล่าวกับสถานีโทรทัศน์ NTV ของตุรกีว่า “ การโจมตีใดๆก็ตาม จะถือว่าเป็นการข้ามเส้นแดงของเรา และเหตุการณ์โจมตีดังกล่าวจะไม่ถูกปล่อยผ่านแน่นอน”

ไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่อิสราเอลจะโจมตีอิหร่าน เอสมาอิล บาเช โฆษกกระทรวงการต่างประเทศอิหร่านกล่าวว่า เหตุการณ์รุกรานอิหร่านใดๆก็ตาม จะได้รับการตอบโต้อย่างสุดกำลัง ซึ่งการที่อิสราเอลกล่าวอ้างว่า อิหร่านจะไม่ตอบโต้การโจมตีนั้น เป็นการเข้าใจผิดและไร้เหตุผล

ในวานนี้ ระหว่างที่เครื่องบินอิสราเอลมุ่งหน้ากลับฐานทัพ กระทรวงการต่างประเทศอิหร่านได้ออกแถลงการณ์อ้างถึงสิทธิการป้องกันประเทศ “ ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติ” ว่า อิหร่านเชื่อมั่นประเทศตนเองมีสิทธิ และภาระผูกพันที่จะตอบโต้การรุกรานจากต่างประเทศ

แลกเปลี่ยนเหตุนองเลือด

อิสราเอลเพิ่มสถานการณ์ความรุนแรงตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิที่ผ่านมา เพราะมองว่าอิหร่านเป็นผู้ให้การสนับสนุนสำคัญในเหตุกลุ่มฮามาสโจมตีอิสราเอล ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปประมาณ 1,200 คน ในจำนวนนั้นมีชาวอิสราเอลและต่างชาติมากกว่า 70 คน ขณะที่อิหร่านเกรงอิสราเอลกำลังมองหาช่วงจังหวะโจมตีอิหร่าน จึงพยายามส่งสัญญาณอยู่หลายครั้งว่า ไม่ต้องการทำสงครามเต็มรูปแบบกับอิสราเอล

ขณะที่ผู้คนในเตหะรานกลับคิดว่า ทางการอิหร่านมีแนวคิดทำสงครามเต็มรูปแบบ เหตุเพราะอิหร่านใช้พันธมิตรและกลุ่มกองกำลังเพื่อทำหน้าที่เป็นแกนหลักต่อต้านและโจมตีอิสราเอล เช่นเหตุการณ์กลุ่มฮูตีในเยเมนปิดเส้นทางและโจมตีการเดินเรือในทะเลแดง กลุ่มอิซบอลเลาะห์ยิงจรวดจากเลบานอนเข้าใส่ประชาชนอิสราเอล เป็นผลให้ผู้คนอย่าง 60,000 คนต้องอพยพออกจากบ้านไปยังพื้นที่ปลอดภัย

พันธมิตรอิหร่านเสื่อมกำลังลง

นับตั้งแต่ฤดูร้อนเป็นต้นมา อิสราเอลยกระดับสงครามกับอิหร่านและพันธมิตร ซึ่งการโจมตีครั้งใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นในปฏิบัติการเชิงรุกต่อกลุ่มอิซบอลเลาะห์ ซึ่งเป็นพันธมิตรสำคัญที่สุดของอิหร่านในเลบานอน

กลุ่มอิซบอลเลาะห์ยังคงต่อสู้ และสังหารทหารอิสราเอลในเลบานอน ทั้งยังยิงจรวดเข้าใส่อีกจำนวนมาก แต่ตอนนี้กลุ่มอิซบอลเลาะห์ตกอยู่ในภาวะย่ำแย่ หลังสูญเสียผู้นำและคลังอาวุธโดนทำลายเป็นจำนวนมาก

เมื่อยุทธศาสตร์ล้มเหลว ทำให้อิหร่านจำเป็นต้องตอบโต้ เพราะการปล่อยให้พันธมิตรต่อสู้และเสียชีวิตโดยไม่ตอบโต้ใดๆ จะยิ่งทำลายสถานะผู้นำของกลุ่มกองกำลังต่อต้านอิสราเอล และชาติตะวันตก นั่นก็คือคำตอบตามที่เกิดเหตุการณ์อิหร่านโจมตีอิสราเอลด้วยอาวุธสายไกลในวันที่ 1 ตุลาคม 2567

ส่วนการโจมตีทางอากาศในวันวันศุกร์ที่ 25 ตุลาคมที่ผ่านมา เป็นการตอบโต้จากอิสราเอล ซึ่งใช้เวลานานกว่าที่หลายคนคาดการณ์ไว้  ปัจจัยหนึ่งมาจากแผนการอิสราเอลรั่วไหลออกไป

ดึงความสนใจ ไปจากฉนวนกาซา

ช่วงเวลานั้น อิสราเอลยังได้เปิดฉากโจมตีครั้งใหญ่ในฉนวนกาซาตอนเหนือ โวลเกอร์ เติร์ก เลขาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติกล่าวว่า ถือเป็นช่วงเวลามืดมนที่สุดของสงครามฉนวนกาซา เพราะกองทัพอิสราเอลได้ทำให้ประชากรทั้งประเทศตกอยู่ภายใต้การปิดล้อม ทิ้งระเบิด และเสี่ยงอดอาหาร

เป็นไปไม่ได้คนนอกจะรู้ว่าช่วงเวลาที่อิสราเอลโจมตีอิหร่านนั้น ก็เพื่อดึงความสนใจของนานาชาติไปจากฉนวนกาซาตอนเหนือ แต่นั้นก็เป็นเพียงประมาณการณ์เท่านั้น

หยุดยั้งวงจรอุบาทว์ลุกลาม

การหยุดโจมตีและตอบโต้กลับเป็นเรื่องยาก หากประเทศนั้นๆเชื่อว่า การไม่ทำอะไรเลย จะถูกมองว่า อ่อนแอ และท้อถอย นั่นคือวิถีแห่งสงครามดำเนินไปต่อเนื่องอย่างควบคุมไม่ได้

อิหร่านจะยอมให้อิสราเอลมีอำนาจต่อการตัดสินใจครั้งสุดท้ายหรือไม่ โดยเฉพาะสงครามครั้งนี้ ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐ ก็เป็นผู้สนับสนุนอิสราเอลตัดสินใจโต้กลับจากเหตุการณ์วันที่ 1 ตุลาคม และยังบอกอิสราเอลอย่าทิ้งระเบิดทำลายแหล่งทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของอิหร่าน นั่นคือโรงงานนิวเคลียร์ แหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ นอกจากนี้สหรัฐยังเสริมแนวกำลังป้องกัน ด้วยการติดตั้งระบบต่อต้านขีปนาวุธ THAAD ให้อิสราเอล จากนั้นนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ก็ตัดสินใจทำตามคำแนะนำของไบเดน

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 5 พฤศจิกายน เป็นส่วนหนึ่งต่อเหตุการณ์หลังจากนี้ที่จะเกิดขึ้นกับอิสราเอลและอิหร่าน ถ้าโดนัลด์ ทรัมป์ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สอง หากเกิดเหตุการณ์ตอบโต้อิหร่าน ทรัมป์อาจกังวลน้อยกว่าไบเดนว่า โรงงานนิวเคลียร์ แหล่งน้ำมันและก๊าซจะถูกโจมตีหรือไม่

การที่อิสราเอลตัดสินใจจะไม่โจมตีขุมทรัพย์ของอิหร่าน อาจทำให้เตหะรานเลื่อนขยายการตอบโต้อย่างน้อยก็นานพอที่นักการทูตอิหร่านจะได้ทำหน้าที่ของตนเอง โดยในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ผ่านมา ผู้แทนอิหร่านกล่าวว่าพร้อมเปิดใจต่อการเจรจานิวเคลียร์รอบใหม่

ทั้งหมดนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อทุกประเทศทั่วโลก เพราะอิหร่านปฏิเสธมาเสมอว่า ไม่ต้องการใช้ระเบิดนิวเคลียร์ แต่ความเชี่ยวชาญด้านนิวเคลียร์และการเสริมสมรรถนะยูเรเนียมทำให้สามารถผลิตอาวุธชนิดนี้ได้ ดังนั้นผู้นำอิหร่านคงต้องมองหาวิธีใหม่ในการข่มขวัญศัตรู โดยเฉพาะแผนการพัฒนาหัวรบนิวเคลียร์ที่ใช้กับขีปนาวุธพิสัยไกลของอิหร่าน 

อ้างอิง : BBC