PJW - ซื้อ
เริ่มเข้าสู่โหมดเก็บเกี่ยวในปี 20
ประเด็นสำคัญในการลงทุน :
- คาดผลประกอบการผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว
ใน 3Q19 บริษัทมีผลขาดทุนสุทธิ 17.2 ล้านบาท เนื่องจากมีผลขาดทุนชั่วคราวในช่วงต้นของงานขายเชิงพาณิชย์ของผลิตภัณฑ์ใหม่ในส่วนของโรงงานที่เจียงซูประมาณ 12.6 ล้านบาท และโรงพ่นสี 13.3 ล้านบาท ซึ่งผลขาดทุนดังกล่าว จะเกิดขึ้นในช่วง 2-3 เดือนแรก อย่างไรก็ตามเราคาดผลประกอบการได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และจะเริ่มมีพัฒนาการที่ดีขึ้นตั้งแต่ 4Q19 เป็นต้นไป โดยเราคาดรายได้ 4Q19 ราว 771.3 ล้านบาท เติบโต +7.1%QoQ และทรงตัว -0.3%YoY หลังจากการออกจำหน่ายผลิตภัณฑ์ใหม่จะทยอยแล้วเสร็จและสามารถออกขายเชิงพาณิชย์ได้ในช่วง 4Q19 และจะมีรายได้จากโรงงานที่เจียงซูเข้ามาครั้งแรกหลังล่าช้ากว่ากำหนด ประกอบแรงหนุนจากคำสั่งซื้อที่เข้ามาจากการเติบโตของยอดขายนิวโมเดลของชิ้นส่วนยานยนต์ เราประมาณการกำไรสุทธิ 4Q19 ที่ระดับ 7.3 ล้านบาท พลิกจากขาดทุนสุทธิใน 3Q19 และเพิ่มขึ้น +6.3%YoY
- โรงงานที่จีนหนุนผลประกอบการปี 20
คาดผลประกอบการปี 20 จะเริ่มมีพัฒนาการที่ดีขึ้นจากปีก่อน โดยมีสาเหตุหลักจาก 1)ได้แรงหนุนจากการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ของสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทย ที่จะเริ่มรับรู้รายได้เข้ามาเต็มปีครั้งแรก 2)มีการรับร้ายได้จากโรงงานใหม่ที่เจียงซูประเทศจีนเข้ามาราว 280-300 ล้านบาท/ปี 3)ทิศทางการฟื้นตัวสินค้าประเภทบรรจุภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่น ที่ Order เริ่มทยอยกลับมา เราคาดรายได้ปี 20 ที่ระดับ 3,405.9 ล้านบาท เติบโต +9.0%YoY ส่วน Gross Margin ปี 20 คาดว่าจะปรับตัวขึ้นสู่ระดับปกติแถว 14.50% จาก 13.7% ในปี 19 จากทิศทางต้นทุนเม็ดพลาสติกที่เริ่มลดลง ประกอบกับโรงงานที่จีนเริ่มสร้างรายได้ เราคาดกำไรสุทธิปี 20 ราว 54.0 ล้านบาท เติบโตโดดเด่น +305.9%YoY
- เริ่มต้นแนะนำ “ซื้อ” ด้วยราคาเหมาะสมปี 20 ที่ 62 บาท
ปี 19 นับเป็นปีแห่งการลงทุนของ PJW ส่งผลให้ประกอบการถูกกดดันจากค่าใช้จ่ายในการตั้งโรงงานและการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งเรามองว่าผลประกอบการได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และจะเริ่มเข้าสู่โหมดเก็บเกี่ยวในปี 20 นี้ จึงนับเป็นโอกาสดีในการกลับเข้าลงทุน เราเริ่มต้นคำแนะนำ “ซื้อ” โดยประเมินราคาเหมาะสมอิงค่าเฉลี่ย PER ย้อนหลัง 5 ปีที่ระดับ 18 เท่า ได้ราคาเหมาะสมปี 20 เท่ากับ 1.62 บาท ยังมี Upside จากราคาปัจจุบันราว 35.0%
ความเสี่ยง
- ความเสี่ยงจากเศรษฐกิจชะลอตัว
- ราคาวัตถุดิบเม็ดพลาสติกผันผวน
3. การเปลี่ยนแปลงจากกระแสและพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภค