"ช้อปดีมีคืน" 2565 ค่าธรรมเนียมซื้อขาย หุ้น กองทุน อนุพันธ์ "ลดหย่อนภาษี" ได้
สรุปเงื่อนไขการใช้สิทธิ "ลดหย่อนภาษี" ในโครงการ "ช้อปดีมีคืน" 2565 สามารถใช้ "ค่าธรรมเนียมซื้อขาย หุ้น กองทุน อนุพันธ์" ลดหย่อนได้
"ช้อปดีมีคืน" 2565 เริ่มต้นใช้สิทธิได้แล้วตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 15 ก.พ. 65 โดยการซื้อสินค้าและบริการต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่โครงการกำหนด
"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" รวบรวมเงื่อนไขการใช้จ่ายที่สามารถนำมา "ลดหย่อนภาษี" ตามข้อกำหนดของโครงการ ที่ช่วยให้สามารถวางแผนการลดหย่อนภาษีใน "ปีภาษี 2565" ได้ง่ายขึ้น
หนึ่งในสิทธิที่สามารถนำมาช่วยลดหย่อนภาษี ตามโครงการช้อปดีมีคืนได้ คือ "ค่าธรรมเนียมซื้อขาย หุ้น กองทุน อนุพันธ์" มาหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท ทั้งนี้ รายการที่สามารถลดหย่อนได้ จะต้องเป็นการส่งคำสั่งซื้อและจับคู่สำเร็จ ณ วันที่ 1 ม.ค.- 15 ก.พ. 65
- ค่าธรรมเนียมส่วนไหนสามารถคำนวณในการลดหย่อนภาษีได้บ้าง ?
- ซื้อขายหุ้น (Stock)
- ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (TFEX)
- ซื้อขายหุ้นต่างประเทศ (Global Investing)
- ซื้อขายกองทุนรวม (Mutual Fund) **เฉพาะ Front-end-Fee
- จำนวนค่าธรรมเนียมส่วนใดบ้างที่นำมลดหย่อนภาษีได้ ?
ผู้ให้บริการแต่ละรายอาจมีเงื่อนไขการมีการคำนวณค่าธรรมเนียม ของแต่ละผลิตภัณฑ์แตกต่างกันออกไป ดังนั้น ผู้มีเงินได้ควรสอบถามรายละเอียดจากผู้ให้บริการโดยตรง
เช่น บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบี เอสบี ระบุว่าจำนวนเงินที่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ เป็นจำนวนเงินรวมของค่าคอมมิชชั่น ค่าธรรมเนียม และภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการซื้อขายหุ้น และเป็นจำนวนเงินรวมของค่าคอมมิชชั่นและภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการซื้อขายกองทุนรวม
บริษัทหลักทรัพย์กรุงศรี ระบุว่า ค่าธรรมเนียมที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ จะเป็นค่าธรรมเนียมการซื้อขาย, ค่าธรรมเนียมตลาด และ ค่าธรรมเนียมจาก ATS ซึ่งจะไม่นำ VAT ไปรวม เป็นต้น
- ยกตัวอย่างการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากค่าธรรมเนียมซื้อขาย
เช่น ซื้อกองทุน 100,000 บาท ค่าธรรมเนียมขาย 1% ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท จำนวนที่สามารถนำไปลดหย่อนได้ = 1,000 บาท
ซึ่งผู้มีเงินได้จะต้องกรอกสิทธิในการลดหย่อนส่วนนี้เข้าไปคำนวณรวมกับ "การลดหย่อนภาษี" รายการอื่นๆ เพื่อคำนวณอีกครั้งว่าจะได้รับ "ภาษีคืน" เท่าใด โดย "อัตราภาษี" ที่จะได้คืนนั้นจะเป็นไปตามอัตราภาษี ที่สอดคล้องกับ "เงินได้สุทธิ" ของแต่ละบุคคล ตามตารางต่อไปนี้
- เอกสารที่ต้องใช้
สำหรับเอกสารที่นำไปยื่นภาษีเพื่อใช้สิทธิช้อปดีมีคืน คือ “ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป” นั่นก็คือ “ใบยืนยันการซื้อขายหลักทรัพย์” ใบยืนยันการซื้อขายของแต่ละวันที่มีรายการซื้อขาย ที่บริษัทฯ ได้จัดส่งทางอีเมลและทางไปรษณีย์นั่นเอง (ซึ่งเอกสารการซื้อขายดังกล่าวต้องอยู่ในช่วงเวลาของการกำหนดด้วย)
--------------------------------------------
อ้างอิง: ktbst, บล.บัวหลวง, บล.กรุงศรี