ผันผวนรอปัจจัยใหม่
ภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มถดถอยมากขึ้นหลัง IMF ปรับลดคาดการณ์ GDP จาก -3% เป็น -4.9% รวมถึง Fund flow ต่างชาติที่ยังคงไหลออกต่อเนื่องนั้นจะเป็นตัวกดให้ดัชนีอ่อนตัวลง
ตลาดหุ้นวานนี้
SET Index ปรับตัวลง -7.55 จุด ปิดที่ระดับ 1,326 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.0 หมื่นล้านบาท โดยมีความผันผวนแรงระหว่างวันร่วงหนักกว่า 27 จุด กังวลเศรษฐกิจโลกหดตัวหลัง IMF ลดคาดการณ์ World GDP เป็น -4.9% จากเดิม -3% อย่างไรก็ตามท้ายตลาดดัชนีเกิด Technical Rebound โดยมี Sentiment บวกจากตลาดหุ้นต่างประเทศที่กลับมาฟื้นตัวรับข่าวธนาคารกลางยุโรป (ECB) ออกมาตรการทางการเงินเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับสถาบันการเงินนอกยูโรโซน ส่วนนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 740 ล้านบาท แต่ซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตร 1,754 ล้านบาท และNet Long TFEX SET50 5,141 สัญญา
แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้
เรามีมุมมองเป็นกลางคาด SET แกว่งตัวในกรอบ 1,315 – 1,340 จุด โดยแม้ว่าภาวะตลาดจะได้ sentiment เชิงบวกจากตลาดหุ้นรอบบ้านที่ปรับตัวขึ้นตอบรับ ECB จะเสนอเงินกู้สกุลยูโรให้กับธนาคารกลางต่างๆนอกเขตยูโรโซนเพื่อช่วยเหลือผลกระทบ Covid-19 รวมถึงนายแลร์รี คุดโลว์ เผยว่ารัฐบาลสหรัฐจะไม่ล็อกดาวน์ประเทศรอบใหม่แม้ว่ายอดผู้ติดเชื้อไวรัส Covid-19 รายใหม่จะพุ่งขึ้นมาก โดยวานนี้เพิ่มขึ้นราว 3.8 หมื่นราย นอกจากนี้ดัชนียังได้แรงเก็งกำไรการทำ Window dressing ปิด 2Q20 อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มถดถอยมากขึ้นหลัง IMF ปรับลดคาดการณ์ GDP จาก -3% เป็น -4.9% รวมถึง Fund flow ต่างชาติที่ยังคงไหลออกต่อเนื่องนั้นจะเป็นตัวกดให้ดัชนีอ่อนตัวลง
กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy
- กลุ่ม Defensive ในช่วงตลาดผันผวน ( INTUCH TTW DIF )
- กลุ่มที่คาดว่างบ 2Q20 จะเติบโตขึ้น ( CKP TASCO STA )
- หุ้นที่เข้าคำนวณ SET 50 / 100 รอบใหม่ BPP TTW ACE BFIT DOHOME RBF SIRI SISB SPCG TVO WHAUP
หุ้นแนะนำวันนี้
- PTTGC (ปิด 45.5 ซื้อ/เป้า 50) ผลประกอบการผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว, คลาย lockdown ช่วยเพิ่มดีมานด์ทั้งฝั่งปิโตรฯและโรงกลั่น และยังได้เปรียบต้นทุนเพราะ PTTGC ใช้ก๊าซเป็นวัตถุดิบราคาจะปรับขึ้นช้ากว่าคู่แข่งที่ใช้นาฟทาซึ่งราคาจะปรับขึ้นตามราคาน้ำมันทันที
- BCH (14.9IAA Consensus 17.50) จำนวนผู้เข้าใช้บริการเริ่มฟื้นตัว ผลประกอบการผันผวนน้อยกว่าหากเทียบกับ BDMS และ BH เนื่องจากมีสัดส่วนรายได้มาจากกลุ่มลูกค้าประกันสังคม (SSO) ประมาณ 33% ของรายได้รวม เสมือนเป็น Recurring income ของธุรกิจเพราะรายได้คิดตามจำนวนผู้ประกันตนและรายได้ และมีสัดส่วนลูกค้าจากต่างชาติเพียง 10-12% ของรายได้รวมจึงได้รับผลกระทบจาก Covid-19 น้อยกว่าเมื่อเทียบกับ BDMS และ BH เช่นกัน
บทวิเคราะห์วันนี้
TU (ปิด 12.3 อัพเกรดเป็นซื้อ/เป้า 15.3)
ประเด็นสำคัญวันนี้
- (-) (-) ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)ประกาศห้ามธนาคารพาณิชย์จ่ายเงินปันผลและซื้อหุ้นคืน เพื่อรองรับความผันผวนที่จะเกิดขึ้นจากความไม่แน่นอนของจากการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 :เมื่อคืนที่ผ่านมากลุ่มธนาคารพาณิชย์มีข่าวดีเมื่อสหรัฐประกาศผ่อนคลายข้อกำหนดการลงทุนให้กับภาคธนาคาร ซึ่งจะทำให้ธนาคารขนาดใหญ่ของสหรัฐสามารถเข้าลงทุนในกองทุนร่วมลงทุน (venture capital) หรือกองทุนอื่นๆที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันได้ และยังยกเว้นการกันสำรองเงินสดสำหรับการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ระหว่างบริษัทในเครือ อย่างไรก็ตามเช้าวันนี้หุ้นกลุ่มธนาคารมี Sentiment เชิงลบหลังจาก Fed ประกาศห้ามธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐจ่ายเงินปันผล และ ซื้อหุ้นคืน โดยหากธนาคารพาณิชย์จะจ่ายปันผลสามารถทำได้แต่ให้อยู่ในระดับที่ไม่เกินกว่าระดับที่เคยจ่ายไปในช่วงก่อนหน้า อย่างไรก็ดีประกาศนี้อาจจะส่งผลเชิงลบต่อหุ้นในกลุ่มธนาคารของสหรัฐในกรอบจำกัด เนื่องล่าสุด Fed ประกาศผล Stress test ของธนาคารส่วนใหญ่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับที่ผ่านมาธนาคารขนาดใหญ่ของสหรัฐประกาศจะไม่ซื้อหุ้นคืนในช่วงวิกฤติ Covid-19 ระบาดกันไปแล้ว
- (+) น้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 71 เซนต์ จากข่าวผลสำรวจปริมาณการใช้รถตามเมืองหลักๆของโลกเริ่มฟื้นตัวเข้าใกล้ระดับปกติแล้ว : ราคาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 71 เซนต์ (+1.9%) ปิดที่ระดับ 38.72 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล นักลงทุนคาดหวังดีมานด์การใช้น้ำมันดิบจะทยอยฟื้นตัวตอบรับข่าว 1) สหรัฐรายงานยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน อาทิ เครื่องบิน รถยนต์ และเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้น 15.8% ในเดือน พ.ค. เทียบกับเดือน เม.ย.ตัว 18.1% และ 2) ทอมทอม บริษัทด้านเทคโนโลยี เปิดเผยผลสำรวจจากการรวบรวมข้อมูลปริมาณการใช้รถและถนนของเมืองหลักๆทั่วโลกบางแห่งพบว่ามีปริมาณการใช้รถเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับช่วงก่อนวิกฤติ Covid-19 แล้ว
- (+/-) ปัจจัยที่ต้องติดตาม สัปดาห์หน้าติดตามกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือน มิ.ย. และ สหรัฐรายงานตัวเลข Nonfarm payrolls : ปัจจัยที่ต้องติดตามสัปดาห์หน้า ปัจจัยในประเทศ ติดตาม ศบค.ชุดใหญ่พิจารณาปลดล็อกกิจกรรมเศรษฐกิจเฟส 5 และ เห็นชอบโครงการ Travel bubble ให้กับนักธุรกิจจากต่างชาติ และเข้าสู่ช่วงปิดไตรมาส มีโอกาสเห็นกองทุนทำราคาปิดเพื่อหนุน NAV (window dressing) และติดตาม Preview งบ 2Q20 ของกลุ่มธนาคาร ส่วนปัจจัยต่างประเทศยังต้องเฝ้าติดตามจำนวนผู้ติดเชื้อ Covid-19 ในสหรัฐ ว่าจะยังเร่งตัวขึ้นต่อเนื่องหรือไม่ ส่วนปัจจัยอื่นๆจะเกี่ยวเนื่องกับตัวเลขเศรษฐกิจ อาทิ การรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลัก (จีน ยุโรป และสหรัฐ) รวมไปถึงการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (Nonfarm payrolls) เดือน มิ.ย.เพื่อประเมินแนวโน้มตลาดแรงงานในสหรัฐ