เอริค รูเก้ กรรมการผู้จัดการ บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศไทย กล่าวว่า บีเอ็มประสบความสำเร็จกับการดำเนินธุรกิจการผลิตยานยนต์ในประเทศไทย หลังจากเข้ามาลงทุนเปิดสายการผลิตอย่างเป็นทางการตั้งแต่เมื่อ 21 ปีที่แล้ว โดยปัจจุบันสามารถผลิตรถยนต์ และรถจักรยานยนต์สะสมได้ทั้งสิ้น 2 แสนคัน
ที่น่าสนใจ การผลิตมีอัตราเร่งก้าวกระโดดอย่างมีนัย เพราะโรงงานแห่งนี้ผลิตรถครบ 1 แสนคันในปี 2561 แต่ใช้เวลาแค่ 3 ปี ในการผลิตเป็น 2 เท่าตัว 2 แสนคัน ในปีนี้ ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น ทั้งการจำหน่ายในประเทศ และการส่งออกไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศ
“เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการอย่างต่อเนื่องที่เพิ่มขึ้นทั้งในและนอกประเทศ นอกจากนี้ โรงงานบีเอ็มดับเบิลยูในจังหวัดระยองยังยกระดับมาตรการป้องกันการแพร่เชื้อสูงสุดทั้งสำหรับพนักงานและการดำเนินการภายในพื้นที่เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของพนักงาน และสามารถดำเนินการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง”
รูเก้ กล่าวว่า ความสำเร็จดังกล่าวยังเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ท้าทาย โดยเฉพาะปี 2563 ที่ผ่านมาที่มีปัญหาเกิดขึ้นหลายอย่าง แต่บริษัทได้ปรับวิธีการทำงานหลายอย่างในช่วงเวลาที่ห่วงโซ่อุปทานได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างจากกาารแพร่ระบาดของโควิด-19 และภาวะเศรษกิจ โดยใช้วิธีการจัดการด้านการผลิตที่มีประสิทธิภาพและมีความยืดหยุ่น และมีมาตรการที่รัดกุมเพื่อปกป้องพนักงานและพันธมิตร์ของบริษัท เพื่อให้งานทุกอย่างเดินหน้าต่อไปได้ ไม่สะดุด
ทั้งนี้สำหรับการผลิตรวม 2 แสนคันของ บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศไทย เป็นการผลิตรองรับทั้งการขายในประเทศและส่งออก แบ่งเป็น
- ผลิตเพื่อรองรับตลาดในประเทศ 62.7%
- ผลิตเพื่อส่งออกสู่ภูมิภาค 37.3%
สำหรับรุ่นรถยนต์ที่ถผลิตมากที่สุดเพื่อรองรับตลาดประเทศไทย ประกอบด้วย
- บีเอ็มดับเบิลยู ซีรีส์ 3
- บีเอ็มดับเบิลยูซีรีส์ 5
- บีเอ็มดับเบิลยู เอ็กซ์ 1
และเมื่อแบ่งประเภทรถจากสายการผลิตโรงงานระยองแห่งนี้ พบว่าการผลิตรถจักรยานยนต์ บีเอ็มดับเบิลยู มอเตอร์ราด ปัจจุบันมีสัดส่วน 15.4% ของจำนวนการประกอบสะสมทั้งหมด ในขณะที่อีก 84.6% ของการผลิตเป็นการผลิตรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยู
ทั้งนี้ในส่วนของรถจักรยานยนต์ ส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อการส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ คิดเป็นสัดส่วน 70.8% ของจำนวนมอเตอร์ไซค์ทั้งหมดที่ผลิตโดยบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศไทย
ส่วนรถจักรยานยนต์ที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศส่วนใหญ่เป็นรถในกลุ่ม แอดเวนเจอร์และสปอร์ต
รูเก้ กล่าวว่าแม้ว่าภาคการผลิตจะยังลื่นไหล แต่บริษัทยังคงเข้มงวดกับมาตการดูแลความปลอดอภัยพนักงาน โดยจัดทำมาตรการด้านสุขภาพและความปลอดภัยในทุก ๆ ด้าน ซึ่งรวมถึงการตรวจคัดกรองอย่างเข้มงวดที่ทางเข้าโรงงานก่อนเข้าพื้นที่ การจัดหาหน้ากากอนามัย และต้องสวมหน้ากากในทุกพื้นที่ตลอดเวลา และเปลี่ยนใหม่ทุกเที่ยงวัน ส่วนบริเวณรับประทานอาหารมีการขยายพื้นที่เพิ่มเติมเพื่อรองรับการเว้นระยะห่างทางสังคม ในขณะที่อุปกรณ์ในการรับประทานอาหารเป็นประเภทใช้ครั้งเดียวที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น