เศรษฐกิจโลกฟื้นแต่การลงทุนยังเป็นภาวะ Risk-on
ในตอนที่แล้วเราพูดถึงการเลือกสินทรัพย์ลงทุนท่ามกลางภาวะมีปัจจัยกดดันค่อนข้างมาก มาถึงเดือน ก.ค.เข้าสู่ไตรมาสที่ 3
มาพร้อมกับการใช้มาตรการคุ้มเข้มอีกครั้งหลังการระบาดในประเทศไทยรุนแรงขึ้นมาก จึงเป็นปัจจัยที่เข้ามากดดันเศรษฐกิจและการลงทุนในระยะจากนี้มากขึ้นอย่างแน่นอน
หากมองเศรษฐกิจโลกตอนนี้ แม้ว่าจะเริ่มขยายตัวดีขึ้น แต่เป็นเพียงการฟื้นในช่วงสั้นหรือไม่ การระบาดของโควิดยังไม่ได้หมดไปเสียทีเดียว แต่ก็มีความสามารถควบคุมได้และมั่นใจได้ว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯและยุโรปจะไม่กลับไปสู่ภาวะการล็อคดาวน์อีกครั้งอย่างแน่นอน ซึ่งตรงข้ามกับเอเชียรวมทั้งประเทศไทย ที่ยังต่อสู้อย่างหนัก เช่น มาเลเซีย , เกาหลีใต้ รวมถึงญี่ปุ่นที่กำลังจะมีการแข่งขันโอลิมปิก
แม้ว่าในช่วงปลายปีนี้สถานการณ์ในประเทศไทยคาดว่าน่าจะดีขึ้น แต่ในระยะสั้นนี้เศรษฐกิจและบรรยกาศการลงทุนคงจะถูกดดันอย่างมาก หากจะพิจารณาว่าสินทรัพย์ใดบ้างที่ยังน่าสนใจและควรลงทุนในแบบไหนดี..? เราต้องมองปัจจัยสำคัญๆ ที่จะมีผลต่อแนวโน้มสินทรัพย์ ซึ่งมีหลักๆดังนี้ครับ
1.การระบาดในประเทศที่รุนแรง – เวลานี้ตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างวิตกจนรัฐบาลต้องใช้มาตรการคุมเข้มจำกัดการเดินทางอีกครั้ง ขณะที่การเร่งฉีดวัคซีนเพื่อ สร้างความหวังต่อฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ยังถือว่าค่อนข้างน้อย หากสามารถเร่งฉีดได้เร็วมากขึ้นพร้อมกับมีวัคซีนที่เป็นทางเลือกได้มากกว่านี้ จะเป็นผลดีที่ทำให้เกิดความเชื่อมั่น ต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างมาก ดังนั้นการบริหารจัดการของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระยะต่อจากนี้จะมีเป็นรื่องที่สำคัญมากๆ
2.นโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ – ตลาดโลกกำลังจับตาดูถ้อยแถลงของธนาคารกลางสหรัฐฯอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะมีผลต่อการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ต่างๆ อย่างมาก ทั้งมาตรการลด QE การขึ้นดอกเบี้ย ส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายเงินลงทุนในช่วงจากนี้ การปรับตัวขึ้นลงของผลตอบแทนพันธบัตรรับบาลสหรัฐฯ เป็นปัจจัยที่นักลงทุนต้องจับตามองในระยะนี้
- ปัจจัยการเมืองในประเทศ - เป็นประเด็นที่เงียบหายไประยะหนึ่ง และเริ่มเห็นสัญญาณกลับมาอีกครั้ง ทั้งการชุมนุมประท้วงรัฐบาล และเรื่องกระบวนการทางรัฐสภา แม้โดยรวมอาจจะไม่ได้ส่งผลต่อตลาดหุ้นมากนัก แต่ต้องติดตามหากเกิดยกระดับรูปแบบและมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของรัฐบาลและนโยบายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐได้
4.ราคาน้ำมัน – มีปัจจัยบวกจากการฟื้นของเศรษฐกิจโลกทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นมาต่อเนื่อง การใช้พลังงานในกลุ่มธุรกิจการบินเริ่มเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในสหรัฐฯ เราได้เห็นราคาน้ำมันขึ้นมาระดับ 75 เหรียญฯ และมีแนวโน้มที่จะขึ้นต่อเนื่องหากการกิจกรรมทางเศรษฐกิจของหลายประเทศเริ่มกลับมา รวมทั้งการบริโภคพลังงานในช่วงหน้าหนาวของทางยุโรปและสหรัฐฯ แต่ต้องจับตาการประชุม OPEC+ ที่อาจมีเพิ่มกำลังการผลิตในเดือน ส.ค. อาจทำให้ราคาน้ำมันเกิดการปรับตัวลงได้
ดังนั้นการเลือกสินทรัพย์ลงทุนในจังหวะนี้ ด้วยภาพรวมที่ยังยังปัจจัยให้ติดตามและระมัดระวังแต่ยังมีตลาดบางประเทศและหุ้นบางกลุ่มที่ยังน่าลงทุน KTBST SEC แนะนำดังนี้
สหรัฐฯ : มองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯอยู่ในช่วงระยะกลางของการขยายตัวและมีสัญญาณเงินเฟ้อที่จะปรับตัวขึ้นในระยะถัดไป หุ้นกลุ่มที่น่าสนใจในภาวะเศรษฐกิจช่วงนี้ คือ กลุ่มยาและเวชภัณฑ์ (Pharmaceutical) กลุ่มผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ (Health care) , กลุ่มเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ รวมถึง กลุ่มเซมิคอนดักส์เตอร์
ยุโรป : เศรษฐกิจฟื้นตัวโดดเด่นคล้ายกับสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่เงินเฟ้อจะขยายตัว ขณะที่ตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) กับ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่ยังไม่ยังขยายตัวไม่พร้อมกัน ทำให้กลุ่มธุรกิจที่มีสามารถในการกำหนดราคา (Pricing Power) มีแนวโน้มเติบโตเด่นกว่ากลุ่มอื่น หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี , ผลิตภัณฑ์ยาและสุขภาพ และหุ้นอุปโภคบริโภค จึงน่าสนใจสำหรับตลาดหุ้นยุโรป
ขณะที่ กลุ่มตลาดเกิดใหม่ แม้ว่าจะมีปัจจัยกดดันเรื่องกระแสเงินลงทุนไหลออก จากนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ แต่ก็ส่งผลให้ค่าเงินอ่อนตัวลงและเป็นผลบวกต่อการส่งออกของหลายประเทในเอเชีย มองว่าเป็นจังหวะที่นักลงทุนสามารถทยอยลงทุนได้ โดยเฉพาะตลาดหุ้นจีนในกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กที่เติบโตสูงจากการขยายตัวของเศรษฐกิจในประเทศจีน
สำหรับเศรษฐกิจไทยและตลาดหุ้นในช่วงสั้นจะยังคงเจอกับปัจจัยลบไม่น้อยทีเดียว กลยุทธ์ลงทุนด้วยการรอจังหวะเข้าซื้อเมื่อราคาปรับตัวลงมาเป็นคำแนะนำในภาวะแบบนี้ กลุ่มธุรกิจที่ KTBST SEC แนะนำในเชิงกลยุทธ์ เน้นกลุ่มที่มีความสามารถสร้างกำไรให้เติบโตต่อไปได้ ได้แก่ กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก , กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ , กลุ่มโรงพยาบาล , กลุ่มสินค้าเกษตร หุ้นเกี่ยวกับไอทีสำหรับการ Work from Home
ภาพของการลงทุนต่างประเทศดูค่อนข้างน่าสนใจและเปิดกว้างมากกว่าในประเทศ อย่างไรก็ตามสิ่งที่นักลงทุนจะเจออยู่เสมอ คือจังหวะเข้าลงทุนในภาวะที่ตลาดผันผวน การถือเงินสดและเฝ้ารอ (Wait&See) อาจจะเป็นทางเลือกสำหรับนักลงทุนในสั้นๆนี้ จนกว่าสินทรัพย์ต่างๆ จะปรับตัวตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีมากขึ้นและไม่แย่ลงจนทำให้เกิดเหตุปัจจัยที่กระทบเศรษฐกิจหนักขึ้นกว่าเดิม ทาง KTBST SEC จะมาอัพเดท และให้คำแนะนำกันในตอนต่อๆไปครับ ...
ติดตามข่าวสารบทวิเคราะห์การลงทุนจาก KTBST SEC ได้ที่ เพจ Facebook/KTBST SEC และทางเว็บไซด์ www.ktbst.co.th