TTB ไตรมาส4/64 กำไรสุทธิ 2.7 พันล้าน โต126% -งวดทั้งปีแตะ1.04 หมื่นล้าน
TTB ไตรมาส4/64 กำไร 2.7 พันล้าน เพิ่มขึ้น 126% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 1.23 พันล้าน ส่วนทั้งปีกำไร 1.04 หมื่นล้าน โต 3.6% จากปี 63 ที่ 1.01 หมื่นล้าน ส่วนNPL อยู่ที่ 2.81 % จากปีก่อนที่ 2.50%
นางประภาศิริ โฆษิตธนากร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TTB แจ้งผลการดำเนินไตรมาส4ปี 2564 ว่า มีกำไรสุทธิ 2,799 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 126% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 1,235 ล้านบาท และเพิ่มขึ้น 18.7% จากไตรมาส3 ปี 2564
ส่วนงวดทั้งปี2564 มีกำไรสุทธิ 10,474.04 ล้านบาท เพิ่ม3.6% จากช่วงเดียวกันปีก่อน 10,112.18 ล้านบาท เนื่องจากรายได้ดอกเบี้ย อยู่ที่ 51,000 ล้านบาท ลดลง 5.2 % ส่วนใหญ่มาจากการลดลงของอัตราผลตอบแทนเงินให้สินเชื่อและการปรับลดอัตราดอกเบี้ยหลายครั้งง
ขณะที่การปรับโครงสร้างงบดุลให้มีความเหมาะสม หนุนให้ต้นทุนทางการเงินปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้NIM ลดลงเล็กน้อย 3 bpsอยู่ที่ 2.97 ในปี 2564 การลดลงเล็กน้อยของ NIM ส่วนใหญ่เป็ นผลจากการลดลงของอัตราผลตอบแทน เงินให้สินเชื่อและการปรับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (EIR) สุทธิด้วยการลดลงของต้นทุนเงินฝากจากการปรับโครงสร้างงบดุลให้มีความเหมาะสม
ส่วนรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงร้อยละ 6.5 YoY อยู่ที่ 14,537 ล้านบาทจากรายได้ที่มิใช่รายได้หลัก ขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิลดลง 0.9 %จากช่วงเดียวกันปีก่อน แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ โควิด-19 และความผันผวนในตลาด รายได้ค่าธรรมเนียมกองทุนรวมและแบงก์แอสชัวรันส์ยังคงเติบโตปานกลางที่ร้อยละ 9 จากปี ก่อนหน้าและร้อยละ 2จากปีก่อนหน้าตามลำดับ
ส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมลูกค้าธุรกิจยังคงเติบโตต่อเนื่องจากค่าธรรมเนียมธุรกิจต่างประเทศ ส่งผลให้รายได้รวมจากการดำเนินงานลดลงร้อยละ 5.5จากปี ก่อนหน้าอยู่ที่ 65,537 ล้านบาทในปี 2564
ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการรวมกิจการและความมีวินัยด้านค่าใช้จ่าย ทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมีการบริหารจัดการที่ดีโดยลดลงร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันีก่อน อยู่ที่ 31,219 ล้านบาท แม้ว่าจะมีค่าใช้จ่าย one-timeในการรวมกิจการและค่าใช้จ่ายโปรแกรม voluntaryretairement package
สำหรับพนักงานในปี 2564 จากการที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมีการบริหารจัดการที่ดี อัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ไม่รวมผลกระทบการปันส่วนราคาซื้อหลังจากการรวมกิจการของธนาคารธนชาต (PPA)อยู่ที่ร้อยละ 46 ซึ่งทำได้ตามเป้าหมายทางการ เงินในปี 2564 ท่ามกลางแรงกดดันด้านรายได้ ส่งผลให้ PPOP ค่อนข้างทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้าที่จำนวน 8,461 ล้านบาทในไตรมาส 4/2564 และ 34,300 ล้านบาทในปี 2564
อย่างไรก็ตาม ทีทีบียังคงบริหารความเสี่ยงอย่างรอบคอบและดูแลคุณภาพสินทรัพย์อย่างใกล้ชิดด้วยการตั้ง ECLอย่างเข้มงวดและพิจารณาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นโดยการตั้งสำรองผ่าน Management Overlay ในปี 2564 ธนาคารตั้งสำรองฯ เป็นจำนวน 21,514 ล้านบาท การตั้งสำรองฯของธนาคารเป็นไปอย่างรอบคอบและตั้งอยู่บนแนวทางความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นซึ่งรวมถึงการเตรียมพร้ อมสำหรับความไม่แน่นอนในอนาคต
ขณะที่สินเชื่อขั้นที่ 3 อยู่ที่จำนวน 42,121 ล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพที่ร้ อยละ 2.81 การลดลงของสินเชื่อขั้นที่ 3 ส่วนใหญ่มาจากการก่อตัวของสินเชื่อด้อยคุณภาพที่ปรับตัวดีขึ้น โครงการพักทรัพย์พักหนี้และการขายสินเชื่อด้อยคุณภาพที่ดีกว่าแผนในไตรมาส 4/2564 ทีทีบียังคงดำเนินการปรับปรุงพอร์ตสินเชื่ออย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาคุณภาพของพอร์ตให้ดียิ่งขึ้น
ขณะที่ อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL ratio) ตามงบการเงินรวมอยู่ที่ร้อยละ 2.81 เทียบกับร้อยละ 2.98 ณ สิ้นเดือนกันยายน 2564 และร้อยละ 2.50 ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2563
สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2565 ทาง ttb analytics คาดภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2565 จะขยายตัวต่อเนื่องที่ 3.9% ด้วยปัจจัยหนุนทั้งจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง การส่งออกที่เติบโตดี และการทยอยฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวในช่วงครึ่งปีหลัง
อย่างไรก็ดี การระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนที่ เริ่มขึ้นในช่วงปลายปี 2564 คาดว่าจะกระทบต่อการฟื้ตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรกปี 2565 ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขมาตรการควบคุมการ
ระบาดไม่เข้มงวดจนถึงระดับล็อกดาวน์ประเทศ จะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวต่อเนื่องเมื่อสถานการณ์การระบาดคลี่คลาย
โดยมีปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจการค้าโลก ทำให้ภาคการส่งออกยังคงเติบโตได้ดี โดย ttb analytics คาดมูลค่าส่งออกทั้งปี 2565 ในรูปดอลลาร์สหรัฐขยายตัวที่4.5% ในส่วนการบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยยังคงมีแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยใช้เม็ดเงินจากพ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้าน
บาทและพ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท ที่ยังคงเหลืออยู่กว่า 3 แสนล้านบาท รวมทั ้งตลาดแรงงานที่ปรับดีขึ ้น ในด้านการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นตามอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวและการส่งออกที่มีแนวโน้มขยายตัว
รวมทั้งเริ่มเห็นเม็ดเงินลงทุนจากอุตสาหกรรมเป้ าหมายของโครงการลงทุนใน EECที่ได้รับอนุมัติไปในช่วงก่อนเกิดสถานการณ์โควิด นอกจากนี ้ นักท่องเที่ยวต่างชาติมีแนวโน้มจะทยอยกลับมามากขึ้ในช่วงครึ่งปี หลัง คาดการณ์นักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งปี อยู่ที่ 7.5 ล้านคน ในส่วนของแรงกดดันด้านเงินเฟ้ อที่เกิดจากการปรับสูงขึ ้นของราคาพลังงานและปัญหา Supply disruption คาดว่าจะ
ผ่อนคลายลงในช่วงครึ่งปีหลัง
สำหรับด้านตลาดเงิน คาดอัตราดอกเบี ้ยนโยบายจะทรงตัวอยู่ในระดับ 0.5% เพื่อเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
ภายใต้ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจในประเด็นเงินเฟ้ อและการระบาดของโรคโควิด-19 และอัตราเงินเฟ้ อยังอยู่ในกรอบของเป้ าหมาย ค่าเงินบาทอาจ ผันผวนและมีทิศทางอ่อนค่าลง จากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากนโยบายการเงินที่ตึงตัวขึ ้นของธนาคารกลางสหรัฐฯ คาดการณ์กรอบเป้าหมายเงินบาทในปี 2565 ที่ระดับ 33.0 –34.5 บาทต่อดอลลาร์