ในที่สุดก็จำเป็นต้องใช้มาตรการล็อคดาวน์เพื่อควบคุมการระบาด
ศบค.ประกาศกำหนดมาตรการเข้มงวดเพิ่มเติมและเพิ่มพื้นที่สีแดงเข้มอีก 3 จังหวัด (จาก 10 จังหวัด)
ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และพระนครศรีอยุธยา ระยะเวลา 14 วัน มีผลตั้งแต่ 20 ก.ค. โดยจำกัดการออกนอเคหสถาน (21.00-04.00 น.) และลดกิจกรรมต่างๆ การสนับสนุนการทำงานที่บ้าน 100% , จำกัดจำนวนผู้โดยสารในยานพาหนะแต่ละประเภทที่ 50%, ห้างสรรพสินค้าจำหน่ายได้เฉพาะซูเปอร์มาร์เก็ตและยากับเวชภัณฑ์ (ธนาคารและอปุกรณ์โทรคมนาคม ที่ได้รับการอนุโลมในประกาศเดิม ไม่ได้รับการยกเว้นในรอบนี้), ร้านสะดวกซื้อและตลาดสด ปิด 20.00-04.00 น. //กลุ่มที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบเชิงลบ คือ กลุ่มค้าปลีกที่อิงการบริโภคภายในประเทศและกระทบจากการต่อยอดขายสาขาเดิม เช่น CRC, BJC, HMPRO, CPALL และ COM7 ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการคาดการณ์ประมาณกำไร / กลุ่มอสังหาริมทรัพย์จากกลุ่มพื้นที่ให้เช่า เช่น CPN และ SF / หุ้นอื่นๆที่ได้รับผลกระทบจากการจำกัดการเดินทางและกิจกรรม เช่น MAJOR, SPA, DOHOME, M, ZEN, AOT, AAV และ BA เป็นต้น
สถานการณ์ระบาดทั่วโลกยังเป็นปัจจัยกดดันต่อภาพการฟื้นตัว สถานการณ์โควิดทั่วโลกหลังจากมีผู้ป่วยสูงสุดกว่า 9 แสนราย/วัน ในช่วงเม.ย. ดีขึ้นจนปรับลดลงเหลือราว 3 แสนราย/วัน ในช่วงมิ.ย. แต่ล่าสุด (16 ก.ค.) จำนวนผู้ติดเชื้อเร่งตัวกลับขึ้นเป็น 5.6 แสนราย/วัน (เอเชีย 210,032 / ยุโรป 150,257 / อเมริกาเหนือ 68,591 / อเมริกาใต้ 90,254 / แอฟริกา 41,686 / โอเชียเนีย 1,557 ราย) หลังสายพันธ์ใหม่ๆมีความสามารถในการระบาดและสร้างการเจ็บป่วยในอัตราที่สูงกว่าเดิม รวมถึงลดทอนความสามารถในการป้องกันของวัคซีนหลายๆตัว เราพบสิ่งสำคัญคือ 1) แม้การติดเชื้อกลับมาเพิ่มในกลุ่มประเทศที่ได้รับวัคซีนในอัตราสูง แต่จำนวนการเสียชีวิตทรงตัว-ลดลงต่อเนื่อง 2) เอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เคยทำได้ดี เผชิญการระบาดที่เลวร้ายมากในปีนี้
ยังคงมุมมองระมัดระวังและความเสี่ยงของไตรมาส 3/64 ที่ 1,450-1,520 จุด ตั้งแต่ช่วงปลาย มิ.ย. เราย้ำเตือนถึงความเสี่ยงทางลงของหุ้นไทยในช่วงไตรมาส 3/64 จากปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญได้แก่ 1) ความตึงตัวของ Valuation 2) ความเสี่ยงของการปรับประมาณการลง จากเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิดในประเทศ 3) ความเสี่ยงของเงินทุนเคลื่อนย้ายเนื่องจากการเตรียมลด QE ของเฟด 4) ความเสี่ยงของน้ำมันและโภคภัณฑ์ที่มีโอกาสปรับลดลงในระยะสั้น เรามองหุ้นปันผลและหุ้นปลอดภัยที่ยังมีการถือครองน้อย (under-owned) คาดเป็นแหล่งพักเงินที่ดีและมีความเสี่ยงต่ำ หุ้นปันผลและกองรีทส์ ADVANC, AIMIRT, WHART, FTREIT, EASTW, WHAUP, TTW ขณะที่ค่าเงินบาทอ่อน เป็นบวกต่อกลุ่มอาหารและเกษตร TVO, TU, CPF // เก็งกำไร กลุ่มเดินเรือ PSL, TTA, RCL
ภาพรวมกลยุทธ์: เน้นเพียงเลือกเก็งกำไรรายตัวระหว่างรอจุดซื้อที่ดี ภาพรวมยังเน้นบริหารความเสี่ยง และปรับสมดุลให้ในพอร์ตมีเงินสดมากพอหากโอกาสซื้อเกิดขึ้น // หุ้นแนะนำ: EASTW*, TWPC*, WHAUP*, TTA*
แนวรับ: 1,550-1,567/ แนวต้าน : 1,575-1,580 จุด สัดส่วน : เงินสด 60% : พอร์ตหุ้น 40%
ประเด็นการลงทุน
เวิลด์แบงก์คาดหนี้สาธารณะไทยปี 65 ทะลุเพดานแตะ 62.1%. เวิลด์แบงก์ปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 64 กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย มองหนี้สาธารณะปี 65 ทะลุเพดานความยั่งยืนการคลัง แตะ 62.1%
สหภาพยุโรปถอดไทยออกจากประเทศปลอดภัยจากโควิด - จากสถานการณ์ระบาดที่รุนแรงขึ้น และจำนวนผู้ติดเชื้อของไทยอยู่ที่ 97.3 ราย ต่อประชากร 1 แสนราย (เทียบกับเกณฑ์ที่ 75 ราย) ขณะที่กำหนดให้ยูเครนที่มีการระบาดที่ราว 18 ราย เข้าไปอยู่ในกลุ่มประเทศที่ปลอดภัยสำหรับผู้เดินทางที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว
สายการบิน - กพท.สั่งห้ามการเดินทางในประเทศจากจังหวัดที่มีการระบาดสูง (พื้นที่สีแดง) มีผล 21 ก.ค.64 โดยให้บินได้เฉพาะการขนส่งสินค้า และการบินนำร่องเปิดประเทศ (sandbox) อย่างไรก็ตามีการกำหนดข้อบังคับที่เข้มงวดขึ้น อีกทั้งการจำกัดที่นั่ง 50% ในแต่ละเที่ยวบิน ซึ่งจะส่งผลให้การฟื้นตัวของกลุ่มสายการบินยังคงล่าช้า
DTAC – ประกาศผลประกอบการไตรมาส 2/64 มีกำไร 1,530 ล้านบาท (+81% QoQ, -19% YoY) ดีกว่าที่เราคาดที่ 981 ล้านบาท เนื่องจากมีรายการพิเศษ 334 ล้านบาท แต่จุดที่น่าสนใจคือรายได้จากค่าบริการที่ส่งสัญญาณฟื้นตัวขึ้น +0.9% QoQ (เราคาด -0.5% QoQ) ขณะที่ประกาศปันผล 1.05 บาท/หุ้น เรามองหุ้นสะท้อนข่าวร้ายส่วนใหญ่แล้ว และปรับคำแนะนำเป็นซื้อ (จากถือ) และราคาเหมาะสม 37 บาท (จาก 34 บาท)
WHAUP. จ่อเซ็นต์สัญญาลูกค้าโซลาร์รูฟรายใหญ่เดือนนี้ กวาด 300MW ใน 2 ปี พร้อมเดินหน้าซื้อกิจการโซลาร์ฟาร์ม-ลม ลุยประมูลโรงไฟฟ้าขยะ 400MW ส่วนในนิคมจ่อเพิ่มโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติอีก 50-60 MW
ประเด็นติดตาม: - 20 ก.ค.: US Building Permits เดือน มิ.ย. / 22 ก.ค.: ECB Meeting, US Initial Jobless Claims / 23 ก.ค.: EU Manufacturing PMI เดือน ก.ค., US Manufacturing PMI เดือน ก.ค.
(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)