นาทีทอง “หุ้นเกษตร-อาหาร “ ต้นทุนลงความต้องการพุ่ง
หุ้นที่เป็นดาวเด่นจากความต้องการ และยอดขายที่มีมาอย่างต่อเนื่อง กลุ่มธุรกิจอาหารมีความได้เปรียบในช่วงนี้ค่อนข้างมาก และราคาหุ้นปรับตัวแข็งกว่าตลาดหุ้น จากสถานการณ์ขาดแคลนอาหารโลก การกักตุนอาหารราคาคอมมูนิตี้ที่ต้นทุนมีการปรับลงมาในช่วงนี้
ช่วงเดือนเม.ย.- พ.ค. ที่ผ่านมา ทั่วโลกเผชิญการขาดแคลนอาหารหลังประเทศผู้ผลิตประกาศงดส่งออกสินค้าวัตถุดิบสำคัญอย่างต่อเนื่อง อาทิ อินโดนีเซียงดส่งออกน้ำมันปาล์ม,มาเลเซียงดส่งออกไก่,อาร์เจนตินา จำกัดการส่งออกเนื้อวัว,อินเดีย ประกาศห้ามส่งออกข้าวสาลี และอีกหลายประเทศ
รวมแล้วมีการประกาศออกมามากถึง 30 ประเทศทั่วโลกได้ใช้มาตรการจำกัดการส่งออกอาหาร พลังงาน และสินค้าโภคภัณฑ์ เพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงทางอาหารให้กับคนในชาติ ขณะที่ธนาคารโลก คาดการณ์ว่า ปี 2565 ราคาสินค้าทั่วโลกจะปรับตัวสูงขึ้น 37% หรือสูงสุดในรอบ 60 ปี
สาเหตุหลักมาจากต้นทุนวัตถุดิบในสินค้าคอมมูนิตี้ และซอฟท์คอมมูนิตี้ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยืดเยื้อ จนทำให้เกิดเงินเฟ้อในประเทศเป็นทิศทางขาขึ้น ราคากากถั่วเหลืองเฉลี่ยอยู่ที่ 451ตันต่อดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 18% เทียบกับราคาเฉลี่ยปี 2564 ที่ 383 ตันต่อดอลลาร์ ราคาข้าวสาลีในตลาดโลกอยู่ที่ 1,100 บุชเชอร์ต่อดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 44% (YTD)เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตาม อีกด้านของสถานการณ์ดังกล่าวการคลายมาตรการปิดประเทศ เปิดรับนักท่องเที่ยว และการกลับมากระตุ้นในอุปโภค-บริโภค ในประเทศแทบเอเชีย กลายเป็นแรงบวกเพื่อลดแรงเสียดทานจากปัจจัยลบข้างต้น
สถานการณ์ราคาสินค้าคอมมูนิตี้ และซอฟท์คอมมูนิตี้เริ่มมีทิศทางปรับตัวลงตามราคาน้ำมัน จึงทำให้เป็นนาทีทองของกลุ่มหุ้นอาหารลดต้นทุนสินค้าท่ามกลางความต้องการบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น สะท้อนได้จาก ดัชนีราคาอาหารโลก UN Food Price Index เดือนมิ.ย. ลดลงเดือนที่ 3 ติดต่อกันสู่ 154.25 จุด จาก 157.94 จุด ในเดือนพ.ค.
ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) หยวนต้า (ประเทศไทย) การฟื้นตัวของธุรกิจฟาร์มหมูในปี 2565 จากแนวโน้มการฟื้นตัวของ GPM ที่ อาจน้อยกว่าคาดไว้ ด้วยแนวโน้มราคาต้นทุนการเลี้ยงที่ยังสูงขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม คาดจะยังเห็นการเติบโตของกำไรจากฐานต่ำในปีก่อนได้
ปัจจุบันราคาเฉลี่ยหมูหน้าฟาร์มอิงสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ( YTD) อยู่ที่ 99 บาท/กิโลกรัม (+27%YoY) ช่วยชดเชยต้นทุนที่สูงขึ้นได้บางส่วน ส่วนราคาหมูในจีนปัจจุบันอยู่ที่ 12 หยวนต่อกิโลกรัม ลดลง 28% (YTD) จากปริมาณหมูที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดราคาหมูในประเทศปี 2565 จะยังทรงตัวสูงตลอดปีจากอุปทานหมูที่ลดลงจากภาวะโรคระบาดหมูช่วงปลายปี 2564
ขณะที่ราคาไก่หน้าฟาร์มเฉลี่ยอยู่ที่ 40 บาท/กิโลกรัม(+24%YoY) ราคาปัจจุบันอยู่ที่ 41 บาท/กิโลกรัม สูงกว่าราคาที่รัฐขอความร่วมมือควบคุมราคา คาดว่ามีโอกาสที่ราคาไก่หน้าฟาร์มจะสูงขึ้นได้ต่อเพื่อสะท้อนต้นทุนการเลี้ยงที่สูงขึ้น และเป็นสินค้าทดแทนหมูได้
นอกจากนี้กลุ่มฟาร์มไก่มีประเด็นบวกเฉพาะตัวด้านการส่งออก 3 ประเด็น ได้แก่
1. ซาอุดีอาระเบีย อนุญาตให้นำเข้าไก่จากไทยได้ซึ่งปกตินำเข้าไก่ปีละราว 6 แสนตัน ถือว่าเป็นตลาด ขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับไทยที่ส่งออกไก่ปีละ 9 แสน ถึง 1 ล้านตัน การมีตลาดใหม่แต่ Supply เท่าเดิมเชื่อ ว่าจะช่วยหนุนให้ราคาตลาดส่งออกขยับสูงขึ้น ลดผลกระทบของต้นทุนที่สูงขึ้นอีกทางหนึ่ง และได้ประโยชน์ ในทางอ้อมคือ Supply ไก่ในประเทศที่จะลดลงจากการส่งออกไปซาอุฯ ที่เป็นตลาดใหม่มากขึ้น หนุนราคาขายไก่ทั้งในประเทศ และราคาส่งออก
2. ฮ่องกง นำเข้าสัตว์ปีกปีละราว 6 – 8 แสนตัน ประกาศระงับการนำเข้าสัตว์ปีกจากบางพื้นที่ของสหรัฐจากการแพร่ระบาดของเชื้อ H5N1 ในไทยมีโอกาสส่งออกเพิ่มส่วนแบ่งตลาด จากเดิมที่ราว 5% และ 3 ค่าเงินบาทอ่อนค่าหนุนรายได้ และ GPM ของยอดส่งออก
3. ประเด็นข้างต้นเป็นบวกกับธุรกิจฟาร์มไก่ในไทยทั้ง CPF, GFPT, TFG
ส่วนกลุ่มผลิต และส่งออกอาหารเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบรองจากกลุ่มฟาร์มสัตว์บก เนื่องด้วยลักษณะของ ธุรกิจที่มี GPM ไม่สูง เน้นปริมาณขายเป็นหลัก จึงทำให้กำไร Sensitive ต่อราคาต้นทุนที่สูงขึ้น
อย่างไรก็ ตามหุ้นภายใต้ Coverage ในกลุ่มย่อยนี้อย่าง SUN และ TU มีสัดส่วนธุรกิจที่เป็น OEM สูง และมีกลยุทธ์การตั้งราคาแบบ Cost plus pricing ทำให้มีความสามารถในการทยอยปรับขึ้นราคากับลูกค้าได้ ดังนั้นจึงประเมินว่าผลจากต้นทุนขายที่สูงขึ้น 5% จะกระทบประมาณการทั้งปีต่ำกว่า 5%
พิสูจน์อักษร....สุรีย์ ศิลาวงษ์