ตลท.เปิดเฮียริ่งเกณฑ์แคชบาลานซ์ เสนอห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ชั่วคราว
ตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดรับฟังความเห็นเกณฑ์กำกับการซื้อขายระหว่างวันที่ 1-12 พ.ย.64 เหตุสภาพการซื้อขายปีนี้ร้อนแรง แนะรวบมาตรการแคชบาลานซ์-ห้ามคำนวณวงเงินเข้าด้วยกัน เสนอห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ถูกกำกับชั่วคราว
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดรับฟังความเห็น (เฮียริ่ง) การปรับปรุงมาตรการกำกับการซื้อขายระหว่างวันที่ 1-12 พ.ย.2564 หลักเกณฑ์ในเรื่องมาตรการกำกับการซื้อขายมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยงให้กับผู้ลงทุนที่จะซื้อขายในหลักทรัพย์ที่สภาพการซื้อขายไม่สอดรับกับปัจจัยพื้นฐาน โดยผู้ลงทุนยังคงสามารถซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวได้ แต่จะมีการเพิ่มเงื่อนไขบางประการในการซื้อขายหลักทรัพย์นั้น
ปัจจุบันมาตรการกำกับการซื้อขายแบ่งออกเป็นสองส่วนหลัก ได้แก่ (1) การเตือน กล่าวคือ เตือนบริษัทสมาชิกกรณีพบการส่งคำสั่งที่อาจส่งผลกระทบต่อสภาพการซื้อขาย หรือเตือนผู้ลงทุนให้ทราบถึงข้อเท็จจริงของหลักทรัพย์ก่อนตัดสินใจซื้อขาย และ (2) การจำกัดอำนาจซื้อ คือ การเพิ่มเงื่อนไขบางประการเพื่อลดความสี่ยงด้านการชำระราคา อันได้แก่ ให้ซื้อด้วยการวางเงินสดเต็มจำนวนก่อนซื้อ (หรือซื้อด้วยบัญชี Cash Balance), ห้ามนำหลักทรัพย์ที่มีสภาพผิดปกติดังกล่าวเป็นหลักประกันในการคำนวณเป็นวงเงินซื้อขาย และห้ามหักกลบค่าซื้อกับค่าขายภายในวัน (หรือห้าม Net Settlement)
ในปี 2564 สภาพการซื้อขายมีความร้อนแรงขึ้น โดยเฉพาะในหลักทรัพย์ขนาดเล็กทำให้มาตรการกำกับการซื้อขายที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการกำกับดูแลในบางหลักทรัพย์ที่สภาพการซื้อขายยังคงเปลี่ยนแปลงไปโดยไม่มีปัจจัยพื้นฐานรองรับได้ แม้หลักทรัพย์ดังกล่าวจะอยู่ในมาตรการกำกับการซื้อขายเป็นระยะเวลานานหรือปรับเพิ่มมาตรการจนถึงระดับสูงสุดที่มี และได้ยกระดับการดำเนินการแล้วก็ตาม ดังนั้น ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงมีแนวคิดที่จะปรับปรุงมาตรการกำกับการซื้อขายให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงขอรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการปรับปรุงมาตรการกำกับการซื้อขาย โดยท่านสามารถให้ความเห็นหรือข้อเสนอแนะเพิ่มเติมต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 12 พ.ย.
ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ฝ่ายกำกับการซื้อขาย-Equity สายงานกำกับตลาด โทรศัพท์ 02-009-9295 หรือ Email: [email protected]
มาตรการกำกับการซื้อขายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยงให้กับผู้ลงทุนที่จะซื้อหลักทรัพย์ที่มีสภาพการซื้อขายเปลี่ยนแปลงไปโดยไม่มีปัจจัยพื้นฐานรองรับ ด้วยการเพิ่มเงื่อนไขการซื้อขายบางประการเพื่อจำกัดอำนาจซื้อ โดยแบ่งเป็น 3 ระดับขั้น เริ่มจากอ่อนไปเข้ม ดังนี้
มาตรการระดับ 1: ให้ซื้อด้วยการวางเงินสดเต็มจำนวนก่อนซื้อ (ซื้อด้วยบัญชี Cash Balance)
มาตรการระดับ 2: เพิ่มมาตรการห้ามนำหลักทรัพย์ที่มีสภาพผิดปกติดังกล่าวเป็นหลักประกันในการคำนวณเป็นวงเงินซื้อขาย จากมาตรการระดับหนึ่ง
มาตรการระดับ 3: เพิ่มมาตรการห้ามหักกลบค่าซื้อกับคำขายภายในวัน (ห้าม Net Settlement) จากมาตรการระดับสอง
สำหรับแนวทางในการพิจารณหลักทรัพย์ที่ข้ามาตรการกำกับการซื้อขายจะแบ่งเป็นสองส่วนหลัก คือ มาตรการรายวัน (Trading Alert) และมาตรการรายสัปดาห์ (Turnover List) เมื่อหลักทรัพย์เข้ามาตรการกำกับการซื้อขาย ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะประกาศ ณ สิ้นวัน โดยให้มีผลตั้งแต่วันทำการรุ่งขึ้นและตามระยะเวลาที่กำหนด
โดยจะเริ่มจาก มาตรการระดับ 1: ซื้อด้วยบัญชี Cash Baiance เป็นมาตรการแรก และในระหว่างมาตรการหรือเมื่อพันมาตรการไปแล้วไม่เกิน 1 เดือน หากหลักทรัพย์มีสภาพผิดปกติเข้าข่าย Trading Aert ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเพิ่มมาตรการให้สูงขึ้นอีกหนึ่งระดับ ทั้งนี้ หากหลักทรัพย์ยังคงมีสภาพผิดปกติ ตลาดหลักทรัพย์ฯ อาจพิจารณาขยายมาตรการเดิมออกไป
เพื่อให้การกำกับดูแลการซื้อขาย: (1) สอดรับกับสภาพการซื้อขายที่ร้อนแรงขึ้นในปี 2564 โดยมีมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน และ % Turnover Velocity ปรับตัวสูงขึ้นจากปีก่อนหน้าอย่างมาก (ข้อมูล ณ สิ้นเดือน ก.ย.2564 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 96,463 ล้านบาท ด้วย %Turnover Velocity ที่ 0.51% จากปีก่อนที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 68,607 ล้านบาท ด้วย % Turnover Velocity ที่ 0.42%),
(2) เพิ่มประสิทธิภาพมาตรการเดิมที่ประสิทธิผลลดลง (จำนวนหลักทรัพย์ที่เข้ามาตรการในระดับสูงสุดมากขึ้น และสภาพการซื้อขายยังคงปรับตัวไม่สอดรับกับพื้นฐานแม้อยู่ในระดับมาตรการขั้นสูงสุดแล้วก็ตาม) และ (3) สอดคล้องกับมาตรการของตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศที่กำหนดให้การห้ามซื้อขายหลักทรัพย์เป็นการชั่วคราวเป็นหนึ่งในมาตรการกำกับการซื้อขาย เช่น เกาหลี และไต้หวัน เป็นตัน
ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงเสนอปรับปรุงมาตรการกำกับการซื้อขายในปัจจุบัน ให้ดำเนินการป้องกันความเสี่ยงให้เร็วขึ้น โดยการรวบมาตรการระดับ 1 และ 2 เข้าด้วยกัน โดยให้เริ่มมาตรการระดับ 1 ด้วยการให้ซื้อด้วยบัญชี Cash Balance และห้ามนำหลักทรัพย์ที่กำหนดมาคำนวณเป็นวงเงินซื้อขาย นอกจากนี้ ยังกำหนดเพิ่มการห้ามซื้อขายหลักทรัพย์เป็นการชั่วคราวเป็นระยะเวลา 1 วันทำการ เป็นมาตรการระดับ 3 ด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ลงทุนได้พิจารณาทบทวนก่อนตัดสินใจซื้อขาย โดยสรุปรายละเอียดตามตามด้านล่าง