CKP - ซื้อ
ประเด็นสำคัญจาก conference call
การชะลอตัวของเศรษฐกิจจะไม่กระทบต่อแนวโน้มอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าพลังน้ำ เนื่องจากมีปัจจัยหนุน ได้แก่ (1) นโยบายด้านพลังงานของประเทศ และ (2) ต้นทุนการผลิตจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำเป็นแหล่งไฟฟ้าที่ถูกที่สุด ด้านปริมาณน้ำยังคงมีแนวโน้มที่จะดีขึ้นในเดือนพฤษภาคม ทั้งในโรงไฟฟ้า XPCL และ NN2 แต่ปริมาณการผลิตไฟฟ้ายังคงอยู่ระดับต่ำกว่าจุดคุ้มทุน ในขณะที่เราคาดว่าการผลิตไฟฟ้าใน BIC จะลดลงในเดือนพฤษภาคม สังเกตได้จากปริมาณขายน้ำของ TTW ในนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน ที่ลดลง 12% ในเดือนเดียวกัน เรามองว่าราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นของในช่วงที่ผ่านมาสะท้อนว่าปัจจัยบวกต่างๆ แล้ว (เช่น ปริมาณน้ำจะกลับสู่ระดับปกติใน 2H20) เราคงคำแนะนำ “ถือ” กำหนดราคาเป้าหมาย 4.50 บาทต่อหุ้น
การชะลอตัวของเศรษฐกิจจะไม่กระทบต่อแนวโน้มอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าพลังน้ำ
แม้ว่าการชะลอตัวทางเศรษฐกิจจะทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าลดลงในปีนี้ และอาจจะรวมถึงปีการชะลอตัวของเศรษฐกิจจะไม่กระทบแนวโน้มอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าพลังน้ำ เนื่องจากมีปัจจัยหนุนได้แก่ (1) ประเทศไทยมีนโยบายส่งเสริมความมั่นคงทางพลังงาน ด้วยการกระจายการผลิตไฟฟ้าไปในหลายรูปแบบมากขึ้น และ (2) ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำอยู่ที่ 2.00 บาทต่อหน่วย ซึ่งต่ำกว่าต้นทุนการผลิตไฟฟ้าในแหล่งอื่นที่มีต้นทุนเฉลี่ยราว 3.50 บาทต่อหน่วย
ไม่มีความกังวลเกี่ยวกับการ rolling over หุ้นกู้
หลังจากความสำเร็จในการออกหุ้นกุ้ในเดือนมีนาคม CKP เชื่อว่าบริษัทสามารถ roll over หุ้นกู้ที่จะหมดอายุในเดือนตุลาคมได้ รวมถึงข้อมูลจากงบการเงินแสดงให้เห็นว่าบริษัทมีเงินสดและเงินลงทุนระยะสั้นราว 5.2 พันล้านบาท และวงเงินกู้ที่ยังสามารถใช้ได้อีก 1 หมื่นล้านบาท
ปริมาณน้ำยังคงปรับตัวดีขึ้นในเดือน พ.ค. แต่ปริมาณการผลิตไฟฟ้ายังคงอยู่ระดับต่ำกว่าจุดคุ้มทุน
ปริมาณน้ำผ่านในโรงไฟฟ้าไซยะบุรี (XPCL) ในเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้น 1% mom มาสู่ระดับ 1,800 ลบ.ม. ต่อวินาที แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าจุดคุ้มทุนที่ 2,000 ลบ.ม. ต่อวินาที สำหรับปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนน้ำงึม 2 (NN2) เพิ่มขึ้น 6% mom สู่ระดับ 170 ล้าน ลบ.ม. ต่อเดือน ซึ่งมากกว่าจุดคุ้มทุนของปริมาณน้ำไหลออกเพื่อผลิตไฟฟ้าที่ 167 ล้าน ลบ.ม. ต่อเดือน อย่างไรก็ตาม CKP ได้วางแผนที่จะสำรองน้ำสำหรับช่วงเวลาที่เหลือของปี โดยบริษัทประกาศปริมาณการผลิตไฟฟ้าล่วงหน้าสำหรับเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนอยู่ที่ราว 70 GWh และ 110 GWh ตามลำดับ ซึ่งยังต่ำกว่าจุดคุ้มทุนที่ 120 GWh ต่อเดือน
คาดว่าปริมาณการผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้า BIC จะลดลงในเดือนพฤษภาคม
เราคาดว่าปริมาณการผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้า Bang pa-in Cogeneration (BIC) ในนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จะลดลงในเดือนพฤษภาคม สอดคล้องกับ TTW ที่รายงานปริมาณขายน้ำลดลง 12% ในเดือนเดียวกัน ทั้งนี้ความต้องการใช้ไฟฟ้าคาดว่าจะลดลงเนื่องจาก (1) ผลกระทบของ Covid-19 และ (2) นโยบายรัฐบาลในการลดการใช้น้ำเพื่อบริหารจัดการสถานการณ์ภัยแล้ง ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องต่อความต้องการใช้ไฟฟ้า