"Bank" Sector (11 มี.ค.63)
ราคาหุ้นถูกมาก เกือบเท่าช่วงวิกฤติปี 2540 แล้ว
Event
อัพเดตแนวโน้มกลุ่มธนาคาร
Impact
ปรับลดประมาณการกำไรของกลุ่มธนาคารในปี 2563/64 ลงปี ละ 19%
หลังจากที่เราปรับลดประมาณการ GDP ลงเป็นติดลบ -0.1% (จากเดิมที่ +2%) เราก็ปรับลดประมาณการกำไรปี 2563/64 ของกลุ่มธนาคารลงปีละ 19 จากการปรับอัตราการขยายตัวของสินเชื่อลง 2% ปรับลด NIM ลง 12bps และเพิ่มคชจ.สำรองฯ/สินเชื่อ (credit cost) อีก 30-40 bps โดยหลังจากปรับประมาณการแล้วทำให้อัตราการเติบโตของกำไรกลุ่มธนาคารปี 2563/2564 อยู่ที่ -23%/+3% โดยเราคาดว่ากำไรของ SCB จะลดลง 37% ของ KBANK จะลดลง 31% ของ KTB จะลดลง 30% ของ KKP จะลดลง 25% ของ TISCO จะลดลง 14% และของ TCAP จะลดลง 12% ทั้งนี้ ประมาณการของเราได้รวมผลกระทบจากที่คาดว่าจะมีการลดดอกเบี้ยนโยบายอีก 50bps ไว้แล้ว โดยเราคาดว่าจะกดดันให้ NIM ลดลง 12bps และทำให้ credit cost ของ KTB และ SCB เพิ่มขึ้นอีกธนาคารละ 30bps และทำให้ของ KBANK เพิ่มขึ้นอีก 40bps
คาดว่า NPL จะเพิ่มขึ้นถึง 30-40% ใน 1H63
เราคาดว่าเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงอย่างมากใน 1H63 จะทำให้สัดส่วน NPL ของ SCB, KTB, BBL เพิ่มขึ้น 30% ในขณะที่คาดว่าธนาคารที่มีการปล่อยกู้ SME สูงอย่าง KBANK จะเพิ่มขึ้นถึง 40% เราคาดว่าผลขาดทุนจากการขายรถที่ยึดมาจะกดดันให้ credit cost ของ TMB และ KKP เพิ่มขึ้น ในขณะที่
ค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนที่ลดลง (อย่างเช่นค่าธรรมเนียม AM และกำไรจากการค้าหลักทรัพย์) จะกดดันให้ TISCO และ KKP เราคาดว่า credit cost ของธนาคารจะสูงกว่าที่วางแผนเอาไว้ 30-40% แต่อย่างไรก็ตาม มีเพียง BBL เท่านั้นที่เราคาดว่า credit cost จะคงไว้ได้ตามแผนที่ 70bps (จาก
100bps ในปี 2562) เนื่องจากมีการตั้งสำรองหนี้เสียก้อนใหญ่ไปแล้วในปี 2562 และสัดส่วน NPL coverage ก็สูง
ใช้สมมฐาน NPL coverage ไว้ที่ 125-130% เป็นตัวประมาณ credit cost ใหม่
เราได้ทำการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง ( sensitivity) ของ credit cost ที่เปลี่ยนไป เมื่อ NPL เกิดใหม่เพิ่มขึ้นในช่วง 10% - 60% เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของ NPL coverage โดยเราใช้ NPL coverage ที่ 125-130% เป็นระดับที่จะทำให้ธนาคารส่วนใหญ่น่าจะพยายามคงเอาไว้ ทั้งนี้เราใช้สมมติฐานค่ากลางที่ NPL น่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 40% สำหรับ KBANK และนั่นทำให้ NPL coverage ของ KBANK จะอยู่ที่ 120% ดังนั้นการผลักดันให้ NPL coverage กลับขึ้นมาในช่วง 125-130% จะทำให้ KBANK ตั้งสำรองเพิ่ม 20-40bps ซึ่งจะฉุดให้กำไรลดลง 6-12% และในกรณีเดียวนี้กำไรของ SCB จะลดลง 6-18% ของ KTB จะลดลง 6-20% และของ TMB จะลดลง 9-17%
ปี 2563 ยังดีกว่าเมื่อปี 2540
เราลองเปรียบเทียบ P/BV ในปัจจุบันกับข้อมูลในอดีตตอนที่หุ้นกลุ่มธนาคารถูกเทขายอย่างหนักในช่วงปี 2551 และปี 2540 และพบว่าตอนปี 2551 หุ้นธนาคารถูกเทขายจากวิกฤติสถาบันการเงินของสหรัฐได้ก่อให้เกิดแรงกระเพื่อมในตลาดการเงินทั่วโลก ฉุดให้ P/BV ของหุ้นกลุ่มธนาคารไทยในช่วงนั้นร่วงลง
มาอยู่ที่ 0.6x ส่วนเมื่อปี 2540 แรงเทขายเกิดจากการที่ฟองสบู่แตก ทำให้ราคาสินทรัพย์เสื่อมค่าลง และ P/BV ของ 4 ธนาคารใหญ่ร่วงลงมาเหลือแค่ <0.5x ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบภาวะเศรษฐกิจ และปัจจัยพื้นฐานของธนาคารแต่ละแห่ง เราพบว่าสภาวะของสี่ธนาคารใหญ่ในปัจจุบันไม่ได้ย่ำแย่เหมือน
เมื่อปี 2540 เนื่องจาก 1.) ไม่ได้เกิดภาวะฟองสบู่ และสินทรัพย์ไม่ได้เสื่อมค่าลง ดังนั้น ธนาคารคจึงไม่จำเป็นต้องปรับลดมูลค่าหลักประกัน 2.) มีตั้งสำรองหนี้สูญในระดับที่มั่นคง 3.) สัดส่วน NPL ก็ต่ำกว่า และ 4.) ฐานเงินทุนแข็งแกร่ง และไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการแทรกแซงของภาครัฐในการเพิ่มทุน ดังนั้น
เมื่อราคาหุ้นตกหนักขนาดนี้ เราจึงปรับเพิ่มคำแนะนำหุ้น BBL และ KTB จากถือเป็นซื้อ
Risks
NPL เพิ่มขึ้น และกันสำรองเพิ่มขึ้น รายได้ค่าธรรมเนียมลดลงอย่างมาก และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเร่งตัวขึ้น