วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน (19 ต.ค. 64)

วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน (19 ต.ค. 64)

ราคาน้ำมันดิบผันผวน จากตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ ที่ปรับลด ชะลอการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำมัน

- ราคาน้ำมันดิบผันผวนหลังแตะระดับสูงสุดมากกว่า 3 ปี โดยได้รับแรงกดดันจากตัวเลขผลผลิตจากภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ เดือน ก.ย.64 ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ที่การผลิตปรับลดกว่าร้อยละ 7 จากการขาดแคลนชิ้นส่วนสำหรับการผลิต กดดันการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและชะลอการฟื้นตัวของความต้องการใช้น้ำมัน

 

- สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) คาดการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจากการผลิตน้ำมันดิบจากชั้นหิน (Shale Production) บริเวณแหล่งผลิตหลักในเดือน พ.ย.64 ที่คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นราว 77,000 บาร์เรลต่อวันเมื่อเทียบกับเดือน ต.ค.64 สู่ระดับ 8.29 ล้านบาร์เรลต่อวัน

 

+ นักวิเคราะห์ของธนาคาร ANZ คาดความต้องการใช้น้ำมันโลกในไตรมาสที่ 4 ปี 64 จะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นราว 450,000 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากการคลายล็อกดาวน์ในหลายประเทศและการหันมาใช้น้ำมันสำหรับการผลิตพลังงานแทนการใช้ก๊าซธรรมชาติเนื่องจากราคาก๊าซที่ยังคงอยู่ในระดับสูง

 

 

 

ราคาน้ำมันเบนซิน

ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ  หลังความต้องการใช้น้ำมันเบนซินในภูมิภาคเอเชียปรับสูงขึ้นจากการคลายล็อกดาวน์ส่งผลให้ดัชนีการขับขี่ในหลายประเทศกลับมาสู่ระดับก่อนการเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19

 

ราคาน้ำมันดีเซล

ปรับตัวเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังความต้องการใช้น้ำมันดีเซลในเวียดนามปรับตัวสูงขึ้นสะท้อนจากตัวเลขการนำเข้าที่ปรับเพิ่ม ขณะที่อุปทานในเอเชียตึงตัวจากปริมาณการส่งออกจากจีนที่อยู่ระดับต่ำ

 

 

 

 

วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน (19 ต.ค. 64)