กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ 21-25 ก.พ. : เข้าช่วงพักตัว ปัจจัยต่างประเทศกดดันมากขึ้น

กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ 21-25 ก.พ. : เข้าช่วงพักตัว ปัจจัยต่างประเทศกดดันมากขึ้น

คาดว่ากระแสเงินทุนจากต่างชาติจะมีความไม่แน่นอนมากขึ้น ตลาดหุ้นน่าจะชะลอความร้อนแรงในสัปดาห์ที่ผ่านมา (14-18 กุมภาพันธ์) ตลาดหุ้นไทยขยับขึ้นต่ออีก จากกระแสเงินทุนที่ไหลเข้าอย่างแข็งแกร่งจากสองข่าวบวกจากภายนอก

เรื่องแรก คือรายงานการประชุม FOMC เดือนมกราคม ที่ไม่ได้ส่อแววว่า Fed จะเร่งขึ้นดอกเบี้ยแรงอย่างที่นักเศรษฐศาสตร์บางรายกลัว เรื่องที่สอง คือรายงานข่าวว่า รัสเซียถอนทหารออกจากชายแดนยูเครน ซึ่งช่วยคลายกังวลของนักลงทุนว่าจะเกิดการปะทะกันด้วยกำลังทหาร ในขณะเดียวกัน ค่าเงินบาทยังคง outperform สกุลเงินอื่น ๆ ในภูมิภาค เนื่องจากตลาดคาดว่าการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวได้ในปี 2565

 

สำหรับแนวโน้มในสัปดาห์นี้ (21-25 กุมภาพันธ์) เราคาดว่าดัชนี SET จะพักตัว หลังจากที่นักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไทยสุทธิผิดคาดเมื่อวันศุกร์ และสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างรัสเซีย-ยูเครน มีความไม่แน่นอนมากขึ้น ทั้งนี้ ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เยอรมนีเตือนให้ชาวเยอรมนีที่อยู่ในยูเครนออกจากประเทศทันที ในขณะที่ประธานาธิบดี Joe Biden ของสหรัฐบอกว่าเขาเชื่อว่ารัสเซียตัดสินใจแล้วที่จะเข้าโจมตีประเทศยูเครนในอีกไม่กี่วันนี้ แต่แม้จะตลาดจะระมัดระวังมากขึ้นในระยะสั้น แต่เรายังคงมองบวกกับแนวโน้มของตลาดในระยะกลางเนื่องจากคาดว่าจะมีกระแสเงินทุนไหลเข้าหุ้นในภูมิภาค จากโมเมนตั้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ASEAN ที่เหนือกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ในขณะเดียวกัน นักลงทุนควรติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญที่จะมีการเผยแพร่ออกมาในสัปดาห์นี้ อย่างเช่น i) GDP ใน 4Q64 และปี 2564 ของไทยในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ และ ii) ดัชนีเงินเฟ้อ PCE เดือนมกราคมของสหรัฐในวันที่ 25 กุมภาพันธ์

 

 

 

 

ข้อมูลมหภาคที่สำคัญ: GDP ใน 4Q64 ของไทย และเงินเฟ้อ PCE เดือนมกราคมของสหรัฐ

(0) จะมีการประกาศ GDP 4Q64 ในวันนี้ ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ NESDC จะประกาศตัวเลข GDP 4Q64 ของไทย โดยนักเศรษฐศาสตร์ของเราคาดว่า GDP รายไตรมาสจะเพิ่มขึ้น 0.9% YoY ทำให้ GDP ปี 2564 ขยายตัว 1.4% ในขณะเดียวกัน NESDC จะประกาศแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2565 ด้วย ซึ่งเราคาดว่าอัตราการขยายตัวของ GDP ในปีนี้จะเร่งตัวขึ้นเป็น 4.3% ตามอัตราการได้รับวัคซีนที่เพิ่มขึ้น,การกลับมาเปิดเศรษฐกิจในประเทศ และแนวโน้มการส่งออกที่ฟื้นตัวได้ดี

(0/-) ตัวเลขเงินเฟ้อ PCE ของสหรัฐจะเป็นตัวกำหนดท่าทีการตัดสินใจของ Fed ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ สหรัฐจะรายงานตัวเลขเงินเฟ้อ PCE เดือนมกราคม ซึ่งเป็นดัชนีที่ Fed ใช้ในการวัดเงินเฟ้อ โดย consensus คาดว่า core PCE จะเร่งตัวขึ้น 5.1% YoY จาก +4.9% YoY ในเดือนธันวาคม 2564 ทั้งนี้ หาก core PCE พุ่งแรงเกินคาดอาจจะทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรวิ่งขึ้นอีกรอบ และทำให้ตลาดคาดหมายว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยแรงที่ 50bps ในการประชุมเดือนมีนาคม

 

ตลาดที่ผันผวนจะเป็นโอกาสให้เข้าซื้อสะสม

ถึงแม้ว่าความกังวลระลอกใหม่เกี่ยวกับสงครามที่อาจเกิดขึ้น และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับกระแสเงินทุนไหลเข้าตลาดหุ้นในระยะสั้นอาจจะกดดันภาวะตลาดในระยะสั้น แต่เรายังมองว่ารัสเซีย และยูเครนจะใช้กำลังทหารเข้าปะทะกัน ดังนั้น เราจึงแนะนำให้นักลงทุนซื้อสะสมหุ้นไทยในช่วงที่ตลาดผันผวนสัปดาห์นี้ เพราะแม้ว่าหุ้นขนาดใหญ่จะขยับขึ้นมาในช่วงหลายสัปดาห์มานี้ แต่ราคาหุ้นกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับที่สมเหตุสมผล และยังคงเป็นกลุ่มที่เราเน้นมากกว่าหุ้น small-cap ประเภท growth stock ซึ่งอาจจะถูกกดดันจากแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น โดยหุ้นที่เราชอบได้แก่ KBANK*, SCB*, PTT*, AOT*, MINT*, CPALL*, MAKRO และ LH*