ประกาศราชกิจจาฯ มาตรการผ่อนคลายโควิดล่าสุด กรณีเข้า-ออกประเทศ เช็กรายละเอียดที่นี่
ตรวจสอบ ประกาศราชกิจจาฯ มาตรการผ่อนคลายโควิดล่าสุด กรณีเข้า-ออกประเทศ เช็กรายละเอียดที่นี่ มีผลวันไหน ต้องรู้หลักปฏิบัติใหม่
ราชกิจจานุเบกษา (23 มิ.ย. 2565) คําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ ๑๓/๒๕๖๕ เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒๗)
ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ให้ขยาย ระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๕ จนถึงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ โดยนายกรัฐมนตรีได้ออก ข้อกําหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๔๔) ลงวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๕ ในการปรับปรุงการกําหนดผู้เดินทาง เข้ามาในราชอาณาจักร และคําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ ๑/๒๕๖๕ เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒๖) ลงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ นั้น
เพื่อให้การปฏิบัติงานตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและการขยาย ระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว และตามคําสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๕/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ อาศัยอํานาจตามความในข้อ ๔ (๒) ของคําสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กํากับ การปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อํานวยการศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด - 19 จึงมีคําสั่งให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงานเจ้าหน้าที่ ดําเนินการให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคให้สอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด - 19 ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกการรับลงทะเบียนการเดินทางเข้าราชอาณาจักรสําหรับผู้เดินทางเข้ามา ในราชอาณาจักรทุกประเภท ของคําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ ๑๑/๒๕๖๕ เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒๖) ลงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกหลักเกณฑ์การดําเนินการในสถานที่กักกันซึ่งทางราชการกําหนดตาม ข้อ ๒ ของมาตรการป้องกันโรคสําหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรและหลักเกณฑ์การดําเนินการ ในสถานที่กักกันซึ่งทางราชการกําหนดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 แนบท้ายคําสั่ง ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ ๑๑/๒๕๖๕ ลงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕
ข้อ ๓ ให้ปรับมาตรการป้องกันโรคสําหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรทุกประเภทของ คําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ ๑๑/๒๕๑๕ เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒๖) ลงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ตามแนบท้ายคําสั่งนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคําสั่งเปลี่ยนแปลง เป็นอย่างอื่น
สั่ง ณ วันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๕ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี ผู้อํานวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19
มาตรการป้องกันโรคสําหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรและหลักเกณฑ์การดําเนินการในสถานที่กักกันซึ่งทางราชการกําหนดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 แนบท้ายคําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ ๑๓/๒๕๖๕ ลงวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๕
เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคโควิด - 19 มิให้เกิดการแพร่ระบาดในราชอาณาจักร และเพื่อให้มาตรการและหลักเกณฑ์สําหรับผู้เดินทางเข้ามา ในราชอาณาจักรมีความสอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด - 19 ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จึงเห็นควรกําหนดมาตรการป้องกันโรคและหลักเกณฑ์การดําเนินการในสถานที่กักกัน ซึ่งทางราชการกําหนด สําหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ๓ ประเภท ได้แก่ (๑) ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งแสดงหลักฐานหรือเอกสารรับรองการได้รับวัคซีนป้องกัน โรคโควิด - 19 ครบตามเกณฑ์ที่ผู้ผลิตวัคซีนหรือที่ทางราชการกําหนด (Vaccinated Persons) (๒) ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งมิได้แสดงหลักฐานหรือเอกสารรับรองการได้รับ วัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ครบตามเกณฑ์ที่ผู้ผลิตวัคซีนหรือที่ทางราชการกําหนด (Unvaccinated/Not Fully Vaccinated Persons) และ (๓) ผู้มีเหตุยกเว้นหรือเป็นกรณีที่นายกรัฐมนตรี หรือหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินกําหนด อนุญาต หรือเชิญให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามความจําเป็น ดังนี้
๑. มาตรการป้องกันโรคสําหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร
(๑) ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งแสดงหลักฐานหรือเอกสารรับรองการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ครบตามเกณฑ์ที่ผู้ผลิตวัคซีนหรือที่ทางราชการกําหนด (Vaccinated Persons)
มาตรการป้องกันโรค มาตรการก่อนเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ๑) ให้มีหลักฐานหรือเอกสารที่ใช้ในการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
๑.๑) หนังสือเดินทาง (Passport) หรือหลักฐานเอกสารที่ราชการกําหนด ๑.๒) บัตรผ่านแดน (Border Pass) ๑.๓) หนังสือแสดงการเป็นผู้ควบคุมยานพาหนะหรือเจ้าหน้าที่ประจํายานพาหนะ พร้อมระบุเวลาที่จะเข้าและออกราชอาณาจักร และความจําเป็นที่ต้องเดินทางเข้ามาตามภารกิจ
๑.๔) เอกสารที่ยืนยันหรือแสดงว่ามีนายจ้างหรือผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวเข้ามาทํางานในราชอาณาจักรที่ได้รับการรับรองโดยกระทรวงแรงงานเพื่อเข้ามาทํางานใน ราชอาณาจักรตามบันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทําไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ หรือแนวปฏิบัติกรณีแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทํางานในราชอาณาจักรตามมาตรา ๖๔ แห่งพระราชกําหนดการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่กระทรวงแรงงานกําหนด
๒) ให้มีหลักฐานหรือเอกสารรับรองการได้รับวัคซีน (Certificate of Vaccination) ดังนี้
๒.๑) กรณีผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรมีอายุ ๑๘ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ให้มีหลักฐานหรือเอกสารรับรองการได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ที่ผู้ผลิตวัคซีนหรือที่ทางราชการกําหนด โดยต้องเป็นวัคซีนที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยยาหรือได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลกหรือตามที่กระทรวงสาธารณสุขกําหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๔ วัน ก่อนออกเดินทาง
๒.๒) กรณีผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรมีอายุตั้งแต่ ๕ ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์ให้มีหลักฐานหรือเอกสารรับรองการได้รับวัคซีนอย่างน้อย ๑ เข็ม โดยต้องเป็นวัคซีน ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยยาหรือได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลกหรือตามที่กระทรวงสาธารณสุขกําหนด เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๕ วันก่อนออกเดินทาง
๒.๓) กรณีผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรมีอายุยังไม่ครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์และได้เดินทางมาพร้อมกับผู้ปกครองหรือผู้ดูแลไม่ต้องมีหลักฐานหรือเอกสารรับรองดังกล่าว มาตรการเมื่อเดินทางถึง/ระหว่างอยู่ในราชอาณาจักร ๑) ให้ยื่นเอกสารหรือแสดงหลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ รวมถึงการดําเนินพิธีการตรวจคนเข้าเมือง แล้วแต่กรณี ณ ช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศหรือ พื้นที่ที่ทางราชการกําหนด ก่อนเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ๒) กรณีผู้เดินทางที่ไม่มีสัญชาติไทยและเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ณ ช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศทางบกเฉพาะจุดผ่านแดนถาวร (International Point of Entry) ที่ใช้บัตร ผ่านแดน (Border Pass) ในการเดินทางให้สามารถพํานักอยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกิน ๓ วัน และให้เดินทางได้เฉพาะพื้นที่ตามที่ได้ตกลงกันไว้ตามความตกลงว่าด้วยการข้ามแดน ระหว่างประเทศ ๓) ในระหว่างที่อยู่ในราชอาณาจักร ให้ผู้เดินทางปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุขที่ทางราชการกําหนดอย่างเคร่งครัด และขอความร่วมมือให้ผู้เดินทางตรวจหาเชื้อโรคโควิด - 19 โดยชุดตรวจและน้ํายาที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยการติดเชื้อ SARS - CoV - 2 (เชื้อก่อโรค COVID - 19) แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง (Antigen Self - Test Kit หรือ ATK) ทั้งนี้ในกรณีผลการตรวจหาเชื้อโรคโควิด - 19 พบว่าผู้เดินทางมีเชื้อโรคโควิด - 19 ให้ผู้เดินทางดําเนินการหรือเข้ารับการตรวจหรือดูแลรักษาพยาบาลตามแนวทางที่กระทรวง สาธารณสุขกําหนด โดยให้ผู้เดินทาง ต้นสังกัด นายจ้าง หรือผู้ได้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวเข้ามาทํางานในราชอาณาจักร แล้วแต่กรณี เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการตรวจหรือ รักษาพยาบาลทั้งหมด หรือให้เป็นไปตามสิทธิ์ในการตรวจหรือการรักษาพยาบาลตามที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรการก่อนเดินทางออกนอกราชอาณาจักร -ไม่มี
(๒) ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งมิได้แสดงหลักฐานหรือเอกสารรับรองการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ครบตามเกณฑ์ที่ผู้ผลิตวัคซีนหรือที่ทางราชการกําหนด (Unvaccinated/Not Fully Vaccinated Persons)
มาตรการป้องกันโรค มาตรการก่อนเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร
๑) ให้มีหลักฐานหรือเอกสารที่ใช้ในการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
๑.๑) หนังสือเดินทาง (Passport) หรือหลักฐานเอกสารที่ราชการกําหนด
๑.๒) บัตรผ่านแดน (Border Pass)
๑.๓) หนังสือแสดงการเป็นผู้ควบคุมยานพาหนะหรือเจ้าหน้าที่ประจํายานพาหนะ พร้อมระบุเวลาที่จะเข้าและออกราชอาณาจักร และความจําเป็นที่ต้องเดินทางเข้ามาตามภารกิจ
๑.๔) เอกสารที่ยืนยันหรือแสดงว่ามีนายจ้างหรือผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวเข้ามาทํางานในราชอาณาจักรที่ได้รับการรับรองโดยกระทรวงแรงงานเพื่อเข้ามาทํางานในราชอาณาจักร ตามบันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทําไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ หรือแนวปฏิบัติกรณีแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทํางานในราชอาณาจักรตามมาตรา ๖๔ แห่งพระราชกําหนด การบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่กระทรวงแรงงานกําหนด มาตรการเมื่อเดินทางถึง/ระหว่างอยู่ในราชอาณาจักร ๑) ให้ยื่นเอกสารหรือแสดงหลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ รวมถึงการดําเนินพิธีการตรวจคนเข้าเมือง แล้วแต่กรณี ณ ช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ หรือพื้นที่ที่ทางราชการกําหนด ก่อนเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ๒) กรณีผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรที่ไม่มีหลักฐานหรือเอกสารรับรองการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ยืนยันว่าผู้เดินทางไม่มีเชื้อโรคโควิด - 19 โดยวิธี RT - PCR (Laboratory result indicating that COMD - 19 is not detected by RT- PCR) หรือโดยวิธีการตรวจหาเชื้อโรคโควิด - 19 โดยชุดตรวจและน้ํายาที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยการติดเชื้อ SARS - CoV - 2 (เชื้อก่อโรค COVID - 19) แบบตรวจหาแอนติเจนสําหรับใช้โดยบุคลากรทางการแพทย์ (ATK Professional Use) โดยมีระยะเวลาไม่เกิน ๗๒ ชั่วโมง ก่อนการเดินทางทางอากาศหรือ ทางบก หรือก่อนเดินทางจากจุดที่มีการจอดเทียบท่าเป็นครั้งสุดท้าย (Last port) ก่อนเข้ามาในราชอาณาจักรสําหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ณ ช่องทางเข้าออกระหว่าง ประเทศทางน้ํา ให้ผู้เดินทางปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่ออย่างเคร่งครัดภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กระทรวงสาธารณสุขกําหนด โดยให้ผู้เดินทาง ต้นสังกัด นายจ้าง หรือผู้ได้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวเข้ามาทํางานในราชอาณาจักร แล้วแต่กรณี เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการตรวจหรือรักษาพยาบาลทั้งหมด หรือให้เป็นไปตาม สิทธิในการตรวจหรือการรักษาพยาบาลตามที่กฎหมายบัญญัติ ๓) กรณีผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรที่มีหลักฐานหรือเอกสารรับรองการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ยืนยันว่าผู้เดินทางไม่มีเชื้อโรคโควิด - 19 โดยวิธี RT - PCR (Laboratory result indicating that COVID - 19 is not detected by RT - PCR) หรือโดยวิธีการตรวจหาเชื้อโรคโควิด - 19 โดยชุดตรวจและน้ํายาที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยการติดเชื้อ SARS - CoV - 2 (เชื้อก่อโรค COVID - 19) แบบตรวจหาแอนติเจนสําหรับใช้โดยบุคลากรทางการแพทย์ (ATK Professional Use) โดยมีระยะเวลาไม่เกิน ๗๒ ชั่วโมง ก่อนการเดินทางทางอากาศหรือทางบก หรือก่อนเดินทางจากจุดที่มีการจอดเทียบท่าเป็นครั้งสุดท้าย (Last port) ก่อนเข้ามาในราชอาณาจักรสําหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ณ ช่องทางเข้าออกระหว่าง ประเทศทางน้ํา ให้ผู้เดินทางสามารถเดินทางในราชอาณาจักรได้โดยให้ปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุขที่ทางราชการกําหนดอย่างเคร่งครัดตลอดเวลาที่อยู่ในราชอาณาจักร ทั้งนี้ ในกรณีผู้เดินทางเป็นผู้ขนส่งสินค้าตามความจําเป็นให้นํายานพาหนะไปจอดและขนส่งสินค้า ณ จุดที่กําหนดไว้เท่านั้น โดยให้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรทันทีเมื่อขนส่งสินค้า เสร็จสิ้นแล้ว ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน ๗ ชั่วโมงนับแต่ยานพาหนะนั้นออกจากช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศไปยังจุดขนส่งสินค้า กรณีมีความจําเป็นที่ไม่สามารถปฏิบัติตามได้ ให้พนักงาน เจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อเป็นผู้พิจารณาตามสมควรแก่กรณี ๔) ในระหว่างที่อยู่ในราชอาณาจักร ให้ผู้เดินทางปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุขที่ทางราชการกําหนดอย่างเคร่งครัด และขอความร่วมมือให้ผู้เดินทางตรวจหาเชื้อโรคโควิด - 19 โดยชุดตรวจและน้ํายาที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยการติดเชื้อ SARS - CoV - 2 (เชื้อก่อโรค COVID - 19) แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง (Antigen Self - Test Kit หรือ ATK) ทั้งนี้ ในกรณีผลการตรวจหาเชื้อโรคโควิด - 19 พบว่าผู้เดินทางมีเชื้อโรคโควิด - 19 ให้ผู้เดินทางดําเนินการหรือเข้ารับการตรวจหรือดูแลรักษาพยาบาลตามแนวทางที่กระทรวง สาธารณสุขกําหนด โดยให้ผู้เดินทาง ต้นสังกัด นายจ้าง หรือผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวเข้ามาทํางานในราชอาณาจักร แล้วแต่กรณี เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการตรวจหรือ รักษาพยาบาลทั้งหมด หรือให้เป็นไปตามสิทธิ์ในการตรวจหรือการรักษาพยาบาลตามที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรการก่อนเดินทางออกจากราชอาณาจักร -ไม่มี
(๓) ผู้มีเหตุยกเว้นหรือเป็นกรณีที่นายกรัฐมนตรีหรือหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินกําหนด อนุญาต หรือเชิญให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามความจําเป็นมาตรการป้องกันโรค มาตรการก่อนเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร
๑) ให้มีหลักฐานหรือเอกสารรับรองการได้รับวัคซีน (Certificate of Vaccination) ดังนี้
๑.๑) กรณีผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรมีอายุ ๑๘ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ให้มีหลักฐานหรือเอกสารรับรองการได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ที่ผู้ผลิตวัคซีนหรือที่ทางราชการกําหนด โดย ต้องเป็นวัคซีนที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยยาหรือได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลกหรือตามที่กระทรวงสาธารณสุขกําหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน ก่อนออกเดินทาง
๑.๒) กรณีผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรมีอายุตั้งแต่ ๕ ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์ ให้มีหลักฐานหรือเอกสารรับรองการได้รับวัคซีนอย่างน้อย ๑ เข็ม โดยต้องเป็น วัคซีนที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยยาหรือได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลกหรือตามที่กระทรวงสาธารณสุขกําหนด เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๔ วันก่อนออกเดินทาง
๑.๓) กรณีผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรมีอายุยังไม่ครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์ และได้เดินทางมาพร้อมกับผู้ปกครองหรือผู้ดูแล ไม่ต้องมีหลักฐานหรือเอกสารรับรองดังกล่าว | ๒) ให้มีแผนการเดินทางหรือแผนการปฏิบัติภารกิจระหว่างอยู่ในราชอาณาจักรที่แน่นอนชัดเจน สามารถติดตามตัวได้
มาตรการเมื่อเดินทางถึง/ระหว่างอยู่ในราชอาณาจักร ให้ยื่นเอกสารหรือแสดงหลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ณ ช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ในการปรับมาตรการป้องกันโรคก่อนเดินทางเข้าใน ราชอาณาจักรและมาตรการเมื่อเดินทางถึงประหว่างอยู่ในราชอาณาจักรให้มีความเหมาะสมแก่กรณีให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบสามารถดําเนินการขออนุมัตินายกรัฐมนตรี ผ่านศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 (ศปก.ศบค.) ภายใต้หลักเกณฑ์และแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกําหนด มาตรการก่อนเดินทางออกจากราชอาณาจักร
หมายเหตุ : ๑. ผู้มีเหตุยกเว้นหรือกรณีตาม (๓) นายกรัฐมนตรีหรือหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินอาจกําหนดมาตรการเฉพาะตามความเหมาะสมนอกเหนือไปจากที่กําหนดไว้ ๒. การแบ่งมอบภารกิจและการกํากับดูแลการดําเนินการตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อโควิด - 19 ตามคําสั่งนี้ ให้เป็นไปตามคําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ ๑๔/๒๕๖๔ เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๔ (ฉบับที่ ๑๕) ลงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๔ หรือตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) (ศบค.) กําหนด