‘ราคาข้าวดิ่ง’ สัญญาณถึงรัฐ ผจญวิกฤติ ‘เศรษฐกิจฐานราก’

‘ราคาข้าวดิ่ง’ สัญญาณถึงรัฐ ผจญวิกฤติ ‘เศรษฐกิจฐานราก’

ประเทศไทยมีพืิ้นที่ทำนาข้าว รวม 60 ล้านไร่ จากจำนวนพื้นที่การเกษตรทั้งหมดรวม 150 ล้านไร่ ตัวเลขกลมๆของข้อมูลชาวนาในประเทศไทย กำลังบ่งชี้ว่า ข้าวมีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยทั้งในภาพรวมและในระดับฐานราก

สถานการณ์ราคาข้าวเปลือกเจ้า ซึ่งเป็นข้าวที่ปลูก บริโภคและส่งออกปริมาณสูงสุด เฉลี่ยที่ 7,500 บาทต่อตัน ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำสุดในรอบหลายปี กำลังเป็นสัญญาณเตือนภัยทางเศรษฐกิจอีกอย่างที่บ่งบอกให้รัฐบาลได้รู้ว่า ปัญหาใหม่และใหญ่มากกำลังจะเกิดขึ้น 

รังสรรค์ สบายเมือง นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย กล่าวว่า สาเหตุสำคัญที่ราคาข้าวเปลือกลดลงเพราะการส่งออกข้าวที่ลดลง เนื่องจากปัจจัยการขนส่งไม่เอื่้ออำนวย สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากโควิด-19 ที่ทำให้การใช้แรงงานเพื่อการขนส่งข้าวเป็นไปอย่างระมัดระวังและเกิดความล่าช้าในที่สุด และสถานการณ์นี้จะยิ่งน่าเป็นห่วงมากขึ้นเนื่องจากในเดือนส.ค.ถึง ก.ย. จะเข้าสู่ฤดูกาลเก็บเกี่ยว ซึ่งจะมีข้าวออกสู่ตลาดจำนวนมากอาจยิ่งเป็นแรงกดดันให้ราคอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วงมากขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อชาวนาในแง่รายได้ เพราะต้นทุนการเกษตรหลายอย่างเพิ่มขึ่น เช่น ปุ๋ยเคมีที่ก่อนหน้านี้เฉลี่ยที่ ต้นละ 400-500 บาท แต่ปัจจุบันเฉลี่ยที่ 700 บาท 

“อีก 1-2 เดือนจากนี้ จะยิ่งน่าเป็นห่วงว่าราคข้าวเปลือกจะมีทิศทางที่ไม่สดใส เพราะเมื่อมีปริมาณข้าวออกมามาก ก็จะฉุดราคาลง แต่จากการประเมินปริมาณน้ำฝนที่ผ่านมาพบว่า ทำให้ปริมาณผลผลิตดีซึ่งอาจชดเชยราคต่อตันที่ชาวนาจะได้รับ แต่ก็ยังห่วงเรื่องต้นทุนอื่นๆซึ่งมีราคาสูงขึ้นมาก เช่น ปุ๋ย ”

ข้อมูล เกี่ยวกับการผลิตข้าวของประเทศไทยยังชี้อีกว่า ไทยมีผลผลิตเฉลี่ยปีละ 30 ล้านตันข้าวเปลือก เมื่อทอนเป็นข้าวสาร ก็เฉลี่ย20 ล้านไทย คนไทยบริการในประเทศประมาณ10 ล้านตัน ที่เหลือต้องส่งออกแต่สถานการณ์ส่งออกข้าวปีนี้ มีทิศทางที่น่าเป็นห่วง 

162718869274

ร.ต.ท.เจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า ราคาส่งออกข้าวปรับตัวลดลงมาเรื่อยๆ เนื่องจากส่งออกไม่ได้ สาเหตุสำคัญคือโลจิสติกส์ ทั้งแง่ของกระบวนการขนส่งที่ยุ่งยาก ไม่มีความแน่นอน  และแง่ของต้นทุนการขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้นมากโดยเฉพาะค่าระวางเรือปรับเพิ่มขึ้น เฉลี่ยเกือบ 5 เท่า เช่น ค่าเรือจากไทยไปนิวยอร์ก จากก่อนโควิด ตู้ละ 2,500 ดอลลาร์ ปัจจุบัน เพิ่มเป็น12,500 ดอลลาร์ หนึ่งตู้จุข้าวได้ 20 ตัน เฉลี่ยแล้วค่าขนส่งจะอยู่ที่ตันละ 700 ดอลลาร์ซึ่งใกล้เคียงกับราคาข้าว ทำให้ตลาดไม่ตอบรับข้าวจากประเทศไทย และหันไปบริโภคข้าวในสหรัฐเอง หรือ จากตลาดอื่นแทน

นอกจากนี้ ด้านกระบวนการขนส่ง ปัญหาโควิดทำให้การขนส่งทั้งส่วนที่ต้องใช้แรงงาน มีความล่าช้า หรือใช้คำว่า “ทำงานไม่สะดวก” ทำให้การรับคำสั่งซื้อต้องคำนึงถึงความสามารถในการส่งออกของผู้ส่งออกไทยเองด้วย  

“ตอนนี้ราคาข้าวไทยถือว่าพอแข่งขันได้ เพราะได้อานิสงค์จากเงินบาทอ่อนค่า และน่าจะเป็นไปจนถึงปลายปี แต่การส่งออกข้าวก็ยังไม่สดใส เพราะโลจิสติกส์ มีปัญหามาก ไม่มีตู้สินค้า แม้จะยอมจ่ายในราคาสูงขึ้น แต่ก็ไม่มีความแน่นอนว่าจะมีตู้สินค้าส่งของได้หรือไม่ และเมื่อไหร่ เมื่อมีความไม่แน่นอนการรับคำสั่งซื้อก็ไม่แน่นอนและน้อยตามไปด้วย ”

ทั้งนี้ เมื่อการส่งออกข้าวมีทิศทางลดลงก็ย่อมส่งผลต่อราคาข้าวเปลือกและรายได้ของชาวนาในที่สุดซึ่งแนวทางแก้ปัญหาคือต้องเร่งทำให้โลจิสติกส์การส่งออกเป็นได้อย่างคล่องตัวมากที่สุด  เพราะนอกจากสถานการณ์นอกจากจะยังไม่คลี่คลายแล้ว ประเมินว่าอาจรุนแรงขึ้น เพราะยิ่งการส่งออกของไทยขยายตัวได้ดี ปริมาณความต้องการใช้ตู้ตอนเทนเนอร์ก็ยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น ในเบื้องต้น ได้ประเมิน

การส่งออกข้าวทั้งปีนี้ ว่าจะอยู่ที่ 5-5.5 ล้านตัน ซึ่งยอมรับว่าเป็นปริมาณที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับหลายปีที่ผ่านมา