ติดปีกเอสเอ็มอีโกดิจิทัล ฝ่าวิกฤติสูตร ‘ยูพีเอส’

ติดปีกเอสเอ็มอีโกดิจิทัล ฝ่าวิกฤติสูตร ‘ยูพีเอส’

เอสเอ็มอีเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจไทย และทางเลือกทางรอดเพื่อฝ่าวิกฤตินั้น มาจากการแสวงหาตลาด ผลิตภัณฑ์ ช่องทาง และเครื่องมือทางธุรกิจใหม่ๆ

“มร. รัสเซล รี้ด” กรรมการผู้จัดการ ยูพีเอส ประเทศไทยและเวียดนาม กล่าวว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยอันเนื่องมาจากวิกฤติโควิดได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจเอสเอ็มอีค่อนข้างมาก ซึ่งปัจจุบันเอสเอ็มอีที่มีสัดส่วนถึง 95% ของภาคธุรกิจรวมของประเทศไทย หรือประมาณ 40% ของจีดีพี และเอสเอ็มอียังมีสัดส่วนประมาณ 27% ของภาคการส่งออก จึงถือเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจการส่งออกที่สำคัญของอีกด้วย


อย่างไรก็ดี ่เศรษฐกิจไทยเวลานี้เริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น โดยธนาคารแห่งประเทศไทยคาดการณ์ว่าจีดีพีของไทยในปี2563 อาจลดลงถึง 8.1% จากการชะลอตัวของภาคการท่องเที่ยวและส่งออก ในช่วงไตรมาสแรก ปริมาณการส่งออกของไทยลดลง 1.8% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาและคาดว่าปีหน้าจะกลับมาโตได้ 5% ซึ่งคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย คาดว่าความสามารถในการควบคุมการระบาดของโรค อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต่ำ มาตรการในการช่วยเหลือลูกหนี้ และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เศรษฐกิจสามารถฟื้นตัวได้เร็ว


ทั้งนี้รัฐบาลไทยยังได้เริ่มอนุญาตให้มีการเดินทางเข้าประเทศสำหรับบุคคลบางประเภท เช่นนักธุรกิจ เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลมีความตั้งใจในการผลักดันธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ดังนี้
-วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 มีบุคคลต่างชาติในกลุ่มที่ได้รับอนุญาตกว่า 5 หมื่นคน ประกอบด้วยนักธุรกิจ แรงงานฝีมือ ช่างเทคนิคซ่อมเครื่องจักร ผู้เดินทางเพื่อรักษาพยาบาล นักเรียนโรงเรียนนานาชาติ และผู้ที่มีใบอนุญาตทำงานในไทย ทยอยเดินทางเดินเข้าสู่ไทย ภายใต้เงื่อนไขว่าต้องลงทะเบียนและกักตัว
-มีการพูดคุยถึงนโยบาย business bubble ซึ่งจะอนุญาตให้นักธุรกิจต่างชาติจากสิงคโปร์ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ฮ่องกง และจีน สามารถเดินทางเข้ามาช่วงสั้น ๆ ไม่ต้องกักตัว 14 วัน
-มีการพูดคุยถึงนโยบาย travel bubble กับจีน ญี่ปุ่น และประเทศความเสี่ยงต่ำอื่น ๆ เพื่อ กระตุ้นภาคการท่องเที่ยวในพื้นที่เฉพาะ เช่นกรุงเทพฯ และภูเก็ต


ภายใต้สภาวะความผันผวนนี้ เขามองว่าเอสเอ็มอีต้องรู้จักแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ การแตกไลน์ธุรกิจให้หลากหลาย
จะช่วยให้ธุรกิจเดินหน้าได้อย่างแข็งแกร่ง ทั้งนี้จากผลกระทบของการปิดร้านค้า การจำกัดการเดินทาง และมาตรการเว้นระยะห่าง หรือ Social Distancing ทำให้ “ช่องทางดิจิทัล” ได้กลายเป็นช่องทางและจุดสัมผัส (Touch Point) ที่สำคัญสำหรับทุก ๆธุรกิจได้ใช้เพื่อการรักษาและดึงดูดลูกค้า

ส่งผลให้อีคอมเมิร์ซในตลาดบีทูซีเติบโตอย่างต่อเนื่อง พบว่าผู้บริโภคในสหรัฐฯ อินเดีย เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ยังคงสั่งซื้อสินค้าแบบออนไลน์อย่างต่อเนื่อง อีคอมเมิร์ซในตลาดบีทูบีก็เติบโตเช่นกัน โดยคาดว่าจะมีอัตราเติบโตเฉลี่ยแบบทบต้น (CARG) ที่ 17.5%


"เอสเอ็มอีที่ยังเป็นมือใหม่ในระบบอีคอมเมิร์ซควรต้องรู้จักการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อดำเนินธุรกิจบนระบบ
และช่องทางนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ถูกต้องก็จะเป็นช่องทางลัดในการวางระบบ
เพื่อเข้าถึงลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ด้วยโซลูชั่นต่าง ๆ ที่ช่วยในด้านการติดตามตรวจสอบสถานะการส่งสินค้า เพิ่ม
ความยืดหยุ่น และระบบออโตเมชั่นต่าง ๆ"


ด้วยการมองหาทางเลือกต่าง ๆ ในการส่งสินค้าเพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าอย่างไม่สะดุด เพราะการล็อคดาวน์และข้อกำหนดในการควบคุมการเดินทางทางอากาศที่ผ่านมาได้ส่งผลอย่างชัดเจนให้ขีดความสามารถในการขนส่งสินค้าแบบธรรมดาทางอากาศลดลง และผู้ส่งสินค้ามีตัวเลือกในการขนส่งที่ลดลง ซึ่งหมายความว่าธุรกิจต้องมองหาตัวเลือกใหม่ ๆ เช่นการส่งสินค้าแบบด่วน จากที่ก่อนหน้านี้ คาร์โก้จะส่งแบบเฟรทฟอร์เวิร์ดเท่านั้น แต่หลังจากนี้ธุรกิจควรพิจารณาตัวเลือกแบบส่งสินค้าตรงสู่ลูกค้า แทนที่จะใช้แบบเฟรท เพราะไม่มีตัวเลือกการขนส่งแบบธรรมดาให้บริการ และลูกค้ายังต้องการได้รับสินค้าในเวลาที่สั้นที่สุด


ตลอดจนเอสเอ็มอีก็ต้องมองหา “ตัวช่วย” โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรการต่าง ๆของภาครัฐ เช่น กระทรวงการคลังได้ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ เช่น ต่าง ๆ การขอพักชำระดอกเบี้ยเงินกู้ และโครงการช่วยเหลือทางการเงินอื่น ๆ นอกจากนี้ธุรกิจเอสเอ็มอีประมาณ 1.7 ล้านราย ที่มีสิทธิ์ขอพักชำระดอกเบี้ยเงินกู้ 6 เดือน และขอกู้เงินจากมาตรการเงินกู้ดอกเบี้ยผ่อนปรน หรือซอฟต์โลน วงเงิน 500,000 ล้านบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย


สำหรับยูพีเอสเอง ได้กำหนดบทบาทเป็น “พันธมิตร” ที่เชื่อถือได้สำหรับเอสเอ็มอี ที่ให้การสนับสนุนด้านการบริหารซัพพลายเชนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากโลจิสติกส์เป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานที่มีความสำคัญยิ่งในภาวะวิกฤติ


จากมาตรการรักษาระยะห่าง ได้ส่งผลให้ทีมทำงานในทุกๆบริษัทมีขนาดเล็กลง มีการทำงานจากที่บ้าน หรือทำงานเป็นกะ ธุรกิจเอสเอ็มอีจึงควรรู้จักใช้เครื่องมือที่ช่วยติดตามตรวจสอบ ให้ข้อมูล แจ้งเตือนต่าง ๆเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงาน และเดินหน้าธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิผล มีประสิทธิภาพ


ซึ่งเครื่องมือและบริการต่าง ๆ ของยูพีเอสจะช่วยให้ลูกค้าทั้งบีทูซี และบีทูบี สามารถติดตามตรวจสอบสถานะการจัดส่งสินค้า เช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงในการจัดส่ง เพราะข้อกำหนดในการจัดส่งสินค้าระหว่างประเทศสามารถเปลี่ยนแปลงได้ทุกวัน สำหรับลูกค้าบีทูซี ก็คือบริการ UPS MyChoice ที่ช่วยให้ลูกค้ามีเครื่องมือในการตรวจสอบสถานะการส่งสินค้าผ่านอีเมลและข้อความแจ้งเตือนก่อนการสินค้ามาถึง ช่วยให้ลูกค้าติดตามได้แบบเรียลไทม์ โดยบริการนี้ครอบคลุมใน112 ประเทศและเขตการปกครองทั่วโลก รวมประเทศไทยด้วย


ส่วนลูกค้าบีทูบี คือบริการ UPS Quantum View ช่วยให้สามารถติดตามสถานะการจัดส่งได้ทุกขั้นตอนตลอดเส้นทาง ตั้งแต่ ขาเข้า ขาออก ผ่านบุคคลที่สาม หรือการนำเข้า ช่วยให้ทั้งผู้ส่งและผู้รับติดตามความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และมีบริการ UPS TradeAbility ช่วยลูกค้าในการประมาณค่าขนส่ง ที่รวมภาษี และค่าธรรมเนียมศุลกากร รวมทั้งบริการ UPS marketplace ช่วยให้ผู้ค้าขยายสู่ตลาดใหม่ ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแพลตฟอร์มบนเว็บที่เชื่อมโยงตลาดซื้อขายสินค้าออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อให้ธุรกิจสามารถสร้างฉลากสินค้าด้วยขั้นตอนอัตโนมัติที่ช่วยประหยัดเวลาได้ถึง 50% เหมาะสำหรับผู้ขายสินค้า
ทุกชนิดที่ต้องการขยายสู่ตลาดต่างประเทศ


"ทีมงานดูแลลูกค้าของเราปรับวิถีการทำงานแบบใหม่ โดยหันมาใช้ช่องทางออนไลน์เป็นหลัก เช่น การใช้ระบบส่งข้อความ และวีดิโอคอล เป็นบริการที่สร้างแผนภาพซัพพลายเชนเสมือนจริงซึ่งช่วยให้ลูกค้าสามารถวางแผนบริหารซัพพลายเชนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทีมงานด้านระเบียบพิธีทางศุลกากรของเรามีประสบการณ์ยาวนานถึงกว่า 80 ปี และมีความรู้ในด้านนี้อย่างเข้มข้น สามารถให้คำแนะนำกับเอสเอ็มอีได้เป็นอย่างดีในภาวะที่ไม่แน่นอนแบบนี้ เราอาศัยความเชี่ยวชาญในการช่วยลูกค้าลดภาระความยุ่งยากของงานเอกสารและขั้นตอนในการเคลียร์สินค้าอย่างรวดเร็ว ให้สามารถทำงานสอดคล้องกับระเบียบข้อกำหนดต่าง ๆได้ "