อีกขั้นของสังคมไร้เงินสดกับ “การท่องเที่ยวยุคดิจิทัล”
การแพร่ระบาดโควิด-19 ในช่วงสามปีที่ผ่านมานับเป็นตัวเร่งให้ “เศรษฐกิจดิลิทัล” (Digital Economy) เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จากไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปในยุคดิจิทัล เช่น การทำธุรกรรมต่าง ๆ ที่สามารถทำได้อย่างง่ายดายผ่านสมาร์ทโฟน การซื้อของออนไลน์ที่กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน รวมถึงการเลือกใช้รูปแบบการชำระเงินแบบไร้เงินสดมากขึ้น เช่น การโอนเงินแบบพร้อมเพย์ การใช้ e-Wallet หรือกระเป๋าเงินดิจิทัล ที่มาคู่กับการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่ง่ายขึ้นและการแข่งขันด้านนวัตกรรมทางการเงินต่างๆ
ผู้บริโภคชาวไทยหันมาทำธุรกรรมออนไลน์กันมากขึ้น
ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าที่ผ่านมาผู้บริโภคชาวไทยตอบรับการชำระเงินแบบไร้เงินสดในชีวิตประจำวันมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จากสถิติด้านปริมาณการชำระเงินผ่านช่องทางต่าง ๆ ของธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่า ไทยมีปริมาณการชำระเงินผ่านช่องทาง Online Payment เช่น Internet Banking, Mobile Banking และ e-Wallet เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจนมีสัดส่วนสูงมากถึงร้อยละ 92.4 ของปริมาณการชำระเงินทั้งหมด (ม.ค. - ก.ย. 2565) และจากการคาดการณ์ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปริมาณธุรกรรมผ่านช่องทางออนไลน์น่าจะมีสัดส่วนร้อยละ 95 ของปริมาณธุรกรรมทั้งหมดในปี 2566 นี้
นอกจากนี้ รายงาน e-Conomy SEA เศรษฐกิจดิจิทัลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประจำปี 2022 ได้คาดการณ์ยอดรวมการชำระเงินดิจิทัลในประเทศไทยสูงถึง 113 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2565 และจะเติบโต 12% ภายในปี 2568 จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีคุ้นชินกับการชำระเงินผ่านระบบออนไลน์ การขยายขอบเขตการให้บริการชำระเงินในสินค้าและบริการที่หลากหลายและครอบคลุมการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น และการสนับสนุนของภาครัฐที่มีการผลักดันให้ลดการใช้เงินสดอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการแข่งขันทางด้านบริการชำระเงินแบบดิจิทัลและการเข้ามาของผู้เล่นหน้าใหม่ในวงการ e-Wallet
ระบบการชำระเงินแบบดิจิทัลช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวได้อย่างไร
1. การชำระเงินแบบดิจิทัล ง่าย สะดวก และเข้าถึงได้ทุกประเทศทั่วโลก
การชำระเงินแบบดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญกับการเดินทางมานานแล้ว เช่น การใช้บัตรเครดิตหรือเดบิตเข้ามาแทนการใช้เงินสด เป็นต้น ซึ่งทำให้การทำธุรกรรมมีความปลอดภัยและไม่ต้องพกเงินสดเยอะ มีกระบวนการอนุมัติการใช้จ่ายที่รวดเร็ว แจ้งเตือนปรับปรุงรายการใช้จ่ายได้ทันที
แต่ปัจจุบันนี้มีความก้าวหน้าไปมากกว่านั้นอย่าง YouTrip ผู้ให้บริการดิจิทัลวอลเล็ตรองรับหลายสกุล (Multi-currency wallet) เป็นธุรกิจที่ใช้ระบบดิจิทัลทั้งหมด ให้ผู้บริโภคได้ใช้จ่ายได้ถึง 150 สกุลเงินทั่วโลก ซึ่งนวัตกรรมทางการเงินที่ช่วยให้ประสบการณ์การใช้จ่ายของลูกค้าว่องไวและสะดวกมากขึ้น นั้นช่วยกระตุ้นยอดการใช้จ่าย เปิดโอกาสให้ธุรกิจสร้างยอดขายได้มากขึ้น
2. การร่วมมือของของกลุ่มประเทศทำให้การทำธุรกรรมระหว่างประเทศง่ายขึ้น
เมื่อก่อนการทำธุรกรรมระหว่างประเทศจะค่อนข้างลำบาก แต่ปัจจุบันนี้กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน อาทิ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ได้ลงนามเพื่อพัฒนาระบบให้ทำการชำระเงินระหว่างประเทศกันได้ง่าย ๆ ผู้บริโภคสามารถใช้แอปพลิเคชั่นธนาคารบนสมาร์ทโฟนเพื่อชำระเงินผ่านระบบ QR code แบบเรียลไทม์ได้ทันที ด้วยความร่วมมือนี้ตอกย้ำให้เห็นถึงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียนได้เป็นอย่างดี
เที่ยวญี่ปุ่นในยุคดิจิทัล ง่าย และ สะดวกสบาย
ประเทศญี่ปุ่นเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีสถิติการใช้เงินสดลดลงอย่างรวดเร็ว จากรายงานสถิติของ Insider Intelligence บริษัทวิจัยการตลาดเผยสถิติส่วนแบ่งของการชำระเงินด้วยเงินสด ณ จุดขายในประเทศญี่ปุ่นลดลง 15% เมื่อเทียบกับปี 2021 และลดลง 7.8% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยเป้าหมายของรัฐบาลญี่ปุ่นภายในปี 2568 ต้องการให้การชำระเงินแบบไร้เงินสดมีสัดส่วนอย่างน้อย 40% ของการทำธุรกรรมทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากประมาณ 20% ในปีที่แล้ว และหวังว่าการส่งเสริมการใช้การชำระเงินแบบดิจิทัลจะช่วยสนับสนุนการท่องเที่ยวและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมธุรกิจบริการทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ
นอกจากการผลักดันจากรัฐบาลญี่ปุ่นแล้ว สถานที่ท่องเที่ยวและบริษัทด้านฟินเทคของ Ant Group, Alipay+ ได้ร่วมมือเปิดตัวการให้บริการชำระเงินระหว่างประเทศในประเทศญี่ปุ่นกับ Universal Studios Japan ในฐานะลูกค้ารายแรกในภูมิภาคนี้ โดยการชำระเงินดิจิทัลในรูปแบบ QR code ระหว่างประเทศผ่าน Alipay+ ให้กับสวนสนุก ซึ่งจะช่วยนักท่องเที่ยวจากจีน สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และไทย ให้สามารถใช้ e-Wallet ที่นักท่องเที่ยวต้องการได้อีกด้วย
YouTrip ช่วยให้ผู้ใช้งานเที่ยวต่างประเทศได้ตอบโจทย์มากกว่า
สำหรับ YouTrip ในฐานะผู้นำตลาดด้านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์หลายสกุลเงินที่ให้อัตราแลกเปลี่ยนที่ดีกว่า ไม่มีค่าธรรมเนียม และไม่มีค่าความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน 2.5% โดยให้ผู้ใช้งานใช้จ่ายผ่านบัตรได้ 150 สกุลเงินทั่วโลก และแลกล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชั่นได้ 10 สกุลเงิน ยังคงเน้นเรื่องความสะดวกสบายในการใช้จ่ายท่องเที่ยวทั่วโลกด้วยความประหยัดคุ้มค่า มี Cashback เงินคืนตลอดปี และสามารถชำระเงินได้อย่างปลอดภัย เพื่อให้นักท่องเที่ยวชาวไทยมั่นใจในทุกการใช้จ่ายทั่วโลก