“จราจรน้ำ”ดันลงทะเล-ดึงลงทุ่ง ลดเสี่ยงท่วมสูง-เก็บใช้หน้าแล้ง ฝน
สถานการณ์น้ำมากในปีนี้ ซึ่งครบรอบ 10 ปี มหาอุทกภัยปี2554 ทำให้ปริมาณน้ำฝนที่ตกชุกในช่วงนี้สร้างความหวาดผวาอย่างทั่วถึง ทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม รวมถึงคนเมืองอย่างกรุงเทพมหานครที่เป็นส่วนท้ายของพื้นที่ที่ต้องรองรับน้ำก่อนลงสู่ทะเล
ประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า จากปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งประเทศของปี2564สูงกว่าค่าเฉลี่ย9%โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคกลางสูงกว่าค่าเฉลี่ย9%ภาคตะวันออกเฉียงเหนือสูงกว่าค่าเฉลี่ย1%โดยเมื่อวันที่ 24-26ก.ย. 2564 พายุดีเปรสชั่น เตี้ยนหมู่ ทำให้เกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่ส่วนใหญ่จะตกบริเวณด้านท้ายเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ทำให้เกิดน้ำหลากและมีน้ำท่วมในหลายพื้นที่
ปัจจุบัน อยู่ระหว่างรอลุ้นพายุลูกใหม่ที่กำลังอยู่ในฟิลิปปินส์ ว่าจะก่อตัวละขึ้นอ่าวตังเกี๋ย ในช่วงวันที่ 11-12 ต.ค.และจะทำให้มีฝนตกหนัก หรือไม่ แต่เบื้องต้นคาดว่าจะไม่มากเท่ากับเตี้ยนหมู่ โดยจะตกในภาคใต้ฝั่งตะวันตก คือ ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ขึ้นมาจนถึง กรุงเทพฯและปริมณฑล ดังนั้นช่วงนี้ก่อนที่จะมีฝนตกอีกครั้งในช่วงประมาณ วันที่ 11 ต.ค.นั้น กรมชลประทาน ต้องเร่งระบายน้ำลงอ่าวไทย โดยการจัดจราจรน้ำให้เร็วที่สุด เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชน
“ก่อนที่จะมีฝนตกอีกครั้งหลังวันที่ 10 ต.ค. กรมชลประทานจะเร่งบริหารจัดการน้ำให้ประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ซึ่งจากกรณี”เตี้ยนหมู่”ที่มีฝนตกหนักเมื่อ วันที่ 24-26 ต.ค.ที่ผ่านมา ทำให้ฝนที่ตกหนักในพื้นที่ลุ่มน้ำปิง ทำให้น้ำท่วมจังหวัดสุโขทัย กรมชลประทานได้บริหารจัดการ เพื่อช่วยลดผลกระทบจากน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย และลดปริมาณน้ำที่จะไหลหลากลงสู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา”
อย่างไรก็ตาม แม้ปริมาณน้ำได้ลดลงแล้ว แต่ยังมีปริมาณน้ำจากแม่น้ำสะแกกรังไหลมาสมทบกับแม่น้ำเจ้าพระยาทำให้ต้องผันน้ำเข้าคลองทั้ง 2 ฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยารวม 376 ลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.)ต่อวินาที
ทั้งนี้ กรมชลประทาน ใช้เขื่อนเจ้าพระยาเพื่อควบคุมปริมาณน้ำ และรับน้ำเข้าคลองทั้ง2ฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว ยังได้ใช้ทุ่งรับน้ำบริเวณตอนล่างของลุ่มเจ้าพระยา10ทุ่ง รับน้ำเข้าไปเก็บไว้ช่วยลดยอดปริมาณน้ำที่จะไหลลงสู่พื้นที่ตอนล่าง รวมไปถึงเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งด้วย เมื่อวันที่3ต.ค.2564มีการรับน้ำเข้าทุ่งไปแล้วรวม878ล้านลบ.ม. แบ่งเป็นทุ่งฝั่งตะวันออก ได้แก่ ทุ่งเชียงรากและทุ่งท่าวุ้ง ,ทุ่งฝั่งซ้ายคลองชัยนาท-ป่าสัก, ทุ่งบางกุ่ม, ทุ่งบางกุ้ง
ทุ่งฝั่งตะวันตก ได้แก่ ทุ่งบางบาล-บ้านแพน, ทุ่งป่าโมก,ทุ่งผักไห่,ทุ่งเจ้าเจ็ดและ ทุ่งโพธิ์พระยาคงเหลือพื้นที่ที่สามารถเก็บกักน้ำได้อีกประมาณ 590 ล้านลบ.ม.
ในพื้นที่ตอนล่าง กรมชลประทาน ได้ใช้โครงการประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์อันเนื่องมาจากพระราชดำริในการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างให้ไหลลงสู่ทะเลได้เร็วขึ้น ถือว่าเป็นเครื่องมือที่จะช่วยบรรเทาอุทกภัยในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้เป็นอย่างมาก
สำหรับสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำชี-มูล จากปริมาณฝนที่ตกหนักสะสมในพื้นที่ลุ่มน้ำชีตอนบน ทำให้มีน้ำล้นตลิ่งและน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มน้ำชีตอนบน ส่งผลให้มีน้ำไหลลงมายังแม่น้ำชีตอนกลางและลำน้ำสาขา ประกอบกับในช่วง1-2วันที่ผ่านมา ลุ่มน้ำมูลในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี มีปริมาณฝนตกสะสมประมาณ150มิลลิเมตร ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำมูลเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบัน เมื่อ3ต.ค.2564ระดับน้ำบริเวณสถานีวัดน้ำM.7 (บริเวณสะพานเสรีประชาธิปไตย) อำเภอเมืองอุบลราชธานี สูงกว่าตลิ่งประมาณ +0.45เมตร แนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้มีพื้นที่ได้รับผลกระทบบริเวณที่ลุ่มต่ำริมสองฝั่งแม่น้ำมูล ในเขตเมืองอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ กรมชลประทานได้ปรับแผนระบายน้ำจากเขื่อนและประตูระบายน้ำต่างๆ เพื่อพร่องน้ำและบริหารพื้นที่ลุ่มต่ำให้เป็นแก้มลิงหน่วงน้ำ เร่งระบายน้ำในลำน้ำ แม่น้ำ เพื่อรองรับน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบน
พร้อมทั้งจัดจราจรน้ำในแม่น้ำชีตอนบน แม่น้ำชีตอนกลาง แม่น้ำชีตอนล่าง และแม่น้ำมูล ด้วยการปรับลดการระบายน้ำจากเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น เขื่อนลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์ และเขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี รวมทั้งชะลอน้ำที่เขื่อนชนบท จังหวัดขอนแก่น เขื่อนยโสธร จังหวัดยโสธร และเขื่อนหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ด้านท้ายน้ำ เพื่อเร่งการระบายน้ำในแม่น้ำมูลตอนล่างให้ไหลลงแม่น้ำโขงให้เร็วมากขึ้น
ปัจจุบันยังคงมีพื้นที่ประสบอุทกภัยรวมทั้งสิ้น 20 จังหวัด87 อำเภอ โดยสรุปมีดังนี้จังหวัดสุโขทัย7อำเภอ