บริษัทต้องรู้! ‘BCP’ แผนประคองกิจการ รับมือโรคระบาด ‘COVID-19’ 

บริษัทต้องรู้! ‘BCP’ แผนประคองกิจการ รับมือโรคระบาด ‘COVID-19’ 

ในช่วงที่ไวรัสโคโรน่าแพร่ระบาดและขยายเป็นวงกว้าง ส่งผลกระทบต่อหลายภาคส่วน รวมถึงภาคธุรกิจด้วย แล้วแต่ละองค์กรจะต้องเตรียมแผนรับมือเพื่อป้องกันหรือประคองธุรกิจให้ผ่านพ้นไปได้อย่างไรบ้าง

ในช่วงสภาวะวิกฤติ โดยเฉพาะการระบาดของโรคอุบัติใหม่ “COVID-19” ที่กำลังแพร่ระบาดหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย แน่นอนว่าเป็นเรื่องที่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดขึ้น แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว คำถามสำคัญที่ต้องตอบ คือ นอกจากนโยบายจากภาครัฐแล้ว แต่ละบริษัทจะมีแผนประคองกิจการภายในองค์กร (Business Continuity Plan : BCP) เพื่อเตรียมรับมือและความพร้อมอย่างไรบ้าง?

จากข้อมูลของสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ที่ได้ทำ คู่มือการจัดทำแผนประคองกิจการภายในองค์กร เพื่อเตรียมความพร้อม : กรณีการระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ ขึ้นในปี 2552 แม้ยังไม่มีการระบาดของโรคโควิด-19 แต่ที่ผ่านมามีการระบากของโรคซาร์ส โรคไข้หวัดนก โรคไข้หวัดใหญ่ 2009 เป็นต้น

158339642043


โดยมี 6 เรื่องสำคัญที่ต้องจัดทำในแผนประคองกิจการ กรณีเกิดโรคระบาด ได้แก่ 

1.การรับมือกับผลกระทบของการระบาดใหญ่ต่อ “องค์กร”

ในส่วนนี้ต้องกำหนดให้มีผู้ประสานงานหลักและทีมงานที่รับผิดชอบ รวมถึงบุคลากร อีกทั้งต้องมีการประมาณการผลกระทบ ติดตามข้อมูลเกี่ยวกับการระบาด และจัดทำแผนการติดต่อสื่อสารฉุกเฉิน พร้อมทดสอบความพร้อมของแผน

2.การรับมือกับผลกระทบของการระบาดใหญ่ต่อ “บุคลากร และลูกค้า”

บริษัทควรคาดการณ์และอนุญาตให้บุคลากรหยุดงานในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ ซึ่งในกรณีนี้อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น บุคลากรป่วยเอง คนในครอบครัวป่วย เป็นต้น ต้องมาตรการกักกันและจำกัดพื้นที่การระบาด ขณะเดียวกันต้องมีการกำหนดแนวทางในการปฏิบัติตนเพื่อลดการติดต่อจากคนสู่คน และประเมินว่าบุคลากรมีความสามารถในการเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพได้สะดวกมากน้อยเพียงใด 

3.การกำหนดหลักเกณฑ์ที่ต้องดำเนินการในระหว่างเกิดการระบาด

ประเด็นนี้นับเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเช่นเดียวกัน บริษัทต่างๆ ควรจัดทำแนวทางในการจ่ายค่าตอบแทนให้กับบุคลากรที่หยุดงานจากการเจ็บป่วยในช่วงระบาด จัดทำแนวทางป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในสถานที่ทำงาน กรณีเมื่อพบบุคลากรต้องสงสัยว่าป่วยต้องมีแนวทางในการดำเนินงานที่เหมาะสม เช่น การควบคุมการติดเชื้อ การแยกผู้ป่วย หรือการให้หยุดงาน 

นอกจากนี้ต้องจัดทำหลักเกณฑ์ห้ามการเดินทางไปในพื้นที่ที่มีการระบาดทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการย้ายบุคลากรออกจากพื้นที่ระบาด อีกทั้งจะต้องมีการแต่งตั้งผู้มีอำนาจสั่งการ ส่งสัญญาณเตือนภัย ในการดำเนินการแผนอย่างเร่งด่วย 

4.การจัดสรรทรัพยกรเพื่อป้องกันบุคลาดรและลูกค้าในระหว่างเกิดการระบาด 

ไม่เพียงแต่การจัดหาอุกรณ์ป้องกันการติดเชื้อให้เพียงพอเท่านั้น เช่น หน้ากากอนามัย ถุงมือ สบู่ น้ำยาฆ่าเชื้อ ฯลฯ ยังต้องจัดหน่วยให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ ที่สามารถให้คำแนะนำในกรณีฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงทีด้วย 

5.การติดต่อสื่อสารและการให้ความรู้แก่บุคลากร 

บริษัทต้องมีสื่อให้ความรู้เบื้องต้นของการระบาดของโรคอุบัติใหม่ สื่อสารด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย รวมถึงต้องเผยแพร่แผนการรับมือของบริษัทด้วย ในทางเดียวกันต้องบรรเทาความตื่นตระหนกของบุคลากร 

6.การประสานงานกับองค์กรภายนอก และการช่วยเหลือชุมชน 

เป็นการประสานกับสำนักงานประกันสังคม องค์กรสาธารณสุข และสถานบริการสาธารณสุขในชุมชน เพื่อแลกเปลี่ยนแผนการเตรียมพร้อมรับการระบาดของโรค ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม บริษัทขนาดใหญ่มักจะทำแผน BCP อยู่แล้ว แต่สำหรับบริษัทขนาดเล็กหรือเอสเอ็มอี อาจต้องทบทวนจัดทำแผนนี้เช่นกัน เพื่อป้องกันโรคโควิด-19 หรือเป็นอีกหนึ่งแนวทางเพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือโรคระบาดใหม่ในอนาคต 


ที่มา : moph