“ชลบุรี”เร่ง 11 ผังเมืองอำเภอ หนุนสร้างเศรษฐกิจใหม่ “บีซีจี”
โยธาธิการฯ ชลบุรี เผยผังเมืองอำเภอคืบหน้า คาด “ผังบ้านบึง-ผังหนองใหญ่” เสร็จในปี 2566 ตั้งเป้าสร้างชลบุรีเมืองนวัตกรรม เศรษฐกิจสร้างสรรค์ อย่างสมดุลและยั่งยืน
ผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินและแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูโภคเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ.2562 หรือแผนผังอีอีซี มีพื้นที่รวม 8.29 ล้านไร่ ได้ประกาศใช้แล้วตั้งแต่เดือน ธ.ค.2562 และหลังจากนั้นกรมโยธาธิการและผังเมืองได้ดำเนินการจัดทำผังเมืองอำเภอครอบคลุม 30 อำเภอ ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรีและระยอง
สุภัทรา ชัยเทวารัณย์ โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดชลบุรี กล่าวบรรยายในการอมรมหลักสูตร “EEC Prime” รุ่นที่ 2 จัดโดยสถาบันยูพีเอ็ม อะคาเดมี เมื่อวันที่ 17 มิ.ย.2565 ว่า แผนพัฒนาจังหวัดชลบุรีในระยะ 5 ปี (2566-2570) ได้วางเป้าหมายที่เพิ่มขึ้น จากเดิมที่กำหนดให้จังหวัดชลบุรีเป็นเมืองแห่งนวัตกรรม ได้เพิ่มคีย์เวิร์ด 3 คำใหม่ ประกอบด้วย เศรษฐกิจสร้างสรรค์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างสมดุล และยั่งยืน เป็นการรวมเทรนด์ใหม่ควบคู่ไปกับการพัฒนาเมืองในอนาคต
จากกระบวนการจัดทำผังเมืองทั้งหมด 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1.สำรวจกำหนดเขตผังวิเคราะห์และจัดทำผังเมืองรวม 2.ประชุมเพื่อพิจารณาร่างผังเมืองรวม 3.ประชุมรับฟังความคิดเห็นประชาชน 4.ประชุมคณะกรรมการผังเมือง 5.การปิดประกาศ 90 วัน
6.รวบรวมตรวจสอบพิจารณาคำร้องและแจ้งผลพิจารณาคำร้อง 7.จัดทำเอกสารประกอบการยกร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย 8.เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นขอบและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
โดยภายในปี 2566 คาดว่าจะเห็นผังเมืองอำเภอบ้านบึง และอำเภอหนอง มีผลบังคับใช้ ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนประชุมคณะกรรมการผังเมือง
ขณะที่ผังเมืองรวมอำเภออื่นๆ จะเสร็จตามกันมาเป็นลำดับ โดยผังอำเภอที่อยู่ในขั้นตอนที่ 3 มีจำนวน 3 ผัง ได้แก่ สัตหีบ ศรีราชา บางละมุง ขณะที่อยู่ในขั้นตอนที่ 2 จำนวน 2 ผัง ได้แก่ เกาะสีชัง เกาะจันทร์ และอยู่ในขั้นตอนที่ 1 จำนวน 4 ผัง ได้แก่ เมืองชลบุรี พานทอง พนัสนิคม บ่อทอง
นอกนี้ การจัดทำผังเมืองจังหวัดชลบุรีครอบคลุมพื้นที่ 11 อำเภอ แบ่งเป็น พื้นที่เภูเขาสำหรับการเกษตร และ พื้นที่ทะเลเป็นพื้นที่สำหรับการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรม ซึ่งจะมีการกำหนดแผนผังเพิ่มเติม 5-6 แผนผัง ประกอบด้วย แผนผังแสดงที่โล่ง แผนผังแสดงโรงการคมนาคมและการขนส่ง แผนผังโครงการสาธารณูปโภค สาธารณูปการ แผนผังน้ำ แผนผังแสดงแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
รวมถึงมีการกำหดนค่าอัตราส่วนพื้นที่อาคารต่อพื้นที่ดิน อัตราส่วนพื้นที่อาคารปกคลุมดินต่อพื้นที่ดิน และการกำหนดทุกการก่อสร้างแปลงที่ดิน 50% ที่เหลือต้องเป็นพื้นที่น้ำซึมผ่าน เพื่อลดปัญหาน้ำท่วม
รวมทั้งการจัดทำผังเมืองจะสอดรับกับ “บีซีจีโมเดล” ซึ่งนโยบายสำคัญของรัฐ เกี่ยวข้องกับ 4 สาขา ได้แก่
ด้านการเกษตร ครอบคลุมเกษตรอัจฉริยะ Smart Greenhouse เกษตรแม่นยำ พืชเศรษฐกิจและปศุสัตว์ชนิดใหม่ การถ่ายภาพทางดาวเมียม
ด้านพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ ครอบคลุมโรงไฟฟ้าไบโอแมส โรงไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน โรงกลั่นชีวภาพ อุตสาหกรรมโอเลโอเคมี
ด้านสุขภาพและการแพทย์ ครอบคลุมยีนบำบัด วัคซีนและยาชีววัตถุคล้ายคลึง เครื่องมือการแพทย์ ข้อมูลจีโนมเพื่อการรักษาเฉพาะบุคคล การแพทย์ทางไกล และการสกัดสมุนไพร
ด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ครอบคลุมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การท่องเที่ยวแบบยั่งยืนและผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์
อาทิ กำหนดให้แำเภอเมืองชลบุรีเป็นเมืองท่องเที่ยวและศูนย์กลางของจังหวัด อำเภอบางละมุงเป็นเมืองท่องเที่ยวและสุขภาพ อำเภอเกาะสีชังเป็นเมืองท่องเที่ยวและประวัติศาสตร์ อำเภอศรีราชาเป็นเมืองอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ ขณะที่กลุ่มเมืองด้านเกษตรกรรม ประกอบด้วย อำเภอบ้านบึง บ่อทอง หนองใหญ่ และเกาะจันทร์ ส่วนอำเภอสัตหับเป็นเมืองที่พักอาศัย
ทั้งนี้ การทำผังเมืองรวมอำเภอร่วมกับผังอีอีซีจะมีการเพิ่มเติมโครงการพัฒนาเมืองร่วมอยู่ในผังด้วย ภายใต้แนวคิด 2 อย่าง ประกอบด้วย
1.เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ได้แก่ น้ำท่วมบริเวณถนนสุขุมวิท โครงการพัฒนาพื้นที่ชุมชนบ้านอำเภอ โครงการปรับปรุงสวนสาธารณะเขาชีจรรย์ โครงการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ ถนนสาย ฌ6 ส่วนต่อจากสะพานชลมารควิถี และโครงการเขาคันทรงสมาร์ทซิตี้ เพื่อเป็นแลนด์มาร์คใหม่ มีการสร้างอาคารประหยุดพลังงาน โดยจะมีการจัดรูปที่ดินและทำผังการใช้ประโยชน์ที่ดินและผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะ
2.การเพิ่มเติมสิ่งที่ขาดสำหรับผังเมืองรวมอำเภอ ได้แก่ การทำโครงการพัฒนาพื้นที่ชุมชนตำบลสัตหีบ โครงการก่อสร้างสะพานชลมารควิถีส่วนต่อขยาย โครงการพัฒนาลานกิจกรรมและจุดชมวิวรอบเขาสามมุข
“การพัฒนาเมืองต่อจากนี้ภายหลังสถานการณ์โควิด จะประกอบด้วยแนวคิดความพอเพียง การทำเกษตรด้วยโมเดลบีซีจี แก้ปัญหาแรงงาน ลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิต หรือทำน้อยแต่ได้มาก”