'www.เยียวยาเกษตรกร.com' มีเงินให้ 'เกษตรกร' จากที่ไหนอีกบ้าง?
รวมแหล่งเงินทุน สินเชื่อ ที่กลุ่ม "เกษตรกร" ไทยสามารถเข้าถึงนอกจาก "www.เยียวยาเกษตรกร.com" และสามารถช่วยเพิ่มสภาพคล่องได้ทั้งในช่วงวิกฤติ "โควิด-19" และสถานการณ์ปกติ
"เงินเยียวยาเกษตรกร" 15,000 บาทผ่านการลงทะเบียน www.เยียวยาเกษตรกร.com นับเป็นอีกหนึ่งนโยบายที่เข้ามาช่วยเหลือกลุ่ม "เกษตรกร" ที่ได้รับผลกระทบจากทั้งโควิด-19 บางส่วนแล้ว ยังได้รับผลกระทบจากภัยแล้งธรรมชาติต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแทบทุกปี อย่างภัยแล้งด้วย
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- ‘เกษตรกร’ โอด ‘เงินเยียวยา’ เลือกปฏิบัติ! เผย 5 เรื่องด่วนเร่งรัฐช่วย
- เช็คเลย! ‘เกษตรกร’ 3 กลุ่มรับ ‘เงินเยียวยาเกษตรกร’ ใครได้เงินบ้างใน พ.ค.นี้
- เช็คที่นี่ล่าสุด www.เยียวยาเกษตรกร.com โอนเงินวันละ 1 ล้านคน
- ตรวจสอบสิทธิ์ ‘www.เยียวยาเกษตรกร.com’ ถ้าขึ้นทะเบียนทั้งครอบครัว จะมีใครได้เงินบ้าง?
ดังนั้น จึงไม่ได้มีเพียง "เงินเยียวยาเกษตรกร" ที่จะเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับเกษตรกรเท่านั้น แต่ยังมีสินเชื่อ และการช่วยเหลืออื่นๆ จากภาครัฐที่เกษตรกรมีสิทธิได้รับ โดย "กรุงเทพธุรกิจ" รวบรวมแหล่งสินเชื่อ และเงินช่วยเหลือต่างๆ ของกลุ่มเกษตรกร ดังนี้
สินเชื่อต่างๆ สำหรับเกษตรกร
- สินเชื่อฉุกเฉิน ธ.ก.ส. สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัส COVID-19
รายละเอียดเบื้องต้นสำหรับ สินเชื่อฉุกเฉิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
- วงเงินกู้ไม่เกิน 10,000 บาท
- อัตราดอกเบี้ย 0.1% ต่อเดือน
- ไม่ต้องใช้หลักประกัน
- ระยะเวลาจ่ายสินเชื่อ ยื่นขอสินเชื่อได้ตั้งแต่วันที่ 15 เม.ย. 63 นัดทำสัญญาวันที่ 7 พ.ค. 63 ถึง 30 ธ.ค. 63
- ระยะเวลาชำระ ปลอดการชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือนแรกนับจากวันกู้, กำหนดชำระคืนแล้วเสร็จภายใน 2 ปี 6 เดือนนับจากวันกู้ และสามารถแบ่งงวดชำระได้ตามความสามารถในการชำระคืน เช่น งวดชำระรายเดือน (24 งวด) ส่งชำระต่องวดประมาณ 429.17 บาท ราย 3 เดือน (8 งวด) 1,287.50 บาท ราย 6 เดือน (4 งวด) 2,575.00 บาท
คุณสมบัติผู้กู้ เป็นเกษตรกรและครอบครัวของเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องใช้เงินฉุกเฉิน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดจากโควิด-19 สามารถขอสินเชื่อได้จนกว่าวงเงินจะหมด ทั้งนี้ไม่เกินวันที่ 30 ธันวาคม 2563
กรณีเป็นลูกค้าเงินกู้ ธ.ก.ส.อยู่แล้ว
กรณียังไม่เป็นลูกค้าเงินกู้ ธ.ก.ส.
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:
เกษตรกร ส่วนใหญ่มีบัญชีเงินฝากของ ธ.ก.ส. อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นสำหรับลูกค้าผู้ฝากเงิน ของ ธ.ก.ส. หรือ ลูกค้าสลากออมทรัพย์ ของ ธ.ก.ส. ทั้งบุคคลธรรมดาผู้บรรลุนิติภาวะตามกฎหมาย และนิติบุคคลต่างๆ สามารถของวงเงินกู้นี้เพื่อเป็น ค่าใช้จ่าย หรือเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของท่าน และบุคคลในครอบครัวได้
วงเงินกู้
เพียงแค่มียอดเงินฝากในบัญชีขั้นต่ำ 10,000 บาท กู้ได้สูงสุดถึงร้อยละ 90 ของเงินฝาก หรือสลากออมทรัพย์ที่ใช้ค้ำประกัน
อัตราดอกเบี้ย
- กรณีใช้เงินฝากประจำ หรือออมทรัพย์เป็นประกัน คิดอัตราดอกเบี้ยเท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากนั้นๆ บวก เพิ่มอีกร้อยละ 2 ต่อปี
- กรณีใช้สลากออมทรัพย์เป็นประกัน คิดอัตราดอกเบี้ยตามประกาศของ ธ.ก.ส.
ระยะเวลาการชำระคืน ไม่เกิน 1 ปี
หลักประกัน
เงินฝากที่ ธ.ก.ส. ออกสมุดคู่ฝาก ใบรับฝาก สลากออมทรัพย์
เอกสารประกอบการขอกู้
- สำเนาบัตรประชาชนผู้กู้ หรือผู้มีอำนาจทำการแทน(นิติบุคคล)
- สำเนาทะเบียนพาณิชย์/ทะเบียนการค้า หรือเอกสารอื่นที่แสดงว่าประกอบธุรกิจ เช่น ใบอนุญาตประกอบกิจการ เป็นต้น
* ทั้งนี้ ผู้กู้ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการกู้เงินฉบับละ 200 บาท
เงินช่วยเหลือ และเงินประกันอื่นๆ
- เงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว
รัฐบาลออกมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวผ่านโครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวข้าวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63 อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2562
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรลดภาระค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวข้าวและปรับปรุงคุณภาพข้าว โดยจะช่วยเหลือเกษตรกรไร่ละ 500 บาท ไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท วงเงินงบประมาณรวม 27,458.89 ล้าน
ระยะเวลาโครงการ
- ธันวาคม 2562 – 30 กันยายน 2563
- เริ่มจ่ายงวดแรกวันที่ 18 ธันวาคม 2562
ผู้มีสิทธิ์ได้รับเงิน
- เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2562 รอบที่1 กับกรมส่งเสริมการเกษตร
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จะเป็นผู้พิจารณาว่าเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีการเก็บเกี่ยวจริง และไม่ซ้ำซ้อนกับการจ่ายเงินภายใต้โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว
เงื่อนไขการรับเงิน
- พื้นที่เพาะปลูกที่ได้รับการช่วยเหลือ ต้องไม่ซ้ำซ้อนกับพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือโครงการเยียวยาผู้ประสบภัยธรรมชาติจากรัฐบาล
- เว้นแต่เกษตรกร จะนำพื้นที่ประสบภัยนั้น ไปแจ้งกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อเพาะปลูกข้าวใหม่ ทันในช่วงเวลาเพาะปลูกรอบที่ 1
เงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวข้าว ปี 62/63
- ครัวเรือนละ 1 สิทธิ์ อัตราไร่ละ 500 บาท ไม่เกิน 20 ไร่ หรือไม่เกิน 10,000 บาท
- เริ่มจ่ายเงินผ่าน ธ.ก.ส.ถึงมือเกษตรที่ขึ้นทะเบียนปี 62 จำนวน 4.57 ล้านครัวเรือน ตั้งแต่วันที่ 6 ธ.ค. 62 – 30 ก.ย.63
เงินสนับสนุนค่าปลูก ปี 62/63
- ขยายระยะเวลาการจ่ายเงินให้เกษตรกรจากเดิมสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2562 เป็นสิ้นสุดวันที่ 30 เมษายน 2563
ตรวจสอบการรับสิทธิ์โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิต ตรวจสอบรายชื่อ ได้ที่ https://chongkho.inbaac.com/
โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2563 เป็นอีกหนึ่งโครงการที่เข้ามาช่วยเหลือเกษตรกร โดยในปี 2563 ได้มีการปรับปรุงกรมธรรม์ข้าวนาปีให้มีความพิเศษ และเหมาะสมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวนาในการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งมีข้อความกรมธรรม์ประกันภัยและอัตราเบี้ยประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2563 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จำนวน 4 แบบกรมธรรม์ ดังนี้
1. กรมธรรม์ประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2563 เพื่อกลุ่มลูกค้าสินเชื่อเพื่อการเพาะปลูกข้าวของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) (รายละเอียด)
2. กรมธรรม์ประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2563 เพื่อกลุ่มเกษตรกรพื้นที่เสี่ยงภัยต่ำ
3. กรมธรรม์ประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2563 สำหรับกลุ่มเกษตรกรรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) และ
4. กรมธรรม์ประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2563 สำหรับกลุ่มเกษตรกรรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) ส่วนเพิ่ม