อยู่เมืองไทย ถือคริปโทฯ มี "สินทรัพย์ดิจิทัล" ใช้ทำอะไรได้-ไม่ได้ บ้าง ?

อยู่เมืองไทย ถือคริปโทฯ มี "สินทรัพย์ดิจิทัล" ใช้ทำอะไรได้-ไม่ได้ บ้าง ?

สาย "คริปโทฯ" ต้องรู้! ในประเทศไทย "สินทรัพย์ดิจิทัล" สามารถทำอะไรได้-ไม่ได้ พร้อมสำรวจหลักเกณฑ์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลในต่างประเทศ เหมือนหรือต่างจากไทยแค่ไหน ?

"คริปโทเคอร์เรนซี" หรือ "สินทรัพย์ดิจิทัล" กำลังเป็นอีกหนึ่งทางเลือกการลงทุน ของคนรุ่นใหม่ทั้งในไทยและต่างประเทศ ขณะเดียวกันก็เป็นความกังวลของหน่วยงานที่กำกับดูแล เนื่องจากสินทรัพย์ดิจิทัลเหล่านี้อยู่นอกเหนือจากกฎเกณฑ์เดิมของระบบการเงินของแต่ละประเทศ ที่ยากจะควบคุมเมื่อเกิดปัญหาของระบบการเงินต่างๆ 

ที่ผ่านมากฎเกณฑ์และมุมมองเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลในแต่ละประเทศก็เรียกได้ว่าเสียงแตก ไปตามมุมมองของรัฐในแต่ละประเทศในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นตามบริบทของแต่ละประเทศ

"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" ชวนไปมุมมองในการบริหารสินทรัพย์ดิจิทัลฯ ของไทย พร้อมส่องเทรนด์ประเทศอื่นๆ ในโลก เกี่ยวกับการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลในมิติต่างๆ หลังจากที่ประเด็นการจ่าย "ภาษีคริปโทฯ" และ "การใช้คริปโทฯ จ่ายค่าสินค้าและบริการ" กลายเป็นประเด็นร้อนที่สังคมและนักลงทุนจับตาว่าจะมีบทสรุปอย่างไร 

ธนาคารแห่งประเทศไทย ในฐานะหน่วยงานที่ดูแลเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ ก็ได้ออกมาให้ข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจกับประชาชนในประเด็น การใช้จ่ายคริปโทฯ ในการซื้อสินค้าหรือบริการ โดยใจความสำคัญคือ "ไม่สนับสนุนให้ใช้สินทรัพย์ดิจิทัลจ่ายค่าสินค้าและบริการ" ในประเทศไทยเนื่องจากมองว่า หากใช้สินทรัพย์ดิจิทัลจ่ายค่าสินค้าและบริการ อาจกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ

 

อยู่เมืองไทย ถือคริปโทฯ มี \"สินทรัพย์ดิจิทัล\" ใช้ทำอะไรได้-ไม่ได้ บ้าง ?

อีกทั้งเป็นความเสี่ยงต่อประชาชนและธุรกิจ อาทิ ความเสี่ยงจากการสูญมูลค่าที่เกิดจากความผันผวนของราคา ความเสี่ยงจากการถูกโจรกรรมทางไซเบอร์ ความเสี่ยงข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล หรือการถูกใช้เป็นเครื่องมือของการฟอกเงินด้วย

อย่างไรก็ตาม นอกจากไทยแล้วยังมีบางประเทศ ที่มองว่าสินทรัพย์ดิจิทัลเหล่านี้ ไม่เหมาะกับการนำมาซื้อขาย เช่น มาเลเซีย อินเดีย อินโดนีเซีย และจีน

ขณะเดียวก็ยังมีประเทศอื่นๆ ที่มองว่าการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลจ่ายค่าสินค้าและบริการเป็นโอกาสเช่นกัน อาทิ เอลซัลวาดอร์ ที่ให้สินทรัพย์ดิจิทัลสามารถจ่ายหนี้ได้ตามกฎหมาย รวมถึง สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร และฮ่องกง ก็กำลังอยู่ระหว่างพิจารณาการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลในการจ่ายค่าสินค้าและบริการ

คำถามตีกลับที่เกิดขึ้นหลัง ธปท. ให้ความเห็นเรื่องนี้คือ "แล้วคนมีคริปโทฯ ในประเทศไทย ทำอะไรได้บ้าง ?​"

ธปท. เปิดเผยแนวทาง การใช้สินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทย ระบุว่าสามารถใช้งานได้ 4 รูปแบบได้แก่ 

1. ใช้โอนระหว่างบุคคล
2. ใช้ในการลงทุน
3. ใช้พัฒนา Smart Contract
4. ใช้ซื้อขาย โดยทำผ่านผู้ประกอบธุรกิจภายใต้กำกับของ ก.ล.ต.

อยู่เมืองไทย ถือคริปโทฯ มี \"สินทรัพย์ดิจิทัล\" ใช้ทำอะไรได้-ไม่ได้ บ้าง ?

นอกจากนี้ผู้ที่มี "เงินได้" จาก "สินทรัพย์ดิจิทัล" จะต้อง "ยื่นภาษี" และ "เสียภาษี" เงินได้บุคคลธรรมดาตามกฎหมายด้วย 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 

--------------------------------------------------------

อ้างอิง: ธนาคารแห่งประเทศไทย